ข่าว

นักวิทย์ฯวอนภาครัฐเข้มงวด"รอดโควิด"แต่เสี่ยงเป็นมะเร็งเพราะแอลกอฮอล์เกรดต่ำ

นักวิทย์ฯวอนภาครัฐเข้มงวด"รอดโควิด"แต่เสี่ยงเป็นมะเร็งเพราะแอลกอฮอล์เกรดต่ำ

17 เม.ย. 2563

นักวิทย์ฯเตือนใช้เอทิลแอลกอฮอล์เกรดน้ำมันเบนซินทำเจลฆ่าเชื้อ หวั่นมีสารพิษปนเปื้อน เป็นอันตรายกับประชาชน วอนภาครัฐเข้มงวด รอดโควิด แต่เสี่ยงเป็นมะเร็งเพราะแอลกอฮอล์เกรดต่ำ

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด19 ในประเทศไทย พบตัวเลขการติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ควรวางใจ การป้องกันคนไทย ให้รอดจากไวรัสร้ายยังจำเป็น แต่ต้องระวังในบางเรื่อง

อ่านข่าว : สุดทน ท่าศาลาเกียร์ว่าง การ์ดไม่ตั้ง ปล่อย 32 เมียนมา เต็มไซต์ก่อสร้าง วัดไข้สูง 37.5 ถึง 6 คน

วันที่ 17 เมษายน 2563 - รศ.ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)  เปิดเผยว่า ทราบว่า ภาครัฐอนุญาตให้โรงงานผลิตเอทิลแอลกอฮอล์เกรดที่ใช้เติมในน้ำมันเบนชิน หรือเกรดพลังงาน เพื่อนำมาขายให้กับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการทำน้ำยาฆ่าเชื้อในยุค วิกฤตโควิค-19 นั้น

"ผมรู้สึกตกใจมาก และอยากให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้ากำกับดูแล คัดเลือกเอทิลแอลกอฮอล์ที่จะทะลักออกมาในตลาดจำนวน เพื่อใช้ในการทำเจลและสเปย์แอลกอฮอล์เกรดเครื่องสำอาง ที่จะต้องสัมผัสกับผิวหนังประชาชนคนไทย ผมเคยตรวจสอบเอทิลแอลกอฮอล์ของโรงกลั่นแอลกอฮอล์เกรดพลังงาน ที่มีหอกลั่นเพียง 1-2 หอ พบว่ามีสารปนเปื้อน ไม่บริสุทธิ์ อย่างมาก หากนำออกมาโดยไม่คัดกรองโรงงานหรือจำนวนหอกลั่น จะส่งผลร้ายต่อประชาชน มากกว่าการส่งเสริมให้ใช้ในการกำจัดเชื้อโรค"รศ.ดร. วีรชัย  กล่าว

 

นักวิทย์ฯวอนภาครัฐเข้มงวด\"รอดโควิด\"แต่เสี่ยงเป็นมะเร็งเพราะแอลกอฮอล์เกรดต่ำ อาจารย์อ๊อด

รศ.ดร. วีรชัย  กล่าวอีกว่า  เอทิลแอลกอฮอล์ตัวอย่างบางโรงงานนั้น มีกลิ่นแอลกอฮอล์น้อยมาก เมื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีปริมาณ เมทิลแอลกอฮอล์สูงกว่ากำหนด ซึ่งเจ้าตัวเมทิลแอลกอฮอล์เป็นสารที่เป็นพิษต่อมนุษย์ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซ้ำร้ายบางตัวอย่าง มียาฆ่าแมลงปนเปื้อนออกมาด้วย เพราะการกลั่นแอลกอฮอล์ มาจากการหมักวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น แป้งมันสำปะหลังและอ้อย ซึ่งมีการใช้ยาฆ่าแมลงมาก่อน

รศ.ดร. วีรชัย แนะนำว่า อยากให้ภาครัฐเข้ามาคัดเลือกควบคุมดูแลแบบเข้มงวด หากดูตัวอย่างโรงกลั่นแอลกอฮอล์ระดับเกรดอาหารนั้น หอกลั่นต้องอย่างน้อย 5 หอขึ้นไป เช่นขององค์การสุรา ที่มีถึง 7 หอกลั่น ซึ่งจะได้แอลกอฮอล์ที่สะอาดบริสุทธิ์ปลอดภัยสำหรับประชาชน ที่ต้องการใช้เจลและสเปย์แอลกอฮอล์จำนวนมาก

ทั้งนี้ การผลิตแอลกอฮอล์ระดับ Food Grade และ Pharmaceutical Grade ที่มีความบริสุทธิ์ 95% ขึ้นไป จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ตามมาตรฐานสากลในระดับอาหาร (Food Grade) ดังต่อไปนี้คือ

 

นักวิทย์ฯวอนภาครัฐเข้มงวด\"รอดโควิด\"แต่เสี่ยงเป็นมะเร็งเพราะแอลกอฮอล์เกรดต่ำ

1. ต้องได้รับการอนุญาตผลิตอาหาร (แบบ อ.2) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

2. ต้องได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (แบบ อ.18) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

นักวิทย์ฯวอนภาครัฐเข้มงวด\"รอดโควิด\"แต่เสี่ยงเป็นมะเร็งเพราะแอลกอฮอล์เกรดต่ำ

3. ต้องได้มาตรฐาน GMP Pharmaceutical Product Certification และ

4. ต้องได้มาตรฐาน HACCP Certification เป็นอย่างน้อย

5.นอกจากนั้น คุณภาพโรงผลิตควรได้รับมาตรฐานสากลอื่นเช่น ISO14000:2015 Certification, ISP9001:2015 Certification หรือ Kosher Certification เป็นต้น

6.รวมถึงควรได้รับการตรวจสอบการรับรองมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ใช้ในทางเภสัชกรรม จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.640) ด้วย

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ควบคู่ไปกับประสิทธิภาพในการใช้ทำน้ำยาฆ่าเชื้อช่วยประชาชนคนไทยในช่วง วิกฤตโควิค-19