คอลัมนิสต์

ส่อง 5 ข้อสำคัญตอกฝาโลงแก๊งตบทรัพย์ลิขสิทธิ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่อง 5 ข้อสำคัญตอกฝาโลงแก๊งตบทรัพย์ลิขสิทธิ์ โดย...  กวินทรา ใจซื่อ

 

 

 

          เหตุการณ์ตบทรัพย์ลิขสิทธิ์ในลักษณะนี้มีมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่ที่ไม่เคยปรากฏเป็นข่าวเนื่องจากไม่มีโซเชียลมีเดีย ไม่ใช่มีเฉพาะเรื่องกระทงลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่สินค้าทั้งเสื้อผ้า ปากกา และหมวก อื่นๆ อีกมากมาย

 


อ่านข่าว -  แห่แจ้งความแก๊งจับลิขสิทธิ์ พบผู้เสียหายหลายราย

 

 

 

          เทศกาลลอยกระทงมาถึงแล้วค่ำนี้  พ่อค้าแม่ขายต่างเตรียมผลิตกระทงเพื่อนำออกมาจำหน่ายกระทงหลากหลายรูปแบบที่ผลิตขึ้นให้ลูกค้าได้เลือกซื้อหา ไม่ต่างจากเด็กสาววัย 15 ปี ชาวจังหวัดนครราชสีมา ที่ใช้เวลาว่างจากการเรียนประดิษฐ์กระทงการ์ตูนขาย ตั้งใจว่าจะมีกำไรนำมาเป็นทุนการศึกษา แต่กลับถูกตัวแทนลิขสิทธิ์พร้อมตำรวจจับกุมข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้ที่อ้างตัวเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์เรียกเงิน 50,000 บาท เพื่อไกล่เกลี่ย

 

 

 

ส่อง 5 ข้อสำคัญตอกฝาโลงแก๊งตบทรัพย์ลิขสิทธิ์

 

 

          ข้อมูลจากการเปิดเผยของเด็กสาววัย 15 ปี ที่ถูกจับคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ระบุว่า เหตุการณ์นี้ขึ้นจริงเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 มีผู้ใช้เฟซบุ๊กสั่งทำกระทง 136 ชิ้น พร้อมให้กระทงติดลายการ์ตูนที่มีลิขสิทธิ์ เช่น คุมะ และแมวการ์ฟิลด์ จึงได้ทำให้ตามออเดอร์ แต่เมื่อนำกระทง 30 ชิ้นไปส่งตามนัด กลับพบว่าเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์ของบริษัทการ์ตูนที่มาล่อซื้อ ตัวแทนลิขสิทธิ์ได้พูดข่มขู่ให้เสียค่าปรับเป็นเงิน 50,000บาท สุดท้ายเจรจาค่าเสียหายเป็นเงิน 5,000 บาท


          จากนั้นเจ้าของเพจเฟซบุ๊กชื่อว่า Pui Thanaphon Sakulkitkosol ได้โพสต์ข้อความบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับหลานสาววัย 15 ปี รายนี้ว่า ไม่ได้รับความยุติธรรมถูกกลั่นแกล้งด้วยการล่อซื้อจับลิขสิทธิ์ทั้งที่ปกติหลานสาวไม่ได้ทำกระทงแบบลายลิขสิทธิ์แบบนี้ แต่เพียงแต่ลูกค้ารายนี้เจาะจงให้ทำเพื่อที่จะล่อซื้อและจับหลานสาวเพื่อเรียกค่าลิขสิทธิ์แสนแพง ไม่นานเมื่อมีกระแสข่าวพร้อมทั้งมีการแชร์ภาพต่อในโลกโซเชียลสร้างความสนใจและการตั้งคำถามในสังคมเป็นอย่างมาก

 

 

 

ส่อง 5 ข้อสำคัญตอกฝาโลงแก๊งตบทรัพย์ลิขสิทธิ์


          เวลาผ่านไปเพียง 1 สัปดาห์ ปรากฏว่า มีกลุ่มนักเรียน นักศึกษา พ่อค้า แม่ค้าที่ถูกตัวแทนลิขสิทธิ์ของบริษัทการ์ตูนกลุ่มเดียวกันนี้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้จับปรับละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะคล้ายกันกับเด็กสาววัย 15 ปี ทั้งที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งโดนกันหลายราย ล่าสุดพบที่ จ.ร้อยเอ็ด 2 ราย ในกรณีนี้ติดคุก 1 คืน 




          จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สังคมตั้งคำถามและเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบการทำงานของตัวแทนลิขสิทธิ์และเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเข้มข้น


          อดีตหัวหน้าพนักงานสอบสวนรายหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า เหตุการณ์ตบทรัพย์ลิขสิทธิ์ในลักษณะนี้มีมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่ที่ไม่เคยปรากฏเป็นข่าวเนื่องจากไม่มีโซเชียลมีเดีย ไม่ใช่มีเฉพาะเรื่องกระทงลิขสิทธิ์เท่านั้นแต่สินค้าทั้งเสื้อผ้าปากกาและหมวกอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ในช่วงเทศกาล เช่น ลอยกระทง วันวาเลนไทน์ รวมถึงเทศกาลสำคัญอื่นๆ เคยมีพ่อค้าแม่ค้าถูกข่มขู่ จับกุมเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะนี้มาตลอด บางรายจ่ายรายเดือนให้เจ้าหน้าที่เพื่อแก้การจับกุม โดยกลุ่มเป้าหมายของเครือข่ายข่มขู่นี้เป็นคนทุกเพศทุกวัยที่ดูแล้วข่มขู่ เจรจา ง่าย เช่นร้านอาหารที่นำเพลงลิขสิทธิ์ไปเปิดคาราโอเกะให้ลูกค้าร้อง พ่อค้า แม่ค้าตลาดนัด รวมถึงเด็กเยาวชน โดยเฉพาะผู้หญิง

 

 

ส่อง 5 ข้อสำคัญตอกฝาโลงแก๊งตบทรัพย์ลิขสิทธิ์

 


          นอกจากนี้อดีตหัวหน้าพนักงานสอบสวนรายนี้ได้ให้ข้อมูลรายละเอียดเรื่องสามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เริ่มจากตรวจสอบหนังสือมอบอำนาจว่าต้นทางมาจากประเทศใด ซึ่งต้นทางลิขสิทธิ์นี้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจากต่างประเทศ จากนั้นจะมอบให้บุคคล หรือบริษัทใดบริษัทหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว ดูแลลิขสิทธิ์ในประเทศไทย ว่าดูแลลิขสิทธิ์อะไรบ้าง กี่ประเภท โดยแนบท้ายกับหนังสือดูแลมอบอำนาจเรื่องลิขสิทธิ์จากประเทศนั้น


          จากนั้นบริษัทที่ดูแลลิขสิทธิ์ในประเทศไทยจะมอบอำนาจต่อให้เครือข่ายนำไปใช้ในแต่ละจังหวัด สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบเอกสารตัวจริงจากบริษัทต้นสังกัดที่ระบุไว้ว่ามอบอำนาจในการดูแลลิขสิทธิ์ให้กี่ราย หากเอกสารนั้นระบุว่าห้ามมิให้มอบอำนาจดำเนินการ ทางบริษัทในประเทศไทยก็ไม่สามารถมอบอำนาจต่อเครือข่ายระดับจังหวัดได้

 

 

 

ส่อง 5 ข้อสำคัญตอกฝาโลงแก๊งตบทรัพย์ลิขสิทธิ์

 


          โดยสามารถตรวจสอบเอกสาร คือ
          1.เอกสารที่ตัวแทนลิขสิทธิ์มาแจ้งความร้องทุกข์ ซึ่งพนักงานสอบสวนต้องเก็บไว้ พร้อมคำให้การของผู้มาแจ้ง
          2.เอกสารบันทึกการจับกุม
          3.บันทึกประจำวันนำตัวเข้าห้องควบคุมตามกฎหมาย
          4.บันทึกถอนคำร้องทุกข์เพื่อหักล้างเอกสารแจ้งความว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดี
          5.ต้องส่งสำนวนคดีอาญา เลขที่รับเลขคดี ตามข้อ 1 และต้องสั่งไม่ฟ้องคดีไปยังพนักงานอัยการเพราะคดีถึงที่สุด


          “ขั้นตอนคดีที่ยอมความได้ผู้ดูแลลิขสิทธิ์ต้องพบการกระทำความผิดก่อนจากนั้นจึงไปแจ้งความ พร้อมนำเอกสารการเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจลิขสิทธิ์ตัวจริงมาพบพนักงานสอบสวนพร้อมตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนว่าถูกต้องหรือไม่ เมื่อพนักงานสอบสวนตรวจสอบแล้วก็ต้องลงบันทึกประจำวันว่า บุคคลผู้ที่ถือเอกสารได้ลงบันทึกประจำวันว่าพบเห็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ขายของผิดกฎหมาย เมื่อรับแจ้งเสร็จแล้วนำตำรวจไปจับถือเป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจับควบคุมตัวต้องแจ้งข้อหา แต่จับมาแล้วไม่แจ้งข้อหา ไม่ควบคุมตัว แต่กลับนำตัวไปไกล่เกลี่ยเรียกรับค่าเสียหายถือว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หากไม่มีเอกสารเหล่านี้ถือว่าทุกฝ่ายมีส่วนรู้เห็นมีความผิดในการล่อซื้อจับลิขสิทธิ์ เชื่อว่าทั้งที่จังหวัดนครราชสีมาและร้อยเอ็ดจะไม่มีเอกสารทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น” อดีตพนักงานสอบสวนกล่าว

 

 

ส่อง 5 ข้อสำคัญตอกฝาโลงแก๊งตบทรัพย์ลิขสิทธิ์

 


          เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีอาญาที่สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ ต้องมีเลขรับคดี หากไม่มีแสดงว่าคดียังไม่เกิด การควบคุมตัวผู้ต้องหาต้องให้ลงลายมือชื่อในบันทึกประจำวัน ถ้าผู้ถูกจับไม่ลงลายมือชื่อก็ถือว่าผู้ดูแลลิขสิทธิ์และตำรวจไม่มีอำนาจในการจับหรือเชิญมาสถานีตำรวจ การจับต้องแจ้งว่าถูกจับในข้อหาใด มีสิทธิ์ได้พบและปรึกษาทนายได้


          “ขบวนการข่มขู่ลิขสิทธิ์นี้มักจะติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในลักษณะเสนอส่วนแบ่งให้ 60 ต่อ 40 หรือ 50 ต่อ 50 แล้วแต่กรณี ราคาไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับข้อตกลงเพราะต้องยืมมือตำรวจในการข่มขู่ รับเงิน แต่ตำรวจก็ไม่ได้รับทุกคน เนื่องจากว่าตำรวจมีหลายหน่วย หลายระดับ แต่มีไม่น้อยที่เห็นแก่เงิน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ จึงทำให้เกิดเรื่องแบบนี้”
 

 

 

ส่อง 5 ข้อสำคัญตอกฝาโลงแก๊งตบทรัพย์ลิขสิทธิ์

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ