ข่าว

พร้อมกันหรือยังกับยาแรงแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ในระยะ 1 - 2 ปีที่ผ่านมา คนไทยโดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มคุ้นเคยกับ PM 2.5 หรือฝุ่นพิษเกินค่ามาตรฐานที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก

 

              รัฐบาลกำหนดมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 โดยให้ความสำคัญเป็นวาระแห่งชาติ ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ถึงขั้นใช้ยาแรงเหมือนต่างประเทศ อาทิ

 

 

 

              - ควบคุมแหล่งกำเนิด PM 2.5 ที่เกิดจากภาคขนส่งทางถนนมีการปล่อยมลพิษมากถึง 72.5% ภาคอุตสาหกรรม 18% การเผาในที่โล่ง 5% ครัวเรือน 2% ภาคขนส่งนอกเหนือจากถนน และอื่นๆ 2.5% ในส่วนของรถยนต์มาจากเครื่องดีเซล 50 - 60 เปอร์เซ็นต์

              - นำร่องส่วนข้าราชการงดใช้รถยนต์ส่วนตัว ขณะนี้กรมควบมลพิษทำแล้ว โดยให้พนักงานในสังกัดงดใช้รถยนต์ทุกวันพุธ ตั้งแต่ 18 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา

              - รณรงค์ให้ประชาชนใช้รถยนต์สาธารณะแทนการขับรถยนต์ส่วนตัว แต่ยังได้ผลน้อย เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความร่วมมือ 

              - ตำรวจและกรมการขนส่ง ออกตรวจจับรถยนต์ รถสาธารณะที่ปล่อยควันดำ

              - คุมเข้มฝุ่นจากการก่อสร้างตึกสูง รวมถึงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ที่มีอยู่รอบ กทม.

 

 

 

              - ล้างถนน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้ที่สามารถกรองฝุ่นได้

              - ส่งเสริมใช้รถยนต์ไฟฟ้า (ELECTRIC VEHICLE)

              - ส่งเสริมใช้ไบโอดีเซล ดัน B10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐาน

              - ห้ามเผาป่าโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตร อาทิ ไร่อ้อย มีโทษจำคุก 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท แต่ปัจจุบันยังมีการลักลอบเผาอย่างต่อเนื่อง

              ล่าสุด นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประชุมร่วมคณะกรรมการควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะมีมาตรการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ออกมา ดังนี้

              - สตช. เตรียมออกกฎห้าม 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกในวันคี่โดยเด็ดขาด ตั้งแต่เวลา 10.00 - 15.00 น. ยกเว้นรถบรรทุกอาหารสดเท่านั้น (ใช้แค่ 2 เดือน)

 

 

 

              - กรมการขนส่งทางบก ตรวจเข้มรถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถบัสที่ขนส่งพนักงานตามบริษัทที่มีกว่า 6 หมื่นกว่าคัน ที่อาจเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มปริมาณฝุ่นละออง ถ้าควันดำสั่งหยุดวิ่งทันที

              - กรอ. ได้ขอความร่วมมือกับโรงงานลดกำลังการผลิต 50% ในช่วงเวลาวิกฤตฝุ่นพิษ

              - ห้ามเผาในที่โล่งในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล โดย กทม. จะเข้มงวดตรวจสอบไม่ไห้มีการเผาโดยเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดก็จะมีการกำชับห้ามเผาในที่โล่งอย่างจริงจังเช่นเดียวกัน

              - กทม. ทั้ง 50 เขต จะตรวจเข้มบริเวณก่อสร้างที่ปล่อยฝุ่นพิษอย่างจริงจัง หากฝ่าฝืนสามารถระงับการก่อสร้างได้ทันที จากเดิมที่ขอความร่วมมือและแค่ตักเตือน

 

 

 

รัฐบาลเตรียมใช้ยาแรง ... จัดการฝุ่นพิษ

              นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) บอกว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จำนวน 72 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่ กทม. มาจากยานพาหนะ ซึ่งเป็นรถบรรทุกกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ อีก 20 เปอร์เซ็นต์ มาจากรถกระบะ ภาคอุตสาหกรรม 18 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือมาจากรถยนต์ประเภทอื่นๆ พร้อมตั้งคำถามมายังสังคมว่าหากรัฐบาลออกมาตรการเข้มงวด ... จะรับกันได้หรือไม่

 

เอาไหม ?? ยาแรงแก้ปัญหาฝุ่นพิษแบบต่างประเทศ

              ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นทั่วโลก แต่การจัดการแก้ปัญหาในต่างประเทศมีมาตรการที่เข้มข้นมากกว่าของไทย ยกตัวอย่าง เช่น

              1. จีน แก้ปัญหาระยะสั้นเรื่องฝุ่นพิษ (ระยะสั้น) สั่งห้ามปิ้งย่างบาร์บีคิว ในพื้นที่วิกฤต

 

 

 

              2. เกาหลีใต้ ส่งข้อความแจ้งเตือนปริมาณฝุ่น ติดกล้องโดรนบินตรวจ ที่ไหนแอบปล่อยมลพิษลงโทษหนักทันที ห้ามรถที่จดทะเบียนก่อน 2005 เข้ากรุงโซล ปิดที่จอดรถราชการ 400 แห่ง

              3. อินเดีย เพิ่มอัตราค่าจอดรถในพื้นที่สาธารณะให้สูงขึ้น ห้ามใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ เพิ่มสายรถประจำทาง และขบวนตู้รถไฟฟ้าใต้ดิน

              4. ญี่ปุ่น คุมรถดีเซลที่เข้าเมืองใหญ่ และปรับหนักกับรถปล่อยควันดำ

              5. อังกฤษ ลดการใช้เชื้อเพลิงทั้งไม้และถ่านหินทั้งกลางแจ้งและครัวเรือนทันที ปิดโรงงาน สั่งจับชาวไร่ชาวนาเผาที่โล่งแจ้ง

              6. สเปน จำกัดการใช้รถยนต์ กระตุ้นปั่นจักรยานแทน

              7. ฝรั่งเศส ห้ามใช้รถเก่าเครื่องดีเซลเข้าใจกลางเมืองเด็ดขาด

 

 

 

พร้อมกันหรือยังกับยาแรงแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5

 

 

 

              8. สวีเดนเก็บค่าธรรมเนียมรถที่ขับเข้าไปในพื้นที่การจราจรหนาแน่น ทำให้คนไม่อยากใช้รถ

              9. เนเธอร์แลนด์ ผู้อยู่อาศัยที่ไม่ใช้รถยนต์จะได้รับอัตราค่าเช่าบ้านถูกกว่าคนที่มีรถ เป็นการสร้างแรงจูงใจเชิงนโยบาย

              10. เดนมาร์ก เลิกใช้รถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ส่งเสริมการใช้รถจักรยานมากกว่ารถยนต์

              11. บราซิล ส่งเสริมการใช้ระบบโดยสารขนาดใหญ่ในราคาถูก

อ่านข่าว - ชวนประชาชนแจ้งเบาะแส รถควันดำก่อฝุ่นพิษ

 

 

 

--------------------

ที่มา : พรรคพลังประชารัฐ

 

 

 

 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ