ข่าว

ศบค.โต้ข่าว รพ.รัฐ-เอกชน ทำงานไปคนละทาง ยันร่วมมือกันดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 5 เมษายน 2563

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 5 เมษายน 2563 โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรครายงานผู้ติดเชื้อเพิ่ม 102 ราย ยอดสะสมรวม 2,169 ราย รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1,534 ราย หายกลับบ้านเบื้องต้น 674 ราย ผู้ป่วยวิกฤติ 22 ราย นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสมเป็น 23 รายแล้ว 

ขณะที่ประเด็น คำถามถึง แนวทางการ บริหารจัดการ การรักษาโรคโควิด-19 รพ.รัฐบาล กับ รพ.เอกชน ไปกันคนละทาง

โฆษก ศบค. กล่าวว่า ปัจจุบัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมผู้บริการกระทรวงสาธารณสุข ได้บอกว่าในการจัดการเรื่องนี้ว่า ปัจจุบันเราบูรณาการ ความร่วมมือด้านการแพทย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตียงที่พร้อมรองรับผู้ป่วย Covid-19 ในโรงพยาบาลทุกสังกัด รวม 1,622 เตียง และจากการสนับสนุนของภาคการท่องเที่ยวและกีฬา 510 เตียง

แบ่งเป็น

1.กระทรวงสาธารณสุข 10 แห่ง คิดเป็น 14%

2.คณะแพทย์ศาสตร์ 9 แห่ง คิดเป็น 17%

3.ภาคเอกชน 60 แห่ง คิดเป็น 31%

4.กรุงเทพมหานคร 8 แห่ง คิดเป็น 8%

5.กระทรวงกลาโหมและ สตช. 4 แห่ง คิดเป็น 6%

6.ภาคการท่องเที่ยวและกีฬา 3 แห่ง คิดเป็น 24 %

 

ซึ่งทาง ศบค. ก็ต้องขอขอบคุณ ภาคเอกชน ที่ได้ให้ความร่วมมือและพร้อมรับผู้ป่วยแรกรับในอัตราที่สูงมาก แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาจะสูงมาก หากต้องพักรักษาตัว ถ้าดูในพื้นที่ กรุงเทพฯและปริมณฑล จะพบว่า การคัดกรองก่อนเบื้องต้น หรือ PUI ปัจจุบัน รพ.เอกชน รับเยอะกว่า แต่พอ อาการหนักแล้ว ก็ส่งมาที่ รพ.รัฐ จะเยอะกว่า อันนี้ เห็นได้ชัดว่าเรามีการให้ความร่วมมือที่ดี ในการดูแลพี่น้องประชาชน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ