ข่าว

เรื่องเล่า "ลุ่มเลสาบสงขลา" ครัวใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หรอยจังฮู้ : ลุ่มเลสาบสงขลา ครัวขนาดใหญ่ของคนภาคใต้ตอนล่าง

 

         เงินทองของมายา ข้าวปลาคือของจริง วลีนี้หากไปยืนรำพึงรำพันอยู่ริมน้ำลุ่มทะเลสาบสงขลา จะสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนมาก  ด้วยความอุดมสมบูรณ์ ของสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำจืดหลากหลายสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ แม้ปลาพื้นถิ่นบางชนิดจะสูญหายไป เนื่องจากธรรมชาติที่ผันแปร โดยเฉพาะเกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ แต่ทะเลสาบสงขลาก็ยังคงเป็นครัวขนาดใหญ่ให้คนในพื้นที่รอบๆทั้งสงขลา พัทลุง นครศรีฯ  ได้มีอาหารประเภทโปรตีนกินกันตลอดทั้งปี

เรื่องเล่า "ลุ่มเลสาบสงขลา" ครัวใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง      

        สะพานปากรอ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ที่นี่คือส่วนแคบที่สุดของทะเลสาบสงขลาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบตอนล่างกับตอนกลาง เป็นจุดประสานระหว่างน้ำเค็มกับน้ำจืดให้เป็นน้ำกร่อย คือความลงตัวของสภาพแวดดล้อม อุดมไปด้วยแหล่งอาหารเหมาะสำหรับการขยายพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ทุกๆวันในยามสายจะมีชาวประมงพื้นบ้านนำสัตว์น้ำที่จับได้ด้วยเครื่องมือดั้งเดิม มาส่งขายให้บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดสดเล็กๆ บริเวณหัวสะพานปากรอแห่งนี้ มีทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา ตัวเป็นๆสดๆ เมื่อเทลงบนพื้นหรือภาชนะบางตัวยังคนดีดตัวกะกาย ต้องวิ่งไล่ตะครุบกันจนเป็นภาพปกติชินตาของคนที่นี่ 

                  เรื่องเล่า "ลุ่มเลสาบสงขลา" ครัวใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง

         ปลาบางชนิดเช่นปลาท่องเที่ยว แม่ค้าจะนำไปแปรรูปเป็นปลาแห้งบรรจุใส่ถุงขาย ส่วนกุ้งตัวเล็กๆจะทำเป็นกุ้งส้ม นับเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนรอบๆลุ่มทะเลสาบ ส่วนปลาที่มีขนาดโตขึ้นมาหน่อยเช่นปลาขี้ตัง ปลามิหลังหรือปลาดุกทะเล จะแยกไซด์อีกที ตัวโตจะขายแพงหน่อย เช่นปลามิหลัง ตัวเท่าแขนมีใข่เต็มพุงจะขาย กก.ละ 170 บาทเป็นต้น เมื่อเลือกซื้อตกลงราคากันเป็นที่เรียบร้อย แม่ค้าจะทำการแล่และหั่นให้เสร็จสรรพ พร้อมที่จะลงหม้อปรุงได้ทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน

เรื่องเล่า "ลุ่มเลสาบสงขลา" ครัวใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง

         ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบสงขลา ทำให้ที่นี่ยังคงเป็นแหล่งอาหารน้ำจืดขนาดใหญ่ของภาคใต้ตอนล่าง แม้ปัจจุบันจะเกิดปัญหาการทำลายสภาพแวดล้อมให้เปลี่ยนไป ทั้งการบุกรุกที่ริมทะเลสาบเพื่อใช้ทำการเกษตร การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจากที่ต่างๆ จนทำให้เสียความสมดุลทางธรรมชาติ กลายเป็นความวิตกกังวลว่าสักวันหนึ่ง ครัวธรรมชาติแห่งนี้จะเหลือเพียงตำนานให้จนจำ หากไม่มีระบบการจัดการ สร้างจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์อย่างจริงจัง

        เรื่อง/ภาพ : จรูญ ทองนวล ( Charoon Thongnual )

             เรื่องเล่า "ลุ่มเลสาบสงขลา" ครัวใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง

เรื่องเล่า "ลุ่มเลสาบสงขลา" ครัวใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง

เรื่องเล่า "ลุ่มเลสาบสงขลา" ครัวใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง

เรื่องเล่า "ลุ่มเลสาบสงขลา" ครัวใหญ่ภาคใต้ตอนล่าง

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ