คอลัมนิสต์

แก้โจทย์สิ่งแวดล้อมในมือ วราวุธ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แก้โจทย์สิ่งแวดล้อมในมือ วราวุธ  โดย...  ปิยะภรณ์ วงศ์เรือง

 

 

 


          ลูกชายของ บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี วันนี้เป็นหนึ่งในครม.ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้รับความไว้วางใจให้กุมบังเหียนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

          “วราวุธ ศิลปอาชา" แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนาในฐานะเจ้ากระทรวงดังกล่าว ระบุว่า “พรรคชาติไทยพัฒนาทำงานด้านเกษตรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ในวิถีทางการเมืองไม่ใช่ว่าเรามีอะไรอย่างนี้ แล้วขอไปแบบนี้ แล้วจะได้แบบนี้ เมื่อนายกฯ ให้มาทำงานด้านสิ่งแวดล้อม มันเป็นความท้าทายใหม่และตั้งใจที่จะขับเคลื่อนกระทรวงให้เป็นหนึ่งในหัวใจการทำงานของรัฐบาล

 



          โดยเฉพาะงานด้านทรัพยากรป่าไม้ ที่ดิน และน้ำ ที่ถูกขับเคลื่อนตั้งแต่หลังรัฐประหาร ผ่านแผนงานต่างๆ การถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญของงานปฏิรูปประเทศและอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติที่กลายมาเป็นนโยบายหลัก 1 ใน 12 ข้อของรัฐบาล ความท้าทายอยู่ที่การผสมผสานนโยบายส่วนตัวและของพรรคเข้ากับกรอบนโยบายแห่งรัฐดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ที่ได้วางไว้” 


          วราวุธ ระบุว่า "เรื่องคะแนนเสียงก็คงมีได้บ้างเสียบ้าง (จากการทำงาน) แต่ผมคิดว่าถ้าเราเก็บทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้ลูกหลานของเราได้ก็อาจเสียคะแนนเสียงเพราะเราทำงานด้านนี้ ต้องเข้าใจว่าเราทำงานให้คนรุ่นต่อๆ ไป ไม่ใช่ว่าเหลือพะยูนให้เขาไปดูจากภาพถ่ายหรือรูปปั้น”


          “นายกฯ ให้ความสำคัญกับประชาชนจึงตั้งเป้าไว้ว่าเราจะช่วยประชาชนแก้ปัญหา การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ ความขัดแย้งที่ดินไม่ใช่ว่าเอาคนออกมาเพื่อให้ได้ป่าคืน แล้วทิ้งประชาชนให้จมอยู่กับปัญหาไร้ที่ดินทำกิน แต่เราจะช่วยดูแลจัดหาที่ดินใหม่ให้"


          วราวุธ มองว่า สิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัวของทุกคน และเครื่องมือในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดคือจิตสำนึกร่วมของประชาชน ถ้าคนไทย 70 ล้านคนมีจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมหมด ตนมองว่ากระทรวงนี้ไม่จำเป็นต้องมีเลยด้วยซ้ำ




          “โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลคือการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลัก ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องมีการประมวลนโยบายที่ผมมีกับสิ่งที่กำหนดเข้าไว้ด้วยกันให้ได้
 

          ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเพียงกรอบกว้างๆ ที่วางเป้าหมายของประเทศเอาไว้ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะประเทศไทยไม่เคยมีการวางเป้าหมายของประเทศและยุทธศาสตร์เอาไว้เลย ซึ่งในขั้นตอนการปฏิบัติจะแบ่งออกเป็นระยะ ระยะละ 5 ปี ซึ่งทำให้ไม่ค่อยมีความแตกต่างจากการดำเนินงานที่ต้องทำตามแผนของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่อย่างใด


          เรามีกรอบ แต่เขาก็ไม่ได้บังคับว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้ วิธีปฏิบัติก็ขึ้นอยู่กับกระทรวง มันเป็น Framework ซึ่งผมก็ไม่ได้เห็นว่าเสียหายเหมือนเราขับรถจะไปไหนก็ต้องมีจุดหมายเหมือนกัน” วราวุธ กล่าวและว่า โจทย์ที่ท้าทายของงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับเขาคือทำอย่างไรให้คน ป่า และสัตว์ป่าอยู่ได้อย่างสันติสุข โดยเขามองว่าทั้ง 3 ส่วนนี้สัมพันธ์กันและต้องแก้ไขให้ไปด้วยกัน


          “สิ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาคือต้องให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าวก่อน แล้วเอาแต่ละปัญหามาดูกัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ไม่ใช่แค่ทำให้ถูกใจ ซึ่งอาจจะเร็วกว่า”


          การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองและปัญหาขยะนั้น วราวุธมองว่ามีความเชื่อมโยงกับบริบถโลกอย่างแยกไม่ได้ และเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของกระทรวงนี้ที่ต้องจัดการต่อไป สิ่งแวดล้อมมันไม่ได้ถูกแบ่งโดยเส้นเขตแดน เพราะฉะนั้นมันจึงเป็น Global issue ด้วยในหลายๆ เรื่องที่ทำให้เราต้องตระหนักด้วย


          “ไฟป่าอเมซอนในเวลานี้ การปลูกป่าของเราอาจมีส่วนทดแทนออกซิเจนที่ขาดหายไปเป็นต้น งานด้านสิ่งแวดล้อมบางทีจึงไม่ใช่แค่วาระของกระทรวงหรือของชาติแล้ว แต่เป็น Global issues ด้วยที่จะต้องมอง” วราวุธ ระบุ


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-(คลิป) เพจลุงตู่ปล่อยคลิปเพลงให้กำลังใจ บิ๊กตู่ ช่วยน้ำท่วม
-"บิ๊กตู่" เผย ตั้งรัฐบาลต้องดูความเหมาะสมหาจุดลงตัวให้ได้
-บิ๊กตู่ ขอโทษครม.3ครั้งบนเวที ลั่นขอรับผิดคนเดียวปมรธน.
-บิ๊กตู่ ไม่ขัดข้องเลื่อนถกถวายสัตย์ 16 ก.ย.

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ