คอลัมนิสต์

โยน'ดร.สุวิทย์'แก้ปัญหาตั้ง อายุเกิน60ปี เป็นอธิการบดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โยน'ดร.สุวิทย์'แก้ปัญหาตั้ง อายุเกิน60ปี เป็นอธิการบดี เผยทำผิดกฏหมายเยอะแต่ไม่มีเจ้าทุกข์เหมือนม.รามฯ แนะทางออก "ดร.สุวิทย์" ควรแก้ไข พ.ร.บ. ก.พ.อ. ม.ราชการ

 

 

            อีกแล้ว..มหาวิทยาลัยรามคำแหง เตรียมจะประกาศแต่งตั้งคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยชุดใหม่ อย่างเป็นทางการในวันที่ 3 มี.ค. 2563 นี้ ที่น่าสังเกตเป็นการแต่งตั้งผู้เกษียณอายุราชการอายุเกิน 60 ปีนับว่ามีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ เพราะมีจำนวนมากถึง 29 ราย

 

อ่านข่าว: ร้อง ป.ป.ช.สอบอธิการฯ ม.ราม ตั้งผู้บริหารอายุเกิน60ปี 

 

 

         แบ่งเป็น3กลุ่มคือ กลุ่มผู้บริหารที่มีอายุ 60-65 ปี จำนวน 10 ราย กลุ่มอายุ 66-70 ปี จำนวน 9 ราย และกลุ่มอายุเกิน 70 ปี จำนวน 6 ราย ซึ่งมี 1 คนอายุมากที่สุดถึง 78 ปี และผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงคนปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลา 7 ปีกว่า ซึ่งจะครบ 2 วาระในเร็วๆนี้

 

        ด้วยเหตุนี้ กลายเป็นประเด็นร้อน ที่“ดร.ปรมต วรรณบวร” อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยตัวแทนอาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เพื่อขอให้ตรวจสอบการใช้อำนาจแต่งตั้งคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่มีอายุเกิน 60 ปี ไล่เรียงมาตั้งแต่ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี, รองอธิการบดี, ผู้ช่วยอธิการบดี, คณบดี, ผู้อำนวยการสถาบัน, ผู้อำนวยการสำนัก จำนวน 29 ราย ซึ่งส่อขัดคำสั่งศาลปกครองสูงสุด หรือไม่

 

        เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ” ประธานที่ปรึกษาที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.)ช่วยคลีปมปัญหาดังกล่าวกับ“เวบไซด์ คมชัดลึก”ว่ามหาวิทยาลัยของรัฐมี 2 กลุ่ม คือ 1.มหาวิทยาลัยนอกระบบ และ 2.มหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ

 

         มหาวิทยาลัยนอกระบบ มีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่มแรก มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบตั้งแต่ก่อตั้ง เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.)กลุ่มที่สองมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบภายหลังและเคยเป็นมหาวิทยาลัยในส่วนราชการมาก่อน เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.)ฯลฯ

 

          2.มหาวิทยาลัยของรัฐกลุ่มที่สอง ได้แก่มหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง(ม.ร.) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 สถาบัน และกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมด ยกเว้นมหาวิทยาสวนดุสิต ที่ออกนอกระบบไปแล้ว

 

        "มหาวิทยาลัยของรัฐ2กลุ่ม นี้มีความแตกต่ากันอยู่2 เรื่องใหญ่ คือเรื่องของการบริหารเงินงบประมาณ  และการบริหารงานบุคคล ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการต้องบริหรงบประมาณตามพ.ร.บ.งบประมาณ ใช้ระเบียบราชการในการเบิกงบประมาณ ส่วนการบริหารงานบุคคล มหาที่เป็นส่วนราชการต้องบริหารตามระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แต่มหานอกระบบสามารถออกระเบียบเรื่องการบริหารงบประมาณเอง รวมถึงการบริหารงานบุคคล มีสภามหาวิทยาลัยออกระเบียบรองรับการจ้างผู้บริหารจะเกษียณ หรืออายุเท่าไหร่ก็ได้ สามารถจ้างคนได้เลย" 


       

 

           ผศ.ดร.รัฐกรณ์  อธิบายอีกว่า แต่มหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการอยู่ ในการบริหารมหาวิทยาลัยต้องอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2541 ต้องบริหารเงินและบริหารบุคลตามตามระเบียบราชการ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน นั้น ข้าราชการต้องเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี แต่ถ้าข้าราชการคนนั้น สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จบ“ดอกเตอร์(ดร.)”และมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นถึง “รองศาตราจารย์(รศ.)”สามารถเสนอสภมหาวิทยาลัยเพื่อขอขยายอายุเกษียณเป็น 65 ปีได้ แต่ไม่สามารถดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารได้ แต่ปฏิบัติหน้าที่งานสอนและงานวิจัยได้

 

       “ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ ทำผิดกฏหมายกันเยอะมาก  แต่ก็อยู่กันได้เพราะไม่มีใครยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ตรวตสอบ หรือไม่มีใครยื่นเรื่องร้องศาลปกครอง ซึ่งสถาบันเหล่านี้ได้แต่งตั้งผู้ที่อายุเกิน 60 ปีให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณะบดี ผอ.สำนัก ฯลฯ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ(มทร.สุวรรณภูมิ)”

 

        สิ่งที่น่าเป็นห่วง ก็คือ การแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ใช่ข้าราชการ แต่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ นั้นไม่มีเงินงบประมาณรองรับ ต้องเบียดบังเงินค่าเทอมนักศึกษามาจ่ายเป็นค่าตอบแทนอีกทั้งเมื่อบุคคลเหล่านี้กระทำผิดประพฤติมิชอบ ก็อยากที่จะเอาผิดทางวินัยได้ เพราะไม่ใช่ข้าราชการ เป็นคนนอกราชการ นอกจากฟ้อง ป.ป.ช.ซึ่งใช้เวลานาน 10-20 ปีกว่าคดีจะเห็นผล ทำให้ราชการเกิดความเสียหาย

 

        "หากคิดว่าจะตั้งคนเกษียณ ดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหาร ก็ควรทำให้ถูกกฏหมาย จะสนับสนุนคนวัยเกษียณแต่สมองดี สุขภาพร่างกายยังแข็งแรงดี อายุมากกว่า 60ปี  ดร.สุวิทย์  เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ควรจะแก้ไขพ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือยในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งครอบคลุมทุกมหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นต้นเหตุปัญาเรื่้อรังมานาน เกิดปัญหาธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออกเมื่อไม่เป็นข้าราชการแต่มาบริหารราชการ อย่าลืมว่า ตามมาตราา 22 ให้อธิการบดีปฏิบัติหน้าที่เสมือนเป็นเป็นอธิบดี" ผศ.ดร.รัฐกรณ์ กล่าวในที่สุด

         ...กมลทิพย์ ใบเงิน...รายงาน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ