ข่าว

2 ขั้นตอนง่ายๆลดเวลาผ่านด่านคัดกรอง BKK COVID-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรุงเทพมหานครจัดทำระบบ BKK COVID-19 สำหรับด่านคัดกรองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบใหม่ ประชาชนสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นและใช้เวลาในการกรอกข้อมูลไม่นาน

13 ม.ค.64 นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรุงเทพมหานคร (ศบค.กทม.) เป็นประธานการประชุม ศบค.กทม. ครั้งที่ 9/2564 โดยมี คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะโฆษกกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนัก ผู้แทน บช.น. ผู้แทน กอ.รมน.กทม. ผู้แทนกลุ่มเขต และผู้แทนส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร 

ในที่ประชุมได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยวันนี้มีผู้ป่วยรายใหม่ 24 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 2,045 ราย (ระลอกใหม่ 512 ราย) นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และข้อสั่งการจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.)

โดยสำนักเทศกิจได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานประจำด่านคัดกรองผู้เดินทางเข้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้การปฏิบัติงานประจำด่านคัดกรองทั้ง 8 แห่ง เป็นไปตามขั้นตอนและรูปแบบเดียวกัน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

- เจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกหยุดรถเข้าด่านตรวจทุกคัน โดยมุ่งเน้นรถที่มีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก เช่น รถโดยสารประจำทาง รถตู้โดยสาร รถแท็กซี่ รถบรรทุก รถสาธารณะอื่นๆ รวมถึงรถยนต์ส่วนบุคคลที่อาจจะเข้าข่าย

- ขอความร่วมมือให้ประชาชนผู้ที่โดยสารลงจากรถ เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรอง โดยใช้ระบบ (QR-Code) Application ที่กำหนด เพื่อลดโอกาสการสัมผัสเชื้อระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้เข้ารับการคัดกรอง เจ้าหน้าที่เทศกิจ เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต กอรมน.กทม. อปพร.และอาสาสมัคร ช่วยเหลือสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความสะดวกการจราจร การจัดระเบียบการจอดรถที่เข้ามาภายในด่านตรวจ และบริเวณจุดจอดรถในระหว่างรอผู้โดยสารเข้ารับการตรวจคัดกรอง บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้กับประชาชน

- พร้อมแนะนำให้เตรียมบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าวหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้เพื่อแสดงยืนยันตน ตรวจวัดอุณหภูมิและสังเกตอาการ หากพบว่ามีกรณีอุณหภูมิสูงหรือมีอาการผิดปกติ ให้นำตัวไปที่โต๊ะสอบประวัติ

-แนะนำผู้เข้าคัดกรองบันทึกใน Application ที่กรุงเทพมหานครกำหนด ระบบ BKK COVID-19 สำหรับด่านคัดกรองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือเจ้าหน้าที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่โหลด Application แล้ว

- บันทึกข้อมูลของผู้ผ่านด่านลงใน Application และส่งคืนหลักฐานบัตรประจำตัว เจ้าหน้าที่และผู้คัดกรองล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อีกครั้ง แนะนำผู้เข้าคัดกรองให้โหลด Application “หมอชนะ” 

 

                      2 ขั้นตอนง่ายๆลดเวลาผ่านด่านคัดกรอง BKK COVID-19

 

 

-จากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตที่ได้รับมอบหมาย สอบสวนประวัติและบันทึกข้อมูลตามแบบหรือเอกสารที่กำหนด

กรณีเป็นผู้มีสัญชาติไทย (เข้าโต๊ะคัดกรองคนไทย) สอบถามข้อมูลการเดินทาง ประวัติ อาการไข้ หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ถ้าไม่มีไข้ หรือไม่มีการผิดปกติ ให้เจ้าหน้าที่ลงข้อมูลของผู้ผ่านด่านใน Application ที่กำหนด แล้วให้เดินทางต่อไป ถ้ามีไข้ หรือมีอาการผิดปกติ ให้สอบถามซักประวัติให้ทราบถึงภูมิลำเนาหรือที่พักอาศัย ถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แนะนำให้เข้ารับการตรวจรักษา ถ้าไม่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แนะนำให้ไปตรวจรักษา โดยให้เจ้าหน้าที่ลงข้อมูลของผู้ที่ผ่านด่านใน Application ที่กำหนด แล้วลงข้อมูลประวัติการมีไข้ในแบบฟอร์มซักประวัติ

สำหรับกรณีเป็นบุคคลต่างด้าว (เข้าโต๊ะคัดกรองต่างด้าว) ให้สอบถามข้อมูลการเดินทาง ประวัติ อาการไข้ หรืออาการผิดปกติอื่นๆ กรณีเป็นแรงงานต่างด้าวที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร ไปทำงานในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครให้ประสานนายจ้างมารับตัวกลับ หรือนำตัวส่งจุดตรวจจังหวัดสมุทรสาคร หรือประสานอำเภอ หรือจังหวัดสมุทรสาครมารับตัวกลับ กรณีเป็นแรงงานต่างด้าวที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร ไปส่งสินค้านอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ทำประวัติพร้อมแจ้งห้ามเดินทางออกนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีเป็นแรงงานต่างด้าวที่พักอาศัยในจังหวัดอื่น ห้ามเข้ากรุงเทพมหานครโดยเด็ดขาด กรณีเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายหรือไม่มีเอกสารแสดงตน ให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย ถ้าตรวจพบบุคคลมีไข้ หรือมีอาการผิดปกติทั้งคนสัญชาติไทย และคนต่างด้าว ให้ประสานศูนย์เอราวัณ 1646 เพื่อมารับตัวส่งต่อไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

สำหรับกรณีกิจการโยคะ ทางกทม.กล่าวว่า เป็นกิจการอยู่ในข่ายของฟิตเนส และสถานออกกำลังกาย ต้องปิดการให้บริการตามประกาศ กทม. (ฉบับทึ่ 15,16)แต่ประชาชนส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นธุรกิจส่วนตัวจึงอาศัยช่องโหว่ตรงนี้ในการที่จะเปิดต่อ ซึ่งการฝ่าฝืนมีความผิดตาม พรบ.โรคติดต่อ

ส่วนกรณีที่กรุงเทพมหานครจะมีมาตรการให้ห้างสรรพสินค้าปิดชั่วคราวหรือไม่ ทางกรุงเทพมหานครจะติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง รายวัน  หากสถานการณ์ดีขึ้นก็ไม่ต้องปิด แต่หากยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องอาจนำเข้า ที่ประชุม คกก.โรคติดต่อ กทม. เพื่อพิจารณามาตรการต่อไป

 

                         2 ขั้นตอนง่ายๆลดเวลาผ่านด่านคัดกรอง BKK COVID-19

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ