ข่าว

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562" รางวัลอันทรงเกียรติเพื่อผู้เสียสละทางการแพทย์-สาธารณสุข

 

 


        เวลา 17.23 น. วันที่ 30 มกราคม 2563 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2562 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และในงานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ในพระบรมมหาราชวัง 

 อ่านข่าว : 4 นักวิจัยตบเท้าเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

 

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

         การนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ณ ท้องพระโรงหน้า ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2562 ซึ่งปีนี้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งสิ้น 66 ราย จาก 35 ประเทศ ดังนี้ รางวัลสาขาการแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. ราล์ฟ เอฟ ดับเบิ้ลยู บาร์เทนชลากเกอร์ (Professor Dr.Ralf F.W. Bartenschlager) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

 

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562" ศาสตราจารย์ ดร. ราล์ฟ เอฟ ดับเบิ้ลยู บาร์เทนชลากเกอร์

 

         มีผลงานสำคัญทางการศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus หรือ HCV) ซึ่งนำไปสู่องค์ความรู้ในการพัฒนายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง มีความจำเพาะ และปลอดภัย และสาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เมบี (Professor David Mabey) ศาสตราจารย์สาขาโรคติดต่อและสาขาวิจัยคลินอก วิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร ได้ค้นพบว่าการให้ยาเอซิโทรมัยซิน (azithromycin) เพียง 1 ครั้ง สามารถรักษาโรคริดสีดวงตาอย่างได้ผลและการให้ยาเอซิโทรมัยซินแบบครอบคลุมประชากรจำนวนมาก สามารถช่วยกำจัดโรคนี้ให้หมดไปได้ในถิ่นที่เป็นแหล่งระบาดของโลก

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562" ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เมบี
   

กเกอร์ ศาสตราจารย์ ดร. ราล์ฟ เอฟ ดับเบิ้ลยู บาร์เทนชลากเกอร์กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนทีมคณะทำงานรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจที่ได้รับรางวัลนี้ อุปสรรคในการทำงานมี 2 เรื่องใหญ่ๆ เรื่องแรกคือการค้นหาวิธีเพาะเลี้ยงเซลล์ในช่วงแรกซึ่งยาก ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีกว่าจะสำเร็จ และอีกปัญหาสำคัญคือ การจะทำอย่างไรให้ทีมงานไม่ท้อถอย และมีความมุ่งมั่นจนท้ายที่สุดก็ประสบความสำเร็จสามารถค้นพบยาแอนตี้ไวรัสชนิดนี้ได้

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

   

 

 

          ในอนาคตอยากรักษาคนให้มากกว่านี้และทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้นด้วยการทำให้ราคายาถูกลง และอีกโรคที่ทางคณะทำงานให้ความสนใจและอยากศึกษาเพิ่มเติมคือโรคไข้เลือดออก เพราะมองว่าเป็นโรคร้ายที่จำเป็นต้องหาทางรักษา

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

ศุภชัย ภู่งาม- ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย-พลากร สุวรรณรัฐ-ศ.พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ-พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข-ดร.จรัลธาดา กรรณสูต-อำพน กิตติอำพน
 

         ในส่วนของไวรัสโคโรนาที่กำลังระบาดในขณะนี้  ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เมบี แนะนำว่า ไม่ควรตื่นตระหนกตกใจเพราะเป็นการแพร่ระบาดของไวรัสตัวใหม่ที่ติดต่อระหว่างสัตว์มาสู่มนุษย์ และมนุษย์สู่มนุษย์ เริ่มต้นที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งในขณะนี้มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามอัตราการเสียชีวิตยังไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับโรคซาร์สและเมอร์ส มีความรุนแรงน้อยกว่าเยอะ ซึ่งมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการป้องกันการเคลื่อนย้ายผู้มีโอกาสติดเชื้อให้อยู่กับที่มากที่สุด 

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562" กัลย์ธีรา-สุภรัฐ จิราธิวัฒน์
 

          สำหรับในประเทศไทยมีมาตรการที่รัฐบาลประกาศชัดเจนอยู่แล้ว คอยดูอย่างใกล้ชิดสำหรับผู้ที่มาจากประเทศจีน มีการตรวจสอบวัดไข้ เฝ้าดูอาการ ส่วนพวกเราทุกคนต้องคอยดูแลตัวเองด้วยการล้างมือบ่อยๆ อย่าเอามือไปสัมผัสดวงตา ถ้าไม่แน่ในควรสวมใส่หน้ากากอนามัย ทั้งนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องทำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามต้องคอยติดตามสถานการณ์ของโรคต่อไป และเชื่อว่าจะค้นพบวัคซีนที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ในเร็ววันนี้
   

         ด้าน  ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เมบี เผยว่า รู้สึกเป็นเกียรติสูงสุดที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้มีโอกาสศึกษาพระราชประวัติของสมเด็จมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้ถึงความตั้งใจมุ่งมั่นในการทรงงานยังประโยชน์แก่วงการแพทย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตัวเองมีโอกาสในการที่จะเข้าไปรักษาคนไข้โรคริดสีดวงตา ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ และทำให้เกิดมีความพิการ โดยเฉพาะประเทศแถบแอฟริกาในเขตร้อนและตนได้มีโอกาสเข้าไปรักษาและร่วมแคมเปญกับองค์การอนามัยโลก ซึ่งการรักษาเดดิมทีต้องใช้ยาป้ายสองวันต่อวันติดต่อกันเป็นสัปดาห์ แต่หลังจากมีการค้นพบยาวิธีการรักษารวมเร็วขึ้น สามารถรักษาได้ภายในครั้งเดียว ทำให้มีความสะดวกในการใช้มากขึ้นและช่วยคนได้มากขึ้น ทำให้ตัวเองรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือ

 

           ด้านอุปสรรคการทำงาน ความท้าทายก็คือทำอย่างไรให้คนสนใจในงานที่ตัวเองทำ เพราะโรคนี้ไม่ได้เกิดในประเทศที่ร่ำรวย เพราะเป็นโรคคนจน คนอาจจะไม่มีความสนใจสนับสนุนเงินทุนในการรักษา ซึ่งโรคนี้ต้องใช้งบประมาณในการซื้อยาปฏิชีวนะ จึงจำเป็นต้องมีเงินทุนมาช่วยเหลือจำนนวนมาก โชคดีในปี 2012 ได้รับความสนใจจากกองทุนมูลนิธิบิลเกตส์ ที่เข้ามาให้การสนับสนุนซื้อยาจำนวนมาก สามารถช่วยเหลือคนได้จำนวนมากได้ ถ้าให้ยาปีละ 2 ครั้ง อัตราการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 1-5 ปี จะลดลงร้อยละ 13 และในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ละลดลงร้อยละ 25 อย่างไรก็ตามโรครักษาริดสีดวงตามีผลพลอยได้ต่อการป้องกันรักษาโรคมาลาเรีย ทำให้ต้องศึกษากลไกในการรักษาต่อไป
   

 

         จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลฯ ความว่า  “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้ามาปฏิบัติ พระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปีพุทธศักราช 2562 ในวันนี้ ขอขอบใจคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ร่วมกันดำเนินการต่าง ๆ ในการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นที่ประจักษ์แพร่หลายยิ่ง ๆ ขึ้นตลอดมา
   

    

 

 

         การศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อป้องกันและบำบัดรักษาโรคใดโรคหนึ่งนั้น มิใช่สิ่งที่อาจกระทำได้ง่ายนักและโดยมากก็มิได้เกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญ หากเป็นผลจากความมุ่งมั่นตั้งใจและความวิริยอุตสาหะอย่างยิ่งยวด ของบุคคลผู้อุทิศตนทำงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ และความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ แม้การศึกษาคันคว้าวิจัยดังกล่าว จะเป็นการมุ่งศึกษาเฉพาะปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งของโรค หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งเป็นแหล่งระบาดของโรคก็ตาม แต่ก็เป็นพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ คือการพัฒนาแนวทางหรือวิธีการ ที่จะป้องกัน รักษา และขจัดโรคนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเช่น

 

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562" สมพันธ์ จารุมิลิน

 

          ผลงานการศึกษาวงจรชีวิตไวรัสตับอักเสบซี ของศาสตราจารย์ ดร.ราล์ฟ เอฟ. ดับเบิ้ลยู. บาร์เทนชลากเกอร์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญในการพัฒนายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง อันอำนวยประโยชน์แก่การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ป่วยทั่วโลก และผลงานการศึกษาเกี่ยวกับการให้ยารักษาโรคริดสีดวงตาในประเทศแกมเบียและแทนซาเนียของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์เดวิด เมบี ซึ่งนำไปสู่นโยบายการกำจัดโรคริดสีดวงตาขององค์การอนามัยโลก อันมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุดได้ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562" อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์-ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
   

       "ข้าพเจ้าจึงขอแสดงความนิยมชื่นชมด้วยอย่างยิ่ง ที่ท่านทั้งสองได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลจากผลงานอันทรงคุณค่าและเป็นประโยชน์อันไพศาล ทั้งแก่วงการแพทย์และการสาธารณสุข ทั้งแก่มวลมนุษยชาติทั่วทุกส่วนของโลก    ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขออวยพรให้ทุกท่านที่มาร่วมในพิธีนี้ มีความผาสุกสวัสดีจงทั่วกัน”

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"    ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ

           เวลาต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในงานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำ แก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2562 พร้อมคู่สมรส ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร โดยมีองคมนตรี ข้าราชการระดับสูง คณะทูตานุฑูตต่างประเทศประจำประเทศไทย และบุคคลในวงการแพทย์และสาธารณสุขร่วมงาน อาทิ

 

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี2562"

ศ.นพ.ไกรสิทธิ์-พญ.อรทัย ตันติศิรินทร์

         พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์, ดร.จรัลธาดา กรรณสูต, กัมปนาท รุดดิษฐ์, พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข, ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย,ศ.พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ, ศุภชัย ภู่งาม, ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร, ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช, ศาสตราจารย์ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์, ดร.อภิชัย จันทรเสน, รศ.นพ.นริศ ดิจณรงค์, รศ.พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์  เป็นต้น
   

           สำหรับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในโอกาสจัดงานเฉลิมฉลอง 100 ปี แห่งการพระราชสมภพ 1 มกราคม 2535 ดำเนินงานโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบรางวัลให้แก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ด้านการแพทย์ 1 รางวัล และด้านการสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปี ซึ่งตลอดระยะเวลา 27  ปีที่ผ่านมา มีบุคคลหรือองค์กรได้รับรางวัลนี้แล้วทั้งสิ้น 83 ราย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ