ข่าว

ติดเครื่องฟอกอากาศบนรถเมล์เป็นเรื่องลวงโลกเหมือน GT200

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ชี้ การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบนหลังคารถเมล์ "เป็นเรื่องลวงโลกแบบเดียวกับเครื่อง GT200"

อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบนหลังคารถเมล์ ระบุ "เป็นเรื่องลวงโลกแบบเดียวกับเครื่อง GT200"

 

สำหรับทาง ขสมก. ได้มีการได้ติดเครื่องฟอกอากาศบนหลังคารถเมล์ที่มีความสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ซึ่งมีไส้กรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 หากรถวิ่งด้วยความเร็ว 20 กม./ชม. เชื่อว่าจะสามารถกรองอากาศได้ประมาณ 20,000 ลูกบาตรเมตรต่อชั่วโมง

 

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ได้ให้ความเห็นว่า "ติดกล่องกรองอากาศบนหลังคารถเมล์มันก็เรื่องลวงโลกแบบเดียวกับเครื่อง GT200 แหละ... หวังว่านี่ก็ปี 2020 แล้ว ประชาชนคงไม่โดนหลอกกันง่ายๆ อีกนะ"

 

 

นอกจากนี้ อ.มติพล ตั้งมติธรรม จากสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการนำภาพอินโฟกราฟฟิคที่จะแสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนของปริมาตรอากาศที่สามารถกรองได้โดยการติดตั้งเครื่องกรองอากาศบนรถเมล์จำนวน 500 คัน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ปรากฏว่า อากาศที่กรองได้โดยเครื่องกรองอากาศบนรถเมล์นั้น จะกรองได้แค่จุดพิกเซลเดียว ซึ่งแทบจะมองไม่เห็น

 

 

 

ติดเครื่องฟอกอากาศบนรถเมล์เป็นเรื่องลวงโลกเหมือน GT200

 

 

 

โดย อ.มติพล ระบุว่า การติดตั้งเครื่องกรองเอาไว้นั้นจะเท่ากับเป็นการเพิ่มแรงต้านอากาศของรถเมล์ และแรงต้านที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็จะส่งผลอยู่ในรูปของการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่มากขึ้น นอกจากแรงต้านอากาศนี้จะส่งผลในรูปของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้รถเมล์ปล่อยควันพิษเพิ่มขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าไอเสียที่รถเมล์ปล่อยออกมานั้นสะอาดแค่ไหน บางทีอากาศที่กรองได้อาจจะไม่ได้เยอะไปกว่า PM2.5 ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียในการผลักดันเครื่องกรองผ่านอากาศกรุงเทพฯ

 

 

 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant , มติพล ตั้งมติธรรม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ