ข่าว

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ" ยึดมั่นคุณธรรม กายใจสมบูรณ์ ฉลาด มีทักษะทางสังคมที่ดี

 

          โรงแรมไมด้า ทวารวดี แกรนด์ จังหวัดนครปฐม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัยโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน (COACT) ภาคกลางและตะวันตก และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวที “ร่วมคิด ร่วมเติมเต็ม การขับเคลื่อนเด็กปฐมวัยด้วย พชอ.และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กสู่ความเป็นเลิศ” เพื่อส่งเสริมการดูแลเด็กปฐมวัย ให้ครอบคลุมตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 6 ปี โดยการพัฒนาระบบและกลไกด้านเด็กปฐมวัยระดับอำเภอ และการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีคุณภาพ มีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู/ผู้ดูแลเด็ก บุคคลากรด้านสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 200 คน

 

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ"

 

          นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สสส. กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า ทุกการเกิดของเด็กปฐมวัยจะต้องมีคุณภาพ เด็กทุกคนไม่ว่าจะรวย หรือจนต้องได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพเพื่อเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพ โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ต่อเนื่องไปจนถึงปฐมวัย เป็นช่วงโอกาสทองในการลงเสาเข็มของชีวิตมนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและภาคเอกชน 

 

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ"

 

          “สสส.และคณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล เชื่อมั่นว่าการขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ ซึ่งเกิดจากการลงมือปฏิบัติโดยมีพื้นฐานของความรู้ เกิดเป็นบทเรียนที่ทำให้รู้ว่าอะไรทำแล้วได้ผลดี อะไรทำแล้วไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ดี นำผลมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์ความรู้ด้านเด็กปฐมวัย เป็นอาวุธสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัย” นางสาวณัฐยา กล่าว

 

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ"

 

          รศ.ดร.อาภาวรรณ หนูคง อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้จัดการโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัย: ภาคกลางและภาคตะวันตก กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัยฯ ดำเนินงาน 2 พื้นที่ คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดกาญจนบุรี ใน 2 แผนงานหลักคือ 1.การพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัยด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เริ่มจากการศึกษาสถานการณ์ข้อมูลพื้นฐานด้านเด็กปฐมวัยและครอบครัว การคืนข้อมูลให้ทุกภาคส่วนรับรู้ร่วมกัน นำมาสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ด้านเด็กปฐมวัย คือ “ยึดมั่นคุณธรรม กายใจสมบูรณ์ ฉลาด มีทักษะทางสังคมที่ดี” และมีพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านเด็กปฐมวัยและสตรีมีครรภ์ 6 ยุทธศาสตร์ สำหรับวันนี้เป็นการวางแผนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ด้านเด็กปฐมวัยของอำเภอบางไทร เพื่อนำไปปฏิบัติใน phase ต่อไป และ 2.การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมของภาคีเครือข่าย โดยในปี 2562 -2563 ทั้ง 2 จังหวัดจะขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 

 

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ"

 

          ขณะที่ นางลักษณา ศังคชาต นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านส่งเสริมพัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การขับเคลื่อนการทำงานของ พชอ. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งเน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การดูแลสุขภาวะของประชาชนตั้งแต่เกิด โดยการทำงานร่วมกันภาคีเครือข่ายภาครัฐ ประชาชน และเอกชน นโยบายของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเป้าหมายพัฒนา พชอ.ทุกอำเภอให้มีคุณภาพ 60% ปัจจุบันใน 16 อำเภอมีประเด็นการพัฒนา 33 ประเด็น จำแนกเป็น ประเด็นผู้สูงอายุ/ผู้พิการ 14 อำเภอ อุบัติเหตุจราจร 5 อำเภอ สิ่งแวดล้อม/ขยะ/G&C  4 อำเภอ โรคติดต่อ/โรคเรื้อรัง 4 อำเภอ เยาวชน/ยาเสพติด 3 อำเภอ และอาหารปลอดภัย 2 อำเภอ สำหรับประเด็นด้านเด็กและเยาวชนหากได้รับการพัฒนาจะเป็นเป็นประเด็นที่สำคัญต่อไป

 

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ"

 

          ด้าน รศ.ดร.สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สำหรับเครือข่ายกาญจนบุรี ถึงแม้จะยังไม่ได้เริ่มขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เด็กปฐมวัย ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) แต่การได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา และครู/ ผู้ดูแลเด็กได้มาเรียนรู้มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนมกราคม 2562 โดยมาตรฐานดังกล่าว มีตัวชี้วัดที่คล้ายคลึงกับข้อกำหนดด้านกระบวนการและผลลัพธ์ รวมถึงมีแนวทางการประเมินในรูปแบบของ PDCA เช่นเดียวกับที่โครงการ COACT ได้ดำเนินการมาแล้ว ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินได้

 

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ"

 

          โดยกิจกรรมที่ทำในวันนี้ เริ่มจากการทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการนำใช้มาตรฐานทั้ง 3 ด้าน และตัวบ่งชี้ที่สำคัญ โดยได้ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประเมินตนเอง และวางแผนในการปรับปรุงให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีมาตรฐาน และสุดท้ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการปรับปรุงคุณภาพร่วมกัน เพื่อนำแนวทางดังกล่าว ไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อไป.

 

ชูกลไก พชอ.ขับเคลื่อน "ปฐมวัยคุณภาพ"


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ