คอลัมนิสต์

รัฐบาลอัดฉีดเศรษฐกิจ..ผิดทิศหรือเข้าเป้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รายงาน ..

 

 

          เมื่อเร็วๆ นี้ “อุตตม สาวนายน” รมว.คลัง และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวกับรายการ “คม ชัด ลึก” ออกอากาศทางเนชั่นทีวีทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 22.15-23.00 น. ในประเด็นรัฐบาลอัดฉีดเศรษฐกิจ...ผิดทิศหรือเข้าเป้า ? โดยมีใจความว่า วันนี้ปัญหาเศรษฐกิจที่มีอยู่นั้น เศรษฐกิจไทยยังไม่โคม่า แต่เศรษฐกิจโลกถดถอย หากสหรัฐกับจีนตกลงกันไม่ได้ ไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกจะรับผลกระทบ และไทยต้องป้องกันตัวเองไว้ก่อน

 

 

          “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ หวังบรรเทาค่าครองชีพให้เกษตรกรรายย่อยและที่เจอภัยแล้ง คือลดดอกเบี้ยเงินกู้ ลดลงเหลือร้อยละ 0.1 เป็นเวลา 1 ปี โดยเงินต้นไม่เกินวงเงินกู้ 3 แสนบาท, ขยายเวลาชำระหนี้เป็นเวลา 2 ปี ไม่จำกัดวงเงิน, การช่วยเหลือปัจจัยการเพาะปลูก โดยเฉพาะชาวนาจะช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อราย, สินเชื่อฉุกเฉิน 5 หมื่นบาทให้เกษตรกร โดยต้องขึ้นทะเบียนกับ ธ.ก.ส., สินเชื่อฟื้นฟูความเสียหายจากภัยแล้งรายละ 5 แสนบาท เพื่อลดภาระหนี้และเกษตรกรมีเงินหมุนเวียนในช่วงความเสี่ยงสูง หากปล่อยให้สะดุด การยกระดับเกษตรกรจะทำได้ยาก"

 

 

          “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ หวังบรรเทาค่าครองชีพให้เกษตรกรรายย่อยและที่เจอภัยแล้ง คือลดดอกเบี้ยเงินกู้ ลดลงเหลือร้อยละ 0.1 เป็นเวลา 1 ปี โดยเงินต้นไม่เกินวงเงินกู้ 3 แสนบาท, ขยายเวลาชำระหนี้เป็นเวลา 2 ปี ไม่จำกัดวงเงิน, การช่วยเหลือปัจจัยการเพาะปลูก โดยเฉพาะชาวนาจะช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อราย, สินเชื่อฉุกเฉิน 5 หมื่นบาทให้เกษตรกร โดยต้องขึ้นทะเบียนกับ ธ.ก.ส., สินเชื่อฟื้นฟูความเสียหายจากภัยแล้งรายละ 5 แสนบาท เพื่อลดภาระหนี้และเกษตรกรมีเงินหมุนเวียนในช่วงความเสี่ยงสูง หากปล่อยให้สะดุด การยกระดับเกษตรกรจะทำได้ยาก"


          มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้งบประมาณสามแสนหนึ่งหมื่นหกพันล้านบาทนั้น ความจริงนั้นการทำงานในการดูแลเศรษฐกิจต้องดูความเป็นจริง ดูแลรายได้ของประเทศ การทำระยะสั้นมันจำเป็น หากปล่อยไว้รายได้ของประเทศจะกระทบและแก้ปัญหาได้ยากขึ้น แม้วันนี้รายได้ของรัฐหายไปหนึ่งหมื่นเก้าพันล้านบาท นโยบายขาดดุลงบประมาณต้องใช้และอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง ไม่มีผลเชิงลบและต้องปรับระบบเศรษฐกิจ ยืนยันการใช้งบนั้นโปร่งใส


          นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจดูแลภัยแล้ง ดูแลกระทบเศรษฐกิจโลก และช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนนั้น บางคนบอกว่าใช้วิธีเดิมๆ นั้น ขอเรียนว่า เศรษฐกิจหากเสี่ยงต้องดูแลตั้งแต่รากฐาน โดยคนฐานรากของประเทศคือเกษตรกรที่มีความเสี่ยงสุด หากกลุ่มนี้กระทบจะเป็นลูกโซ่ จึงต้องกระตุ้นการใช้จ่าย ต้องส่งเสริมเอสเอ็มอีให้ลงทุนโดยมีมาตรการช่วยเหลือ สศช.คาดตอนต้นปีว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 3 แต่ตอนนี้เศรษฐกิจมันตกลงมา และตัวเลขคาดการณ์ที่ลดลงคือร้อยละ 2.7 เพราะสัญญาณการเติบโตในประเทศชะลอตัวและอยู่ในการคาดการณ์ของกระทรวงการคลังไว้ สัญญาณนี้ เราต้องบรรเทาผลกระทบ เศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 3 ตามเป้า

 

 

รัฐบาลอัดฉีดเศรษฐกิจ..ผิดทิศหรือเข้าเป้า

 


          มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้งบประมาณสามแสนหนึ่งหมื่นหกพันล้านบาทนั้น ความจริงนั้นการทำงานในการดูแลเศรษฐกิจต้องดูความเป็นจริง ดูแลรายได้ของประเทศ การทำระยะสั้นมันจำเป็น หากปล่อยไว้รายได้ของประเทศจะกระทบและแก้ปัญหาได้ยากขึ้น แม้วันนี้รายได้ของรัฐหายไปหนึ่งหมื่นเก้าพันล้านบาท นโยบายขาดดุลงบประมาณต้องใช้และอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง ไม่มีผลเชิงลบและต้องปรับระบบเศรษฐกิจ ยืนยันการใช้งบนั้นโปร่งใส


          นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจดูแลภัยแล้ง ดูแลกระทบเศรษฐกิจโลก และช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนนั้น บางคนบอกว่าใช้วิธีเดิมๆ นั้น ขอเรียนว่า เศรษฐกิจหากเสี่ยงต้องดูแลตั้งแต่รากฐาน โดยคนฐานรากของประเทศคือเกษตรกรที่มีความเสี่ยงสุด หากกลุ่มนี้กระทบจะเป็นลูกโซ่ จึงต้องกระตุ้นการใช้จ่าย ต้องส่งเสริมเอสเอ็มอีให้ลงทุนโดยมีมาตรการช่วยเหลือ สศช.คาดตอนต้นปีว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 3 แต่ตอนนี้เศรษฐกิจมันตกลงมา และตัวเลขคาดการณ์ที่ลดลงคือร้อยละ 2.7 เพราะสัญญาณการเติบโตในประเทศชะลอตัวและอยู่ในการคาดการณ์ของกระทรวงการคลังไว้ สัญญาณนี้ เราต้องบรรเทาผลกระทบ เศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 3 ตามเป้า

 

 

รัฐบาลอัดฉีดเศรษฐกิจ..ผิดทิศหรือเข้าเป้า

 



          โดยใช้แนวคิดเดิมแต่ปรับปรุงขึ้น โดยสร้างความเชื่อมั่นให้คนไทยจับจ่ายใช้สอย หากไม่ทำอะไร ความเชื่อมั่นของประเทศโดนกระทบจากปัจจัยภายนอก แล้วจะจัดเก็บรายได้ให้เข้าเป้านั้นคงเป็นไปไม่ได้


          ได้มอบนโยบายให้กระทรวงการคลังว่าต้องวิเคราะห์การจัดเก็บการสร้างรายได้ให้ประเทศ เพราะไทยจำเป็นต้องลงทุนในการสร้างอนาคต


          หากถามว่า 5 ปีของครม.ชุดที่แล้วใช้งบช่วยเกษตรกรมาก แต่หลายคนมองว่าเกษตรกรยังลืมตาอ้าปากไม่ได้ ขอเรียนว่าปัญหามากมายและสะสม รัฐบาลที่แล้ววางรากฐานการแก้ไขแบบเป็นระบบ โดยอัดเม็ดเงินเพื่อให้เกษตรกรยกระดับให้สร้างมูลค่าเพิ่มได้ มีเงินมากขึ้น และอย่าลืมภาวะธรรมชาติและความต้องการของตลาดโลกที่มีต่อสินค้าเกษตรในตอนนั้นๆ ด้วย รัฐบาลต้องดูแลและมีค่าใช้จ่าย


          “ปัจจัยการผลิตของเกษตรกร เม็ดเงินของรัฐอัดตรงไปยังเกษตรกร กองทุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็เช่นกัน และให้เอื้อกับภาคอื่นๆ ไปด้วย"


          หากถามว่าเม็ดเงินที่อัดลงไปยังเกษตรกรนั้นแต่ความจริงเงินกลับไปตกอยู่กับนายทุน ยืนยันว่ารัฐบาลทำเพื่อคนไทยทุกคน ไม่ได้เอื้อนายทุน ยืนยันการช่วยเหลือเกษตรกรนั้นไม่ใช่การรอความหวัง รัฐบาลมีการสร้างและพัฒนาเกษตรกร เช่น เครื่องจักรแปรรูป การปลูกพืชหลายอย่างแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การให้องค์ความรู้แม้จะใช้เวลาแต่มันจะเห็นผล ตอนนี้กำลังเข้าทางในการดูแลเกษตรกร

 

 

รัฐบาลอัดฉีดเศรษฐกิจ..ผิดทิศหรือเข้าเป้า

 


          การช่วยเหลือเกษตรกรนั้นเป็นฐานใหญ่ของประชาชนในประเทศและจำเป็น การเกษตรนั้นมีปัจจัยแทรกเยอะ เช่น ภัยแล้ง วิธีแก้ไขคือผ่อนภาระหนี้ของเกษตรกร


          โดยเล็งตรงจุดแบบยั่งยืน โดย ธ.ก.ส.รับหน้าที่นี้และรัฐบาลต้องชดเชย ธ.ก.ส.ในวันข้างหน้า


          ขอย้ำว่าภาคอื่นๆ รัฐบาลก็ไม่ได้ละเว้นการช่วยเหลือ เช่น สินเชื่อเงินกองทุนประชารัฐ, เอสเอ็มอีจะให้บสย.ช่วยด้านเงินค้ำประกันมากขึ้น, การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการรายย่อยที่จะง่ายขึ้น, กองทุนเอสเอ็มอีที่หลายหน่วยงานมาช่วยกันเพื่อหนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แต่ต้องทำงานตรงนี้อีกมาก


          ส่วนมาตรการที่ออกมานั้น นักวิชาการบางคนมองว่า อาจจะใช้จ่ายเกินตัวกับการกระตุ้นเศณษฐกิจครั้งนี้นั้น ยืนยันว่าไม่ก่อหนี้เกินตัว เป็นการให้ที่หวังผล เพราะมีกรอบและจุดประสงค์การช่วยเหลือที่วางไว้ชัดเจน เพื่อให้เม็ดเงินของภาครัฐครั้งนี้เข้าไปหมุนในระบบเศรษฐกิจ


          “โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมาจากการส่งออก เงินที่เข้ามาวันนี้กระทบ เพราะโลกสะดุด การช่วยเหลือครั้งนี้ยิงตรงไปยังเกษตรกร โดยบรรเทาผลกระทบภาคเกษตร และเกษตรกรจะมีเงินจับจ่ายใช้สอย ภาคอื่นๆ ก็ได้รับผลนี้”


          ส่วนกรณีที่บางคนมองว่ามาตรการนี้ของรัฐบาลเน้นไปยังฐานเสียงของพรรคพลังประชารัฐ ที่มีการเพิ่มวงเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น ขอเรียนว่า โจทย์นี้คือลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดตามเศรษฐกิจโลก บัตรนี้คือเครื่องมือที่รัฐบาลควบคุมได้และให้ผู้มีรายได้น้อยสิบสี่ล้านคนเศษ สวัสดิการเหล่านี้เพื่อให้พวกเขาเข้มแข็ง นำเงินเหล่านี้ใช้จ่ายเพื่อให้เม็ดเงินเข้าระบบ ยืนยันรัฐบาลไม่ใช้เงินแบบสุรุ่ยสุร่าย และจะดูแลผู้มีรายได้น้อยให้มากขึ้นด้วยมาตรการของรัฐและแก้ไขการลงทะเบียนของผู้มีรายได้น้อยให้ตรงจุดมากขึ้น หากกระแสเศรษฐกิจโลกยังไม่ดีขึ้น การช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อยสองเดือนที่วางไว้นั้น เชื่อว่ามาตรการตอนนี้เพียงพอในวันนี้จนถึงปลายปีและติดตามเหตุในอนาคตร่วมกับทุกฝ่ายในมาตรการครั้งหน้า ส่วนคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมนั้นรัฐบาลไม่ได้ละเลย


          ส่วนการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่มีการวิจารณ์เชิงลบการใช้มาตรการนี้ สภาวะเศรษฐกิจไทยและโลกที่มีความเสี่ยงแบบนี้ การท่องเที่ยวคือหนึ่งในเครื่องยนต์หลักการสร้างรายได้ให้ประเทศ การท่องเที่ยวนั้นมีการจ้างงานเยอะมากและมีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเยอะ หากปล่อยให้ชะลอตัว ผลกระทบจะเยอะ ต้องให้คนในประเทศไปเที่ยวและจับจ่ายใช้สอย จึงสร้างแรงจูงใจให้คนออกจากบ้าน โดยสนับสนุนหนึ่งพันบาทต่อคนในการ "ชิม ช็อป ใช้” ด้วยการลงทะเบียนทางอีเพย์เม้นท์และอีวอลเลท เพื่อซื้อสินค้าในท้องถิ่นในการท่องเที่ยวข้ามจังหวัดนอกภูมิลำเนาตัวเอง โดยตั้งเป้าดำเนินการช่วงกลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ส่วนการใช้ท่องเที่ยวในงบสามหมื่นบาทนั้น ต้องนำหลักฐานการใช้จ่ายมาลงทะเบียนแล้วรัฐบาลจะคืนเงินให้ร้อยละสิบห้า ทางอีวอลเลท และไม่เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี ตั้งเป้าสิบล้านคนมาลงทะเบียนในโครงการนี้เพื่อหมุนระบบเศรษฐกิจ

 

รัฐบาลอัดฉีดเศรษฐกิจ..ผิดทิศหรือเข้าเป้า

 


          หากบอกว่าใช้ยาแรง มันก็มีความจำเป็นในตอนนี้ ดีกว่าปล่อยให้เกิดเหตุแล้วใช้ยาแรงแต่ไม่มีผล


          ส่วนการจูงใจนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้น มาตรการทางวีซ่าต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย


          ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจนั้น เม็ดเงินสามแสนกว่าล้านบาทจะส่งผลกับจีดีพีขยายตัว 0.55 และจะเข้าเป้าจีดีพีปีนี้ร้อยละ 3 เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งในภาพรวมในวันข้างหน้า เพราะมาตรการต่างๆจะต้องทำวันนี้ ย้ำว่าเม็ดเงินที่จะใช้นั้นอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง ไม่ใช่งบประมาณใหม่


          ส่วนนโยบายพรรคพลังประชารัฐที่เคยหาเสียงเรื่องลดภาษีนั้น ได้สั่งหน่วยงานให้ศึกษาทบทวนระบบภาษีทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ วันนี้ประเทศต้องการลงทุนหลายด้านกับโลกสมัยใหม่ เป้าหมายการลงทุนร้อยละ 20 โดยมีการใช้เงินและหาเงิน


          การหาเงินนั้น วันนี้ค้าขายออนไลน์โตเร็ว ก็ต้องหาวิธีการเก็บภาษี โดยร่างกฎหมายนั้นกำลังพิจารณาเพื่อนำมาใช้กับการขยายฐานการจัดเก็บภาษี


          มาตรการข้างต้น กลางเดือนกันยายนต้องเกิดขึ้นและมีผลกับจิตวิทยาของคนในสังคมและเชื่อมั่นเกิดขึ้น


          ส่วนตัวหวังว่าปีหน้า ประเทศขนาดใหญ่จะตกลงกันได้ และไทยน่าจะได้ผลดี วันนี้เราต้องดูแลตัวเองก่อน หากวันหน้าเหตุการณ์ดีขึ้นแล้วเราไม่พร้อม มันเหมือนวิ่งขึ้นภูเขา และหากปีหน้าเศรษฐกิจโลกไม่ดีอีกก็มีมาตรการเตรียมรองรับไว้แล้ว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ