ข่าว

"หมอธีระวัฒน์" เผยโควิด "สายพันธุ์แอฟริกา" จัดเป็นเจ้าพ่อ สายพันธุ์อังกฤษแค่อนุบาล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย เผยโควิด "สายพันธุ์แอฟริกา" จัดเป็นเจ้าพ่อเบอร์ 1

วันที่ 22 พ.ค.64 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย กล่าวถึงกรณีมีรายงานข่าวพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์แอฟริกาใต้ ในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ว่า เบื้องต้นได้ตรวจเจอเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่อยู่นอกสถานกักกันโรค จึงคาดว่ามีการติดเชื้อกันในประเทศไทยแล้ว ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลการระบาดของสายพันธุ์ดังกล่าว พบว่ายังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีประเทศอะไรบ้าง เนื่องจากบางประเทศอาจจะตรวจหาแล้วไม่เจอ แต่ในความเป็นจริงแล้วเชื้อมีอยู่

ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จากสายพันธุ์ที่ทั่วโลกมีการจับตาอยู่ 4 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์บราซิล สายพันธุ์อินเดีย 
และสายพันธุ์แอฟริกาใต้ พบว่าสายพันธุ์แอฟริกาใต้นั้น เป็นสายพันธุ์เจ้าพ่อเบอร์ 1 ส่วนสายพันธุ์อังกฤษที่ระบาดในไทยตอนนี้นับว่าเด็กอนุบาล
เพราะสายพันธุ์แอฟริกาใต้นั้นมีความสามารถในการแพร่กระจายโรคได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการรุนแรง และผลจากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าสายพันธุ์ดังกล่าวดื้อต่อวัคซีนแทบทุกชนิด อย่างไรก็ตาม วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และ วัคซีนซิโนแวค ในประเทศไทยขณะนี้ ขอให้รัฐบาลเร่งปูพรมฉีดในประชากรอย่างรวดเร็ว ใครพร้อมขอให้ฉีดได้เลย

จากการถอดรหัสพันธุกรรมระดับจีโนมพบว่าเป็นเชื้อสายตระกูล B.1351 ทางกลุ่มฯ ได้ส่งต่อข้อมูลทั้งหมดให้กับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขในระดับภูมิภาคและระดับชาติเพื่อสื่อสารกับประชาชนต่อไป

ทั้งนี้ ทางกลุ่มขอสื่อสารข้อมูลชุดนี้ให้ประชาคมวิทยาศาสตร์เพื่อร่วมกัน ติดตาม เฝ้าระวัง และพัฒนาวิธีป้องกันรักษาโรค

1.ตัวอย่างชุดนี้จัดเก็บโดยทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2564 ทางกลุ่มฯ ได้รับตัวอย่างเมื่อวันที่ 17 พ.ค.2564 และคัดเลือกมาสามตัวอย่าง เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมระดับจีโนม โดยตำแหน่งที่ถอดได้มีลำดับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมตรงกับสายตระกูล B.1.351 ตามระบบ PANGO

2.การถอดรหัสใช้วิธี MinION ของ Oxford Nanopore Techonlogies

3.Genomic Coverage ของสามตัวอย่างอยู่ที่ 85.01%, 90.11% และ 84.93% ตามลำดับ

4.โดยปกติทางกลุ่มจะนำเสนอข้อมูลให้กระทรวงสาธารณสุขและนำข้อมูลเข้ GISAI โดยตรง แต่เนื่องจากข้อมูลชุดนี้มีความสำคัญ ทางกลุ่มจึงนำมาแสดงต่อประชาคมวิทยาศาตร์ทันที

5.เชื้อสายตระกูล B.1.351 มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่คาดว่ามีผลกระทบต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์ต่อไวรัส และลดประสิทธิภาพการทำงานของวัคซีน แต่มิได้แปลว่าวัคซีนจะใช้ไม่ได้ เพียงแต่ต้องเพิ่มอัตราส่วนประชากรผู้ได้รับวัคซีนให้สูงขึ้นเพื่อเกิดการป้องกันระดับประชากร

อีกทั้ง  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า "เราเป็นที่รวมนานาชาติ สายกำเนิด อังกฤษ อินเดีย แอฟริกา 
รอแต่จะมีสายพันธุ์ไทยเอง รักษาตัวด้วยนะครับ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ