ข่าว

เปิดความหมายกลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 คือใครบ้าง อดได้เยียวยา "เราชนะ" แล้วเขาจะได้อะไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดความหมายกลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 คือใครบ้าง อดได้เยียวยาเราชนะแล้วเขาจะได้อะไร ภายหลังจากการที่กระทรวงการคลังเผยว่าเบื้องต้นกลุ่มที่จะไม่ได้รับการเยียวยา คือ 3 กลุ่ม และหนึ่งในนั้นเป็นคนกลุ่มดังกล่าว

ภายหลังจากการที่กระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยเกี่ยวกับโครงการ "เราชนะ" เยียวยาคนละ 3,500 บาทเป็นเวลา 2 เดือนรวม 7,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com ภายในสิ้นเดือนมกราคม หรืออย่างช้าต้นเดือนกุมภาพันธ์ ตามที่นำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม รมว.คลังฯ เผยว่าเบื้องต้นกลุ่มที่จะไม่ได้รับการเยียวยา คือ 3 กลุ่มได้แก่ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 , ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานของรัฐวิสาหกิจ และผู้ที่มีรายได้สูง

อ่านข่าว : เงื่อนไขเบื้องต้น "เราชนะ" เยียวยาระลอกใหม่แจก 3,500 บาท 2 เดือน ใครได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

 

อ่านข่าว : บุคคล 3 กลุ่มที่จะไม่ได้รับสิทธิเยียวยา 3,500 บาท 2 เดือนโครงการ "เราชนะ"

 

ทั้งนี้หลายคนคาใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับการไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาโครงการ "เราชนะ3,500 บาทเป็นเวลา 2 เดือน โดยเฉพาะกลุ่ม ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 

 

สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 คือ พนักงาน หรือ ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานกับนายจ้างอยู่ในสถานประกอบการ ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องมีการส่งเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 750 บาท  และเป็นผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปี 

 

โดยปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบที่อยู่ในกลุ่มกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 จำนวนกว่า 11 ล้านราย ซึ่งผู้ประกันตนในกลุ่มนี้จะได้รับความคุ้มครอง  7 กรณี ดังนี้

 

1.เจ็บป่วย

 

2.เสียชีวิต

 

3.ว่างงาน

 

4.คลอดบุตร

 

5.ทุพพลภาพ

 

6.ชราภาพ

 

7.สงเคราะห์บุตร

 

โดยผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสิทธิ์ประกันสังคมของตนเองได้ผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และเมื่อถามต่อที่ว่า สำหรับกลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 ถ้าหมดสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาเราชนะ 3,500 บาท 2 เดือนแล้วคนกลุ่มนี้จะได้รับการเยียวยาอะไรบ้าง คำตอบคือ 

 

1.ได้รับการลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 2564

 

2.กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน (จากเดิมได้ร้อยละ 50 ปีละไม่เกิน 180 วัน)

3.การว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน (เดิมอยู่ที่ร้อยละ 30 ไม่เกิน 90 วัน) และ

 

4.การว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (จากประกาศของทางราชการที่สั่งปิดพื้นที่ฯ หรือหยุดการปฏิบัติงานในโรงงานต่างๆ) จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วันและถ้าเป็นการหยุดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ก่อนหยุดการจ้างเป็นการชั่วคราว

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ