ข่าว

"Novavax" วัคซีนหลักโคแวกซ์ หรือนัยไทยโดดร่วมโครงการนำเข้าปี 2565

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เจรจาวัคซีนรุ่น 2 รับไวรัสกลายพันธุ์ พร้อมจองตั๋วโคแวกซ์ ปี 2565 "Novavax" ความหวังสู้ โควิด-19 หรือนัยไทยโดดร่วมนำเข้า

กระทรวงการต่างประเทศ Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand เปิดเผยถึงการทูตกับการแสวงหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของไทย โดยที่ผ่านมามีความร่วมมือกับต่างประเทศ ดังนี้

  • จีน : บริจาควัคซีน ซิโนแวค "Sinovac" จำนวน 1 ล้านโดส ให้ไทย

 

  1. ลอตที่ 1 : 500,000 โดส (ถึงไทยเมื่อ 14 พฤษภาคม 2564)
  2. ลอตที่ 2 : 500,000 โดส (ถึงไทยเมื่อ 5 มิถุนายน 2564)

 

  • ญี่ปุ่น : ส่งมอบวัคซีน แอสตร้าเซนเนกา "AstraZeneca" ที่ผลิตในญี่ปุ่น ให้แก่ไทยจำนวน 1,053,090 โดส (ถึงไทยเมื่อ 9 กรกฎาคม 2564)
  • สหรัฐอเมริกา : 3 มิถุนายน 2564 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศมอบความช่วยเหลือวัคซีน รวม 80 ล้านโดส ให้กับประเทศต่าง ๆ รวมทั้งไทย
  • Covax : ไทยไม่ได้เข้าร่วมโครงการแบ่งปันวัคซีน โคแวกซ์ "COVAX" ของ WHO แต่ร่วมบริจาคเพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับ Covax แล้ว 2 ครั้ง ครั้งละ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้ไทยสามารถแลกเปลี่ยน ขาย และแจกจ่ายวัคซีนที่ไทยผลิตได้เองในอนาคตข้างหน้าให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ

 

 

แอสตร้าเซนเนกา, AstraZeneca, ซิโนแวค, Sinovac, วัคซีน, โควิด-19, โคแวกซ์, Covax, COVAX, ไฟเซอร์, Pfizer, โมเดอร์นา, Moderna

 

“เมื่อดูแนวโน้มผู้ผลิตหลายราย ที่เป็นรายใหญ่ ๆ จะเริ่มส่งมอบวัคซีนให้กับโครงการโคแวกซ์ "COVAX" เรียกว่าน่าจะส่งมอบเป็นหลัก จึงเป็นที่มาของการร่วม COVAX เราไม่ได้มุ่งหวังปีนี้ เพราะเขาส่งไม่ทันอยู่แล้ว แต่เรามุ่งปีหน้า เพื่อเพิ่มช่องทางการนำเข้ามาของวัคซีนปี 2565”

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เจรจาวัคซีนรุ่น 2 รับไวรัสกลายพันธุ์ พร้อมร่วม โคแวกซ์ "COVAX" ปี 2565

นายแพทย์ นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวถึงการดำเนินการข้างหน้า ว่า สถาบันฯ ดำเนินการต่อในความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย คือ การจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ทั้งปีนี้และปีหน้า โดยปี 2565 พิจารณาดำเนินการกับผู้ผลิตรุ่นที่ 2 หรือวัคซีนที่สามารถตอบสนองกับไวรัสกลายพันธุ์ได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ส่งมอบได้ตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี 2565 เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ จำเป็นต้องจองวัคซีนล่วงหน้า

 

นอกจากนี้ ยังอยู่ในการเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ "COVAX" เพียงแต่ยังไม่ได้มีการลงนามในการจัดหาวัคซีนร่วมกันผ่านโครงการโคแวกซ์ ส่วนนี้สถาบันได้เริ่มเจรจาและส่งข้อความประสานงานไปยังองค์กรกาวีในการที่จะขอเจรจาจัดหาวัคซีนร่วมกับโครงการโคแวกซ์มีเป้าหมายของการได้รับวัคซีนของปี 2565 เพิ่มเติมจากการเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนลำพัง จะดำเนินการผ่านโครงการโคแวกซ์ และเมื่อได้ข้อสรุปเบื้องต้นชัดเจนก็นำเสนอผ่านคณะกรรมการ คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง

 

แอสตร้าเซนเนกา, AstraZeneca, ซิโนแวค, Sinovac, วัคซีน, โควิด-19, โคแวกซ์, Covax, COVAX, ไฟเซอร์, Pfizer, โมเดอร์นา, Moderna

 

โนวาแวกซ์ "Novavax" หนึ่งในวัคซีนหลักโครงการโคแวกซ์ "COVAX"

  • อีกหนึ่งวัคซีนความหวังของการต่อสู้ในสมรภูมิ โควิด-19 นอกจาก ไฟเซอร์ "Pfizer" และ โมเดอร์นา "Moderna" หนึ่งในวัคซีนหลักของโครงการโคแวกซ์ "COVAX" ในการกระจายวัคซีนให้ประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางทั่วโลก

วัคซีน โนวาแวกซ์ "Novavax" ความหวังสู้ โควิด-19 กลายพันธุ์

  • ชื่ออย่างเป็นทางการ คือ NVX-CoV2373
  • ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดย Novavax Inc. ของสหรัฐอเมริกา
  • ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ Protein - nanoparticle Vaccine เป็นการนำชิ้นส่วนโปรตีนของโคโรนาไวรัส ออกมาผสมเข้ากับอนุภาคนาโนของตัวกระตุ้นภูมิต้านทาน จากนั้นฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งจะมีความสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่า 3,000 titers โดยจะต้องห่างกัน 3 สัปดาห์
  • สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นปกติ อุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส ได้ 3 - 6 เดือน และมีอายุอยู่ได้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ในอุณหภูมิห้อง

 

 

ผลการทดลองประสิทธิภาพ โนวาแวกซ์ "Novavax"

  • ทดลองในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และ เม็กซิโก ประสิทธิภาพของวัคซีนสูงกว่า 90%

 

  1. ป้องกัน โควิด-19 สายพันธุ์ ดั้งเดิม ได้ 96.4%
  2. ป้องกัน โควิด-19 สายพันธุ์ อัลฟา ได้ 89.3% 
  3. ป้องกัน โควิด-19 สายพันธุ์ เบตา ได้ 55%

ขณะที่ป้องกันอาการป่วยรุนแรงได้ 100% โดยจะต้องฉีด 2 โดส ฉีดได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 18 - 84 ปี

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน โนวาแวกซ์ "Novavax"

  • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีน โควิด-19 ครั้งก่อน ๆ
  • ผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
  • ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง
  • ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์

อาการข้างเคียง

  • มีอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อย เช่น อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
  • ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยา
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ปวดศีรษะในบางราย
  • ปัจจุบันยังไม่มีรายงานถึงผลข้างเคียงที่รุนแรงเป็นอันตรายจากการรับวัคซีน

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ