ข่าว

ยกระดับคุณภาพทุเรียนไทยสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะทุเรียนไทยให้ไปไกลทั่วโลก

30 เม.ย. 2567

ภาคตะวันออกถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญโดยเฉพาะทุเรียนและเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกปีละหลายแสนตันสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ

ภาคตะวันออกถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญโดยเฉพาะทุเรียนและเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกปีละหลายแสนตันสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้เน้นย้ำไปยังเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในการควบคุมคุณภาพผลผลิตทุเรียนให้มีมาตรฐานสำหรับการบริโภค พร้อมยกระดับความเข้มข้นให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่สร้างการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ

 

ยกระดับคุณภาพทุเรียนไทยสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะทุเรียนไทยให้ไปไกลทั่วโลก

 

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงแนวทางและมาตรการการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลไม้ภาคตะวันออกว่า การกำหนดระดับความแก่ของทุเรียน ด้วยการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน โดยใช้เกณฑ์กำหนดของสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ซึ่งจะมีการกำหนดน้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนสำหรับการบริโภคในแต่ละสายพันธุ์ เช่น ทุเรียนพันธุ์กระดุม น้ำหนักเนื้อแห้งขั้นต่ำ 27% / ชะนีมีน้ำหนักเนื้อแห้งขั้นต่ำ 30% / พวงมณีมีน้ำหนักเนื้อแห้งขั้นต่ำ 30% และหมอนทองมีน้ำหนักเนื้อแห้งขั้นต่ำ 32% ถ้าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนต่ำกว่านี้ถือว่าเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพหรือทุเรียนอ่อน

 

 

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

 

“ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด เขาจะมีชุดปฎิบัติการในการที่จะออกไปตรวจสอบไปเฝ้าระวังว่ามีทุเรียนอ่อนอยู่ในตลาดหรือไม่ และจะมีการใช้กฎหมาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และป้องปรามเพื่อไม่ให้ทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด อันนี้ต้องขอความร่วมมือไปทางเกษตรกรชาวสวน ล้งผู้รวบรวมทุเรียนที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ขอให้ตระหนักในเรื่องเหล่านี้” นายพีรพันธ์ กล่าว

 

ยกระดับคุณภาพทุเรียนไทยสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะทุเรียนไทยให้ไปไกลทั่วโลก

 

 

นอกจากนี้กรมส่งเสริมการเกษตร และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด มีความเข้มแข็งและเอาใจใส่ในการวางระบบทุเรียน ให้มีคุณภาพและมีชื่อเสียง โดยได้ขอความร่วมมือให้เกษตรกรตัดทุเรียนเก็บตัวอย่างนำไปตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน และขอให้มีการขึ้นทะเบียนนักคัดและนักตัดทุเรียนที่สำนักงานเกษตรอำเภอ / สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด พร้อมทั้งสื่อสารกับเกษตรกรและมือตัดทุเรียนให้ปฏิบัติตามมาตรการตรวจก่อนตัดอย่างเคร่งครัด และทุกครั้งที่รับซื้อทุเรียนต้องขอหนังสือรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนจากจุดบริการตรวจก่อนตัดทุกครั้ง รวมทั้งส่งเสริมเกษตรกรให้ได้ใบรับรอง GAP ด้วย

 

ยกระดับคุณภาพทุเรียนไทยสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะทุเรียนไทยให้ไปไกลทั่วโลก


    “เรื่องของการตรวจรับรอง GAP เรามีทีมเข้าไปแนะนำเพื่อที่ว่า ถ้าหากจะรับรองจะต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วก็ผู้ที่จะรับรองก็คือกรมวิชาการเกษตรก็จะจัดทีมออกไปให้บริการตามท้องที่ท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน รวมทั้งเรื่องที่จะโปรโมททุเรียน ด้วยการสร้างอีเวนต์ทุเรียนขึ้นมา จัดโรดโชว์ให้เห็นในหลาย ๆ จังหวัด เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภคได้เข้าใจว่า เราจะซื้อทุเรียนอร่อย จะซื้อแบบไหน ที่ไหน อย่างไรครับ” นายพีรพันธ์ กล่าวทิ้งท้าย   

 

ยกระดับคุณภาพทุเรียนไทยสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะทุเรียนไทยให้ไปไกลทั่วโลก


    เรียกว่าตอนนี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการผลักดันผลไม้ไทย โดยเฉพาะทุเรียนไทยให้ไปไกลทั่วโลก เพราะว่าแต่ละปีขายได้หลายแสนตัน มูลค่ามหาศาล ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่ต่างชาติรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะทุเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออก