ข่าว

รำลึก 100 ปี การประถมศึกษาไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลักสูตร โครงสร้าง และการปฏิรูป ของการศึกษาไทย ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ก่อนครบวาระ 100 ปี การประถมศึกษาไทย

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ขึ้น เพื่อกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์ทุกคน ต้องเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 14 ปี บริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2464

 

กระทั่งในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ได้มีการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาขึ้น โรงเรียนประชาบาลกลับมาสังกัดคณะกรรมการการการประถมศึกษา และมีการจัดวันประถมศึกษาแห่งชาติ ขึ้น โดยกำหนดให้เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

จนกระทั้งมีการปฏิรูปการศึกษาในปี 2542 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหาร ยุบสำนักงานการประถมศึกษา เปลี่ยนเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต่อมาแยกเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตามลำดับ รวมใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 22 ปี นับจากวันที่มีการปฏิรูปการศึกษา ในปี 2542 แต่ถ้านับจากวันที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ขึ้นจนถึงวันนี้ อายุของการศึกษาในระดับประถมศึกษาจะครบ 200 ปี ในปีนี้ จึงมีคำถามว่า 100 ปี ที่ผ่านมาในระบบการศึกษาของไทยมีอะไรบ้างที่หายไป อะไรบ้างที่คงอยู่ ลองมาแยกแยะดูกันให้ชัดเจน

 

สิ่งที่หายไป เช่น 1.วันประถมศึกษา 2.ครูใหญ่ ,อาจารย์ใหญ่ ,ครู ,หน.ปอ. ,ผอ.ปจ. 3.สปอ. ,สปจ.,สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) 4.หลักสูตรการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับคนไทย (หลักสูตร 2521) 5.จำนวนนักเรียนลดลง (อัตราการเพิ่มของประชากรลดลง)

 

สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา 1.สำนักงานด้านบริหารการศึกษาที่เพิ่มขึ้นและผู้บริหารระดับสูงที่เพิ่มขึ้น เช่น สพฐ. สพป. สพม. ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการเขต ศึกษาธิการภาค (เป็นกระทรวงที่มีผู้บริหารระสูงมากที่สุด คงพอๆ กับ นายพลของกองทัพ) 2.ผู้อำนวยการ ,รองผู้อำนวยการ ต่างๆ มากมาย 3.อาจารย์ วิทยฐานะ ต่างๆ มากมาย (มีเงินเพิ่มพิเศษ ค่าตอบแทนวิทยฐานะ) 4.จำนวนโรงเรียนที่คงเดิม ไม่ยุบ ไม่รวม ใดๆ ทั้งสิ้น (เอาไว้รองรับตำแหน่ง ผอ.ร.ร.) 5.หลักสูตรทีมี จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ที่นักเรียนต้องเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1 (เยอะไปไหม) 6.โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสาทิต ห้องเรียนสาทิต และโครงการที่มีชื่อเรียกแปลกอีกมากมาย (ค่าเล่าเรียนเพิ่มขึ้นตามความแปลกของชื่อโครงการ)

จะมองเห็นว่า ที่ผ่านมาไม่ว่าจะนานเท่าไหร่ การศึกษาของไทย เปลี่ยนแปลงไปแค่ระดับของโครงสร้างการบริหารเท่านั้น ที่สามารถจับต้องได้และมองเห็นได้เด่นชัด แต่สำหรับผลการเรียนและผู้เรียนแล้วเปลี่ยนไปน้อยมาก ในยุคที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ( 7 ขวบ ) ต้องเรียนมากถึง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดเลขไม่เป็น ไม่รู้ว่าเราหลงทางหรือถูกหลอก ถึงเวลาต้องทบทวนกันใหม่แล้วหรือยังว่า การศึกษาไทย ควรเดินไปในทิศทางไหน ไม่ใช่แค่ปฏิรูปครึ่งท่อนกันอยู่แบบนี้

 

 

วิเคราะห์โดย ชัยวัฒน์ ปานนิล จ.เพชรบูรณ์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ