ข่าว

ราชกิจจาฯ ประกาศ SARS-CoV-2 เชื้อโรคควบคุม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563

 

              พ.ร.บ.โรคติดต่อ ให้ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 หลังประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยหากพบผู้ป่วยและผู้สงสัยว่าติดเชื้อ โควิด-19 ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคภายใน 3 ชั่วโมง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท เจ้าบ้านเจ้าของ สถานประกอบการ และสถานพยาบาล หากมีผู้ป่วยผู้ต้องสงสัยควรรีบแจ้งเพื่อป้องกันและควบคุมโรค

อ่านข่าว - ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว "โควิด-19" เป็นโรคติดต่ออันตรายมีผล 1 มี.ค.

 

 

 

              ทั้งนี้ วันเดียวกัน (29 กุมภาพันธ์) เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563

              เนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้รายงานการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus that was discovered in 2019) และมีการพบผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัสดังกล่าวในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย ประกอบกับองค์การอนามัยโลกได้ประกาศการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) เพื่อให้รัฐบาลทั่วโลกเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมเชื้อไวรัสดังกล่าว จึงสมควรกำหนดให้เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นเชื้อโรคที่ต้องควบคุมตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558

 

 

 

              อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 6 (1) และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการเชื้อโรคและพิษจากสัตว์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

              ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในรหัสเชื้อโรค V2-0026 ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

 

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ SARS-CoV-2 เชื้อโรคควบคุม

 

 

 

              ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นรหัสเชื้อโรค V-3-0135 ต่อจากรหัสเชื้อโรค V-2-0134 ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 พ.ศ. 2561

 

 

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ SARS-CoV-2 เชื้อโรคควบคุม

 

 

 

              ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในเงื่อนไขท้ายรายการเชื้อไวรัสตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

              “เงื่อนไข

                            3* หมายถึง เชื้อไวรัส กลุ่มที่ 3 ที่มีเงื่อนไขของการปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้

                                          1. กรณีตรวจวินิจฉัยโรคที่ไม่มีการเพาะเชื้อให้ดำเนินการในสถานปฏิบัติการระดับ 2 โดยปฏิบัติตามหลักการ Good Microbiological Practice อย่างเคร่งครัด

 

 

 

                                          2. กรณีตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีทางชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) ให้ดำเนินการได้ในสถานปฏิบัติการระดับ 2 เสริมสมรรถนะ (biosafety level 2 enhanced: BSL-2 enhanced) ตามที่กำหนดในประกาศที่ออกตามมาตรา 6 (4) ยกเว้น Human immunodeficiency virus Human T-lymphotropic virus และ Rabies virus ให้ดำเนินการได้ตามข้อ 1

                                          3. กรณีที่มีการเพาะเชื้อให้ดำเนินการในสถานปฏิบัติการระดับ 3 ยกเว้น Human immunodeficiency virus และ Rabies virus ให้ดำเนินการได้ในสถานปฏิบัติการระดับ 2 เสริมสมรรถนะ (biosafety level 2 enhanced: BSL-2 enhanced) ตามที่กำหนดในประกาศที่ออกตามมาตรา 6 (4) ทั้งนี้ กรณีที่มีการเพาะเชื้อมากกว่า 30 มิลลิลิตรต่อครั้งให้ดำเนินการในสถานปฏิบัติการระดับ 3”

 

 

 

              ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

              ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

              อนุทิน ชาญวีรกูล

              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

 

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ SARS-CoV-2 เชื้อโรคควบคุม

 

 

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ SARS-CoV-2 เชื้อโรคควบคุม

 

 

 

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0002.PDF

 

 

 

              ล่าสุด วันที่ 3 มีนาคม 2563 นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ SARS-CoV-2 เป็นเชื้อใหม่ ดังนั้น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ลงนามในประกาศตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ 2558 โดยประกาศนี้ มีเจตนารมณ์ควบคุมตัวเชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ เพื่อนำไปวิจัยและพัฒนา ไม่ใช่การควบคุมเชื้อโรคที่อยู่ในตัวคน ซึ่งอยู่ในพระราชบัญญัติโรคติดต่ออันตราย โดยนัยส่วนใหญ่ก็คือการควบคุมในห้องปฏิบัติการ ครอบครอง ผลิตและจำหน่ายจะต้องขออนุญาตจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

              ส่วนการเรียกชื่อไวรัสสาเหตุของ โควิด-19 ว่า SARS-CoV-2 เนื่องจากเป็นเชื้อในตระกูลเดียวกันและมีความใกล้เคียงกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ ซาร์ส ความแตกต่างก็คือความรุนแรงน้อยกว่าซาร์ส แต่การติดต่อระบาดง่ายกว่า

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ