ข่าว

‘สคช.’ เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์ ผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สคช." เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์ ผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ร่วมกับ Human Resources Development Service of Korea (HRDK) ,Korea Creative Content Agency (KOCCA) หน่วยงานของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ที่มีหน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และส่งเสริมอุตสาหกรรมคอนเทนต์ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดงานสัมมนา "การพัฒนานักเขียนบท เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์"

 

‘สคช.’ เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์ ผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย

 

เพื่อเจาะลึกวิธีคิด กระบวนการสร้างสรรค์ และประสบการณ์ ในวงการนักเขียนบท จากสาธารณรัฐเกาหลี พร้อมร่วมกันส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานอาชีพนักเขียนบทในประเทศไทย เพื่อยกระดับทักษะและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเขียนบท ให้ได้รับการยอมรับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ระดับสากล โดยมี Mr. Park Jae Beom นักเขียนบท จากซีรีย์ Vincenzo, Good Doctor, The Fiery Priest, Good Manager และBlood ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของนักเขียนบท 
 

 

‘สคช.’ เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์ ผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย

 

 

ภายในงานนอกจากได้รับเกียรติจาก Mr. Park Jae Beom นักเขียนบท จากซีรีย์ Vincenzo, Good Doctor, The Fiery Priest, Good Manager และBlood ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของนักเขียนบท ร่วมเป็นวิทยากรแล้วยังมี Mr. Park Woong Jin, Director จาก KOCCA, Mr. Hong Sung Moon จาก HRDK Korea และนางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมถ่ายทอดแนวคิดความสำคัญของการพัฒนานักเขียนบท เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์ ให้กลายเป็น Soft Power ที่สำคัญ โดยมีบรรดานักเขียนบท จากสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการอุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศไทยเข้าร่วมในงาน
 

นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า เวทีสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพนักเขียนบทของไทย ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ให้มีมาตรฐานระดับสากล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงของไทย รวมถึงสามารถเสริมสร้างภาพลักษณ์และผลักดัน Soft Power ของประเทศไทยตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เปิดมุมมอง และปัจจัย ที่ทำให้ซีรีส์เกาหลี ประสบความสำเร็จในตลาดโลก โดยนักเขียนบทชาวเกาหลีที่ได้รับการยอมรับ

 

 

‘สคช.’ เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์ ผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย

 

 

โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มีบทบาทสำคัญในการเป็นสะพานเชื่อมให้บุคลากรของไทยสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการพัฒนาความรู้และทักษะการเขียนบท  ด้วยการทำงานร่วมกับคนในอาชีพและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างหลักเกณฑ์ที่บอกว่า  นักเขียนบทจะต้องมีความรู้ในเรื่องใด  ทักษะด้านไหน และการเขียนต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง  เพื่อให้มาตรฐานอาชีพนักเขียนบทที่จะจัดทำขึ้นมาตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้มากที่สุด
 

 

‘สคช.’ เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์ ผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย

 

 

และจากการระดมความเห็นจากตัวแทนนักเขียนบท ที่มีทั้งผู้แทนสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ สมาคมผู้กำกับไทย สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตัวแทนกระทรวงวัฒนธรรม ตัวแทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนักเขียนบทอิสระ เข้าร่วมการสัมมนาและแสดงความคิดเห็น เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการสร้างโอกาสให้กับนักเขียนบทรุ่นใหม่ ได้เกิดการพัฒนาในอาชีพอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งคุณวุฒิวิชาชีพ จะเป็นประตูเปิดทางสู่การประกอบอาชีพนักเขียนบทให้เป็นที่ยอมรับในอนาคต ซึ่งจะเป็นแรงหนุนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับในทุกมิติ จะช่วยเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถ ต่อการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

 

‘สคช.’ เจาะลึกเส้นทางการพัฒนานักเขียนบทจากเกาหลี เพื่อเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมครีเอทีฟคอนเทนต์ ผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย

 

ที่ผ่านมา สคช. มีความร่วมมือกับหน่วยงาน ของสาธารณรัฐเกาหลี ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงและดิจิทัล เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก อาทิ ผู้กำกับภาพยนตร์ ช่างถ่ายภาพยนตร์ อาชีพด้านแอนิเมชัน และนักออกแบบเกม เป็นต้น ทั้งนี้ จากการหารือร่วมกัน จะมีการช่วยผลักดันคนในอาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอาชีพนักเขียนบท ที่กำลังประสบปัญหาการขาดบุคลากรที่มีฝีมือทัดเทียมระดับสากล นำไปสู่การส่งเสริมการพัฒนากำลังคน ตามนโยบายการผลักดัน Soft Power ประเทศไทย ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในมาตรฐานระดับโลกได้


 

logoline