ข่าว

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

19 ธ.ค. 2560

นครปฐมจัดโครงการสัมมนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย จากแนวคิดทฤษฎี สู่การปฏิบัติจริง

 

               19 ธ.ค. 60  ที่ ห้องประชุมปฐมสัมมาคาร อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม  นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย จากแนวคิดทฤษฎี สู่การปฏิบัติจริง โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครปฐม จัดขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามหลัก 3Rs : Reduce Reuse Recycle หรือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ตามแนวทางประชารัฐ อีกทั้งเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับความรู้ในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และการดำเนินการธนาคารขยะรีไซเคิล

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

จัดการขยะมูลฝอยจากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

 

               นายพรศักดิ์ ภู่อิ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า ในปี 2559 จังหวัดนครปฐมมีขยะเกิดขึ้นประมาณ 442,390 ตัน หรือ 1,212 ตันต่อวัน โดยมีการนำไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 6.73 ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งแก้ไข สำหรับการจัดโครงการในครั้งนี้ มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อำเภอทุกอำเภอ ผู้แทนสถานศึกษา คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 400 คน โดยมีการอบรมให้ความรู้ร่วมกับการเสวนาในหัวข้อ “การบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดนครปฐม จากแนวคิดทฤษฎี สู่การปฏิบัติจริง” โดยนำตัวอย่างการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเกตุไพเราะ และโรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ กรุงเทพมหานคร อีกทั้งการดำเนินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล จากโรงเรียนวัดทุ่งคอก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเชื่อมโยงกับองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา ซึ่งดำเนินการได้ดีในพื้นที่จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ได้เตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม เพื่อก้าวสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำกรณีตัวอย่างโรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสนอีกด้วย