ข่าว

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนผลิตไม้ผลคุณภาพตั้งแต่ระดับสวน การคุมเข้มมาตรการตรวจก่อนตัด การผลิตไม้ผลให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะไม้ผลส่งออกไปยังประเทศจีนกำหนดว่าต้องผ่านการรับรองสวนมาตรฐาน GAP

ผลการดำเนินงานบริหารจัดการไม้ผลภาคตะวันออกในปีนี้ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ จากการส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิตไม้ผลคุณภาพตั้งแต่ระดับสวน การคุมเข้มมาตรการตรวจก่อนตัด การขอความร่วมมือจากเกษตรกรและนักคัดนักตัดทุเรียนไม่ตัดทุเรียนอ่อนจำหน่าย ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำโมเดลการไม้ผลภาคตะวันออกนี้ส่งต่อไปยังภาคใต้ซึ่งได้เริ่มต้นฤดูกาลขึ้นแล้ว
 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เผยว่า เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลภาคตะวันออก ปีนี้ต้องเผชิญกับภัยแล้ง ทำให้ต้องปรับกลยุทธ์ในการจัดการสวนทุเรียน เพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่และมีคุณภาพ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้เน้นย้ำเกษตรกรช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ ให้บริการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งแก่เกษตรกรที่ประสงค์จะตัดทุเรียนจำหน่ายก่อนวันประกาศเก็บเกี่ยวทุเรียนประจำภาค ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราดได้จัดตั้งจุดบริการตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง ในเนื้อทุเรียนในปีการผลิต 2567 จำนวน 55 จุด ครอบคลุมพื้นที่ในแหล่งผลิตและแหล่งรวบรวมสินค้าทุเรียนเพื่อการส่งออก และได้ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการนี้ต่อไปยังภาคใต้ ซึ่งเริ่มต้นฤดูกาลไม้ผลแล้วในเดือนมิถุนายนนี้
 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

 

 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

“กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนผลิตไม้ผลคุณภาพตั้งแต่ระดับสวน การคุมเข้มมาตรการตรวจก่อนตัด ขอความร่วมมือจากเกษตรกรและนักคัดนักตัดทุเรียนไม่ตัดทุเรียนอ่อนจำหน่าย การผลิตไม้ผลให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะไม้ผลส่งออกไปยังประเทศจีนที่มีข้อกำหนดว่าจะต้องผ่านการรับรองสวนด้วยมาตรฐาน GAP ผลผลิตต้องมีคุณภาพ มีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค ทำให้ราคาจำหน่ายทุเรียนภายในประเทศช่วงต้นฤดูสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา และราคาส่งออกทุเรียนยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี นอกจากนี้ จากการตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพก่อนส่งออกโดยกรมวิชาการเกษตรในปีนี้ยังพบว่ามีจำนวนลดลงจากเดิมร้อยละ 4 เหลือเพียงร้อยละ 2 ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรจะนำโมเดลการบริหารจัดการไม้ผลภาคตะวันออกนี้ส่งต่อไปยังภาคใต้ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ และจะบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคุมเข้มการใช้มาตรการต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเกี่ยวกับทุเรียนไทยและผลไม้คุณภาพต่อไป” นางอุบล กล่าว

 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เกษตรกรภาคตะวันออกต้องเผชิญกับปัญหาสภาพอากาศ อุณหภูมิที่สูงมากและความชื้นที่ต่ำทำให้ต้องปรับกลยุทธ์ในการที่จะจัดการสวนเพื่อให้ออกดอกและติดผล ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ซึ่งต้องมีการศึกษาเรื่องของสภาพภูมิอากาศ ปรับวิธีการให้น้ำตั้งแต่ 10.00 - 12.00 น. เพื่อให้เกิดความชื้นในสวน  ด้านวิธีการเก็บเกี่ยวภาครัฐเองก็จะต้องมาคำนวณช่วยหาวิธีการที่จะไม่ให้เกษตรกรตัดทุเรียนที่ไม่ได้คุณภาพออกสู่ตลาด ดังนั้น ภาคตะวันออกจึงมีการประชุมเพื่อจัดทำข้อมูลเอกภาพร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันวางแผนกำหนดวันเก็บเกี่ยว

 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

 

 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

ขณะที่ นายสุรนิชญ์พงษ์ ชัยเจริญพงศ์ เจ้าของสวนช่อม่วง จังหวัดระยอง เผยว่า หลังจากที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว เกษตรกรต้องมีการดูแลฟื้นฟูสวน นำดินไปตรวจค่า pH เนื่องจากช่วงที่ทุเรียนให้ผลนั้น เกษตรกรจะบำรุงใส่ปุ๋ย ค่อนข้างมาก ทำให้ดินเป็นกรด และพวกเชื้อราต่าง ๆ เจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้ต้นโทรมและตาย จึงต้องใส่โดโลไมท์หรือปุ๋ยอินทรีย์เข้าไปเพื่อปรับค่า pH ลดความเป็นกรด ทำให้เชื้อรามันไม่ชอบมันก็จะอ่อนแอและตายไปเอง จากนั้นต้นทุเรียนก็จะแตกใบใหม่ออกมา เกษตรกรก็ต้องดูแลให้อาหารธาตุหลักธาตุรอง เพื่อเตรียมต้นให้พร้อมในปีถัดไปด้วย
 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

"ภาคตะวันออก" ส่งต่อโมเดลการบริหารจัดการผลไม้สู่ "ภาคใต้"

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม