ข่าว

พนักงานการท่าฯยื่น 'ศักดิ์สยาม' สอบ กก.คัดเลือกร่วมลงทุน'แหลมฉบัง เฟส 3'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พนักงานการท่าฯยื่น 'ศักดิ์สยาม' สอบกรรมการคัดเลือกร่วมลงทุน 'ท่าเรือแหลมฉบัง' เฟส 3 และให้คัดเลือกใหม่ มีการเอื้อประโยชน์จากคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางคนทำให้รัฐเสียหาย


       วันที่ 26 มีนาคม 2563  นายพีระพล งามเลิศ พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตัวแทนกลุ่มพนักงานปกป้องผลประโยชน์ กทท.   นายเผด็จ ผนวกสุข  พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตัวแทนกลุ่มพนักงานปกป้องผลประโยชน์ กทท. ได้ยื่นหนังสือถึง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F 
      ขณะเดียวกันก็ได้ทำสำเนาหนังสือถึงประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ,ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ,ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ,เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ,อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

     โดยในหนังสือ ระบุว่า ข้าพเจ้านายพีระพล งามเลิศ ในฐานะตัวแทนกลุ่มพนักงานปกป้องผลประโยชน์การท่าเรือแห่งประเทศไทย (“ผู้ร้องเรียน”) รวมถึงพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย (“กทท.”) ซึ่งได้รับความเสียหายโดยตรงจากการดาเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F (“โครงการฯ”) ขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับจริยธรรมของพนักงานยื่นหนังสือต่อ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อร้องเรียนให้มีการตรวจสอบในกรณีคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการฯ (“คณะกรรมการคัดเลือกฯ”)ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาข้อเสนอผู้สนใจเข้าร่วมลงทุน ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของเอกสารคัดเลือกเอกชน (REQUEST FOR PROPOSAL) เนื่องจากมีพฤติการณ์เป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือปล่อยปะละเลยเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอราคาในโครงการฯ ซึ่งเหลือเพียงรายเดียว โดยไม่โปร่งใส ส่งผลทำให้ กทท. และ พนักงาน กทท. รวมทั้งประเทศชาติสูญเสียผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการฯอย่างมหาศาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    ความเป็นมา
      จากกรณีที่ กทท. ได้มีนโยบายให้ดาเนินโครงการฯ ภายใต้กรอบการร่วมทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนลงทุนออกแบบ ก่อสร้าง ให้บริการ และซ่อมบารุงรักษาโดยเอกชนรายเดียว โดยโครงการฯ นี้ ทาง กทท. ได้มอบหมายให้ ร้อยตำรวจตรีมนตรี ฤกษ์จาเนียร ปัจจุบันดารงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย สายวิศวกรรม เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการฯ นี้ตั้งแต่แรกเริ่ม ศึกษาดูงาน จัดทาเอกสารการคัดเลือกเอกชน อีกทั้งจ้างที่ปรึกษาสำหรับโครงการฯ เป็นเงินกว่า 340 ล้านบาท จนในที่สุดสรุปมูลค่าตามผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินของรัฐที่จะได้รับอยู่ที่32,225 ล้านบาท เสนอไปยังคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (“EEC”) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ต่อมาเสนอเข้าครม. และได้ผ่านเป็นมติครม. อนุมัติมูลค่าดังกล่าวออกมา ดังนั้น กทท. จึงเชิญชวนเอกชนผู้สนใจยื่นข้อเสนอโดยโครงการฯ นี้มีระยะเวลา 35 ปีแต่ในระหว่างที่มีการเชิญเอกชนเข้ามาประมูลนั้น ได้มีการเปลี่ยนตัวผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการฯ เป็นเรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ซึ่งผ่านการคัดเลือกผู้อานวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (อทร.) มารับช่วงต่อโดยตำแหน่ง
      ต่อมามีเอกชนสนใจเข้ามายื่นซองประมูล 2 ราย คือ กิจการร่วมค้า GPC และ กิจการร่วมค้า NPC โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ มีรายนามดังนี้
  1. เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อานวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (อทร.) ประธานกรรมการ
2. นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ ผู้แทนกระทรวงคมนาคม กรรมการ
3. นายเกรียงศักดิ์ ศักดิ์เรืองงาม ผู้แทนสานักงานเพื่อการพัฒนา กรรมการ
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
4. นส.วราภรณ์ ตงยิ่งศิริ ผู้แทนสานักงานอัยการสูงสุด กรรมการ
5. นายนิรันดร จอมทอง ผู้แทนสานักงบประมาณ กรรมการ
6. นางสุณี เอกสมทราเมษฐ์ ผู้แทนสานักบริหารหนี้สาธารณะ กรรมการ
7. นาวาเอกสุชาติ นาคมอญ ผู้แทนกองทัพเรือ กรรมการ
8. เรือโทยุทธนา โมกขาว ผู้แทนการท่าเรือแห่งประเทศไทย (อทลฉ.) กรรมการและเลขานุการ
ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ที่มี อทร. เป็นประธาน และ อทลฉ. เป็นเลขานุการ นั้น ได้ตัดสิทธิ์ในการร่วมประมูลของ กิจการร่วมค้าNPC เป็นผู้ไม่ผ่านการประเมินเอกสารข้อเสนอซองที่ 2 (ลงนามไม่ครบถ้วนในหนังสือสัญญา) ซองคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอโครงการฯ จึงเหลือกิจการร่วมค้า GPC ผ่านเพียงรายเดียว นำไปสู่การฟ้องร้องเป็นคดีความไปยังศาลปกครอง ยืดเยื้อมากว่า 1 ปีในที่สุดศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้ กทท. ชนะคดีในวันที่ 16 มีนาคม 2563 ทาง กทท. โดย อทร. ได้แถลงข่าว “เร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3” (เอกสารแนบ 1) โดยในการแถลงข่าวนั้น อทร. ยอมรับว่า กิจการร่วมค้า GPC ที่ผ่านเพียงรายเดียวนั้น เสนอราคาประมูลอยู่ที่ 12,051 ล้านบาท ซึ่งถือว่าทาการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐต่าเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัด เพราะ กทท. จัดทาโครงการนี้โดยจ้างที่ปรึกษามากว่า 340 ล้านบาท เพื่อสรุปตัวเลขในจุดคุ้มทุนที่ กทท. ควรจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งผ่านมติ ครม. อนุมัติมูลค่าโครงการฯ อยู่ที่ 32,225 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23มกราคม 2563 ได้มีการยื่นหนังสือถึงประธานกรรมการ กทท.ให้ตรวจสอบการคัดเลือกเอกชนโครงการฯ นี้แล้ว (เอกสารแนบ 2) แต่ยังมิได้มีการชี้แจงว่าการดาเนินการตรวจสอบแล้วแต่อย่างใด จากที่กล่าวมาเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยว่ามีการเอื้อประโยชน์จากคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางท่านซึ่งทำให้รัฐเสียหาย ดังประเด็นต่อไปนี้

 

    ประเด็นที่ 1 การเสนอราคาที่ต่ำกว่าปกติจนเห็นได้ชัด
     ในโครงการฯ นี้เหลือเอกชนยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว ประกอบกับเมื่อพิจารณาตาม มาตรา 40 พรบ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 บัญญัติว่า “การประกาศเชิญชวนครั้งใด ถ้ามีเอกชนยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีเอกชนยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ยื่นข้อเสนอถูกต้องตามรายการในเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนเพียงรายเดียวหากคณะกรรมการคัดเลือกเห็นว่ารัฐจะได้ประโยชน์ก็ให้ดาเนินการตามขั้นตอนที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้ต่อไป”
      เมื่อนำมาใช้เทียบเคียงกับการคัดเลือกเอกชนโครงการฯ นี้แล้วพบว่ารัฐไม่ได้ประโยชน์ เนื่องจากโครงการฯ นี้มีมูลค่า 32,225 ล้านบาท ตามที่มติ ครม. อนุมัติ แต่การเสนอราคาของกิจการร่วมค้า GPC ในซองที่ 4 ได้เสนอราคาผลตอบแทนแก่รัฐเพียง 12,051 ล้านบาท ต่าเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัด ต่ากว่าที่มติ ครม. อนุมัติมูลค่าไว้ถึง 20,174 ล้านบาท ไม่เป็นประโยชน์ต่อ กทท. อย่างแน่นอน ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางท่านโดยเฉพาะ อทร. ในฐานะประธาน กลับเพิกเฉยมิได้ทบทวนพิจารณาว่า กทท. เสียประโยชน์จากการเสนอราคาต่าเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัดเช่นนี้ อีกทั้งพยายามผลักดันเดินหน้าทาสัญญาให้เรียบร้อยภายในเดือนเมษายน 2563 โดยให้ดาเนินการเจรจาตามขั้นตอนโดยไม่คานึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ
   ประเด็นที่ 2 การไม่สอดคล้องกันของข้อเสนอซองที่ 3 และซองที่ 4
     จากรายงานการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ครั้งที่ 19/2562 วันที่ 11 กันยายน 2562 (“รายงานการประชุมฯ”)  มีเรื่องเพื่อพิจารณา เนื่องจากสมมติฐานทางการเงินของข้อเสนอซองที่ 3 และซองที่ 4 ของกิจการร่วมค้า GPC แตกต่างกัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคัดเลือกเอกชนในซองที่ 3 ที่ได้กาหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอ เสนอข้อมูลในทางเทคนิคและแผนการลงทุนในโครงการฯ ซึ่งมี 7 หมวดหมู่ จาเป็นต้องผ่านประเมินทุกหมวดหมู่ หากไม่ผ่านข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่าผิดเงื่อนไขที่กาหนดและไม่ผ่านการประเมิน ซึ่งในหมวดหมู่ที่ 7 ต้องเสนอแผนการระดมทุน แหล่งที่มาและต้นทุนทางการเงินตลอดจนค่าใช้จ่ายทั้งปวง ซึ่งรวมถึงค่าสัมปทานคงที่ตามมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ณ ปี พ.ศ.2562

       ในขั้นตอนนี้หากมีการตรวจสอบพิจารณาแล้วนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะทราบว่าแผนการลงทุนนั้นสอดคล้องกับข้อเสนอด้านผลประโยชน์ตอบแทนในซองที่ 4 หรือไม่ ปรากฏว่ากิจการร่วมค้า GPC ทาข้อมูลตัวเลขในข้อเสนอซองที่ 3 โดยเสนอค่าสัมปทานคงที่เป็นจานวนเท่ากับที่กาหนดไว้ในเอกสารการคัดเลือกเอกชน และได้กาหนดค่าสัมปทานผันแปรระบุที่ 200 บาท ทาให้ผ่านการประเมินในซองที่ 3 ด้วยตัวเลขผลตอบแทนในแผนการลงทุนที่สูงตามที่ กทท. ต้องการ แต่กลับยื่นข้อเสนอด้านการเงินในซองที่ 4 เพียง 12,051 ล้านบาท
        กล่าวคือ กิจการร่วมค้า GPC จัดทา Financial Model ในกรณี Best Case เสนอตัวเลขผลตอบแทนที่สูงในแผนการลงทุนเพื่อให้ผ่านการประเมินในซองที่ 3 แต่กลับเสนอราคาซองที่ 4 ในกรณี Worst Case ที่ต่ามากเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัด ซึ่งการเสนอราคาซองที่ 4 นั้นผิดเงื่อนไขที่กาหนดในขั้นตอนการพิจารณาในข้อ 39.4(4) ที่จะพิจารณาข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอที่สอดคล้องกับมติของ ครม. ก่อน (เอกสารแนบ 4) เพราะ การเสนอราคาของกิจการร่วมค้า GPC ต่าเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัดไม่สอดคล้องกับมติ ครม. ที่อนุมัติมูลค่าโครงการฯ ที่ 32,225 ล้านบาท มากถึง 20,174 ล้าน
      อีกนัยหนึ่งแสดงถึงความไม่มีศักยภาพและความพร้อมของกิจการร่วมค้า GPC ที่จะร่วมลงทุนกับหน่วยงานรัฐ เพราะทาแผนการลงทุนที่สูงเกินกว่าที่จะให้ค่าตอบแทนแก่รัฐได้ เป็นการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยว่าอาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 8 พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542
ประเด็นที่ 3พฤติการณ์เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอราคาส่งผลให้รัฐเสียหาย
โดยหลักทั่วไปแล้วการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ ต้องไม่ให้เกิดการผูกขาด ฮั้วประมูลหรือปิดกั้นไม่ให้เกิดการแข่งขันจนเหลือผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว แต่ในสถานการณ์ที่เหลือผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว การใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางท่านโดยเฉพาะ อทร. ในฐานะประธานนั้น มีพฤติการณ์เป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยว่าเอื้อประโยชน์ทาให้รัฐเสียหาย เพราะการทาหน้าที่ประธานของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต้องรักษาผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด แต่กลับมีพฤติการณ์ตรงกันข้าม เมื่อเห็นความไม่สอดคล้องของแผนการลงทุนในซองที่ 3 ที่ให้ผลตอบแทนตลอดระยะเวลาสัมปทาน 35 ปีที่สูงตามเอกสารคัดเลือกเอกชนกาหนด กับข้อเสนอราคาในซองที่ 4 ซึ่งเสนอราคาต่าเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัด ต่ากว่ามูลค่าที่มติ ครม. อนุมัติ ถือว่าการเสนอราคาของ กิจการร่วมค้า GPC ผิดเงื่อนไขที่กาหนดในขั้นตอนการพิจารณาข้อ 39.4(4)  อทร. ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ ทราบทุกอย่างดี กลับเพิกเฉยและพยายามดาเนินการต่อ โดยใช้ความน่าเชื่อถือในฐานะประธาน ชี้แจงให้ความเห็นชี้นาคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่ส่งผลต่อการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ท่านอื่น ปรากฏในรายงานการประชุมฯ ดังนี้
   “ประธานฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้ยังไม่ได้พิจารณาผู้ยื่นข้อเสนอ เพราะไม่มีข้อความกาหนดใน REP ที่ห้ามเสนอต่ากว่า 32,225 ล้านบาท ระเบียบของ EEC หมวดที่ 4 ข้อ 17 วิธีการคัดเลือกเอกชน “ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือหลายราย แต่มีการเสนอถูกต้องรายการตามประกาศนี้ หรือผ่านการประเมินข้อเสนอการดาเนินโครงการเพียงรายเดียว คณะกรรมการคัดเลือกฯ สามารถเสนอให้ผู้ยื่นข้อเสนอรายดังกล่าวเป็นผู้ผ่านการประเมินข้อเสนอ” ซึ่งผู้ยื่นข้อเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอในซองที่ 3 แม้ว่าในซองที่ 4 เสนอต่ากว่าผลประโยชน์ที่รัฐควรได้ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ ตามความเห็นของประธานฯ เห็นว่าการดาเนินการในซองที่ 4 นั้นยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากยังมีข้อ 18 ตามประกาศ EEC (ฉบับแก้ไขใหม่) ได้กาหนดวิธีการดาเนินการเอาไว้เป็นการเฉพาะ”
    “ประธานฯ เสนอความเห็นต่อที่ประชุมว่า เอกสารซองที่ 4 จะตรงกับวรรคที่สองที่ได้แก้ไขในข้อ 18 คือ ผู้ยื่นข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนของภาครัฐไม่ตรงตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีหน้าที่ที่จะต้องเจรจาสอบถามว่าเหตุใดการเสนอซองที่ 4 ของผู้ยื่นข้อเสนอจึงต่ากว่าตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขตามประกาศของคณะนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข กระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน 2560 จึงนาเรียนคณะกรรมการคัดเลือกฯ เพื่อทราบว่า ในวันน้าได้เชิญผู้ยื่นข้อเสนอกลุ่มกิจการร่วมค้า จีพีซี เข้ามาสอบถามเรื่องเกี่ยวกับการคิดด้านการเงินในซองที่ 3 และซองที่ 4 การเชิญเอกชนเข้าชี้แจงในวันนี้ ไม่ใช่การเจรจาตามข้อ 18 แต่เรียกมาเพื่อทาการชี้แจงว่าเหตุใดผู้ยื่นข้อเสนอจึงมีการคานวณผลประโยชน์ตอบแทนของภาครัฐออกมาต่ากว่าที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ หรือที่ผู้ยื่นข้อเสนอได้ทา Financial Model ไว้ในซองที่ 3 และซองที่ 4 อย่างไร ขอเรียนให้คณะกรรมการคัดเลือกทราบว่ากระบวนการยังไม่สิ้นสุด ต่อไปเราจะต้องเจรจาตามกระบวนการตามที่กาหนดในระเบียบ EEC ข้อ 18”
      การแจ้งและเสนอความเห็นต่อที่ประชุมของ อทร. นั้น มีลักษณะชี้นาให้มองข้ามใจความสำคัญของการพิจารณาตามระเบียบ EEC ในข้อ 17 โดยมุ่งเน้นถึงการดาเนินการให้เกิดการเจรจาตามข้อ 18 หากพิจารณาการตั้งข้อสังเกตของ นายเกรียงศักดิ์ฯ ผู้แทนสานักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (“สกพอ.”) ว่า “ความในช่วงท้ายระเบียบ EEC ในข้อ 17 หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อโครงการฯ หรือการคัดเลือกเอกชน ก็ให้พิจารณาต่อไป แต่หากเห็นว่าการเปิดประมูลใหม่จะเป็นประโยชน์มากกว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ยังพิจารณาอยู่ในข้อ 17 ยังไม่ต้องข้ามไปข้อ 18” โดยในรายงานการประชุมฯ อทร. พยายามให้ความเห็นชี้นาให้เกิดการเจรจาตามข้อ 18 ตั้งแต่ต้นจนจบการประชุม มิได้มองถึงประเด็นที่ 1 และ 2 ที่กล่าวมาข้างต้น ว่ามีการทำผิดเงื่อนไขที่กาหนดในขั้นตอนการพิจารณาข้อ 39.4(4) เพราะปกติโดยสุจริตแล้วไม่มีใครที่อยากได้งานแต่ประมูลงานต่ากว่าราคาที่กำหนดไว้เกินครึ่งพฤติการณ์ของ อทร. ในฐานะประธานที่พยายามชี้นามุ่งเน้นให้ดาเนินการเจรจาทั้งที่ทราบดีว่ามีความไม่สอดคล้องระหว่างแผนการลงทุนในซองที่ 3 และข้อเสนอราคาในซองที่ 4 แทนที่จะยกเลิกการประมูลเมื่อพบว่ามีการผิดเงื่อนไข แล้วทาการประมูลใหม่เพื่อให้เกิดการแข่งขันให้ได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด กลับดาเนินการให้มีเจรจาเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยว่าเอื้อประโยชน์ เสมือนเป็นการกีดกันไม่ให้มีการแข่งขันด้านราคาทาให้รัฐเสียประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอาจเข้าข่ายความผิดมาตรา 10 และ 12 พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542

     ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ร้องเรียนในฐานะตัวแทนกลุ่มพนักงานปกป้องผลประโยชน์ กทท. ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับจริยธรรมของพนักงาน ใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดังนี้
     - ตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ทบทวนโดยการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนในโครงการฯ นี้และดำเนินการคัดเลือกใหม่อีกครั้ง เนื่องจากกรณีที่กิจการร่วมค้า GPC เสนอราคาต่าเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัด และต่ากว่าที่มติ ครม. อนุมัติมูลค่าโครงการฯ ไว้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ผิดเงื่อนไขที่กาหนดในขั้นตอนการพิจารณาในข้อ 39.4(4) อย่างชัดเจน อีกทั้งสมมติฐานทางการเงินของกิจการร่วมค้า GPC ในข้อเสนอแผนการลงทุนซองที่ 3 ไม่สอดคล้องกับข้อเสนอทางการเงินซองที่ 4 แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อันทาให้รัฐเสียประโยชน์
    - สอบสวนข้อเท็จจริง กรณีที่ อทร. ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ มีพฤติการณ์อันเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยว่าเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เสมือนเป็นการกีดกันไม่ให้มีการแข่งขันด้านราคาทาให้รัฐเสียประโยชน์
    - ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการคัดเลือกฯ

     ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาลและรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ไม่ให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากผลตอบแทนของการประมูลในครั้งนี้มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท หากตรวจสอบพบว่ามีการกระทาผิดขอให้ดาเนินการตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องจนถึงที่สุด หากท่านรับทราบข้อเท็จจริงเมื่อพบว่ามีการกระทาผิดและไม่มีการยับยั้ง การดาเนินการคัดเลือกโครงการฯ นี้ อาจเข้าข่ายการเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ