ข่าว

แบบทดสอบเช็กภาวะซึมเศร้ารู้ผลพร้อมข้อแนะนำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตอบ 9 คำถาม 3 เกณฑ์ให้คะแนน แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมแนะนำในการดูแล

 

               แบบทดสอบ ภาวะซึมเศร้า PHQ-9 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล med.mahidol.ac.th ตอบ 9 คำถาม 3 เกณฑ์ให้คะแนน: ไม่เลย = 0 , มีบางวันหรือไม่บ่อย = 1 , มีค่อนข้างบ่อย = 2 , มีเกือบทุกวัน = 3 ส่งคำตอบ รู้ผลทันที พร้อมข้อแนะนำในการดูแล

 

 

 

               ทั้งนี้ แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 มีคำถามทั้งหมด 9 ข้อ ในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ท่านมีอาการดังต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน ?

               1.  เบื่อ ทำอะไรๆ ก็ไม่เพลิดเพลิน

               2.  ไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือท้อแท้

               3.  หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากไป

               4.  เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง

               5.  เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป

               6.  รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือเป็นคนทำให้ตัวเอง หรือครอบครัวผิดหวัง

               7.  สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ

               8.  พูดหรือทำอะไรช้าจนคนอื่นมองเห็น หรือกระสับกระส่ายจนท่านอยู่ไม่นิ่งเหมือนเคย

               9.  คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายๆ ไปเสียคงจะดี

 

 

 

แบบทดสอบเช็กภาวะซึมเศร้ารู้ผลพร้อมข้อแนะนำ

 

 

 

ทำ แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 คลิก

 

 

 

แบบทดสอบเช็กภาวะซึมเศร้ารู้ผลพร้อมข้อแนะนำ

 

 

 

หมายเหตุ

               แบบประเมินนี้พัฒนาจาก แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (Patient Health Questionnaire: PHQ-9) ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล และคณะ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี การประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น ส่วนการวินิจฉัยนั้นจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่นๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นจากสาเหตุต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคทางจิตเวชอื่นที่มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย โรคทางร่างกาย เช่น โรคไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเป็นจากยาหรือสารต่างๆ

               ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจากโปรแกรมนี้จึงไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการปรึกษากันระหว่างแพทย์และตัวท่าน

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ