ข่าว

ก.แรงงาน เร่งผลิตแรงงานป้อนอุตสาหกรรมการผลิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ก.แรงงาน ติวเทคโนโลยีชั้นสูง หวังผลิตคนคุณภาพดันอุตสาหกรรมการผลิตเข้มแข็ง สพร. 9 พิษณุโลก รับนโยบาย อบรมนักศึกษาปี 4

 


            นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกระบุว่า อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ในประเทศไทยมีแนวโน้มจะมีการใช้วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในสายการผลิตมากขึ้น

 

 

          เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อุตสาหกรรมเหล่านี้จึงมีความต้องการกำลังแรงงานที่มีทักษะฝีมือเป็นจำนวนมาก ซึ่งม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดนโยบายปฏิรูปกำลังแรงงาน (Workforce transformation) ให้มีศักยภาพรองรับนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง (High Technology) เป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนกำลังคนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มอบหมายให้กพร. ดำเนินการผลิตกำลังแรงงานป้อนสู่อุตสาหกรรมการผลิตและตลาดแรงงานทั่วประเทศ

 

ก.แรงงาน เร่งผลิตแรงงานป้อนอุตสาหกรรมการผลิต

 

        นายธวัช กล่าวต่อไปว่า ในปัจจุบันสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกพร. ได้เร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น การเขียนแบบก่อสร้าง 3 มิติ ด้วยโปรแกรม SketchUp การใช้เครื่องมือวัดละเอียดทางมิติ การประยุกต์ใช้งาน PLC และหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

 

 

ก.แรงงาน เร่งผลิตแรงงานป้อนอุตสาหกรรมการผลิต

        การประยุกต์ใช้งานเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ในระบบเทคโนโลยีไฟฟ้าภายในอาคาร การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวในงานแอปพลิเคชั่น ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เน้นกลุ่มเป้าหมายช่างฝีมือ พนักงานในสถานประกอบกิจการ นักศึกษาระดับปวช. ปวส. วิศวกร หัวหน้างาน ช่างเทคนิค

 

 

 

ก.แรงงาน เร่งผลิตแรงงานป้อนอุตสาหกรรมการผลิต

นายธวัช เบญจาทิกุล

 

        “ล่าสุดสพร. 9 พิษณุโลก ดำเนินการเปิดฝึกอบรม หลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงาน สาขาเทคโนโลยีการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ (Robot Welding Technology) ระยะเวลา 30 ชั่วโมง ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 38 คน" อธิบดี กพร.กล่าว

 

 

ก.แรงงาน เร่งผลิตแรงงานป้อนอุตสาหกรรมการผลิต

 

       อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติภายใต้หัวข้อ ความปลอดภัยในงานเชื่อมโลหะ ส่วนประกอบและระบบการทำงานของหุ่นยนต์เชื่อม การเคลื่อนที่และระบบพิกัดของหุ่นยนต์เชื่อม การใช้งานแป้นการสอน การใช้โปรแกรม Simulation Training K-ROSET การเขียนโปรแกรมและการแก้ไขโปรแกรมหุ่นยนต์เชื่อม

 

        "ทั้งนี้ นักศึกษาที่ผ่านการฝึกอบรมจะมีทักษะติดตัวสามารถปฏิบัติงานได้จริง ดังนั้นสถานประกอบกิจการรับนักศึกษากลุ่มนี้เข้าทำงานจะได้พนักงานที่มีความสามารถในการปฏิบัติงาน ช่วยยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมการผลิตมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” อธิบดีกพร. กล่าวในที่สุด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ