Lifestyle

ผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รอบ 6 เดือน)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

.

นับตั้งแต่วันที่ 11  เมษายน 2564 ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยของการชำระหนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันมากขึ้น อาทิ ปรับดอกเบี้ยจากเดิม 7.5% ต่อปี ให้เหลือ 3% ต่อปี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ต้องจ่ายดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี ปรับเป็น 5% ต่อปี และการผิดนัดชำระหนี้เวลาผ่อนส่งเป็นงวด จากเดิมคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ค้างทั้งหมด ปรับเป็นคิดจากเงินต้นเฉพาะงวดที่ผิดนัดเท่านั้น ฯลฯ อันเป็นผลจากพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 กฎหมายดังกล่าวจะช่วยลดโอกาสในการเกิดหนี้เสียและลดจำนวนการฟ้องร้องอันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม กฎหมายอีกฉบับที่ก่อให้เกิดผลดีทางด้านเศรษฐกิจ คือ พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการสนับสนุนการให้สินเชื่อเดิมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และขยายกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจให้ครอบคลุมถึงผู้ที่ไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน สนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องรับภาระต้นทุนทางการเงิน และไม่ถูกบังคับให้ขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง

ผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รอบ 6 เดือน)

ผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รอบ 6 เดือน)

นอกจากกฎหมายด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังมีกฎหมายด้านอื่น ๆ อีกหลายด้าน อาทิ กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะมีมาตรการในการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย รวมทั้งกำหนดมาตรการในการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เช่น การให้สิทธิผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งระงับการกระทำความผิดและเยียวยาความเสียหายเบื้องต้น กำหนดมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ทั้งทางการเงิน ทางจิตใจ และทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยพัฒนากระบวนการยุติธรรมและเป็นการสร้างหลักประกันให้แก่ประชาชนว่าจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามมาตรฐานและตามหลักสากล รวมทั้งจะไม่ถูกกระทำทรมานและกระทำให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการยุติธรรม ตามร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติที่ช่วยให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมมากขึ้นอีกฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. .... ซึ่งยึดหลักการที่ว่า “พึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดที่ร้ายแรง โดยพิจารณาปรับเป็นพินัยแทน” ร่างพระราชบัญญัตินี้มีกลไกในการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาล กรณีผู้ถูกกล่าวหาไม่ยินยอมชำระค่าปรับ โดยเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจบังคับให้จ่ายค่าปรับตามคำสั่งปรับ ซึ่งจะช่วยให้การทุจริตของเจ้าหน้าที่ลดลง และมีกลไกกำหนดค่าปรับให้สอดคล้องกับความผิด และฐานะของผู้ทำความผิด โดยสามารถผ่อนชำระหรือขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้ หากเป็นการทำความผิดเพราะความยากจนหรือความจำเป็นในการดำรงชีวิต ศาลสามารถกำหนดค่าปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดหรืออาจใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือนก็ได้

ผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รอบ 6 เดือน)

ผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รอบ 6 เดือน)

กฎหมายเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (1 ตุลาคม 2563 – 31 มีนาคม 2564) ซึ่งมุ่งเน้นการพิจารณางานด้านกฎหมายตามภารกิจไปสู่เป้าหมาย คือ “Better Regulation for Better Life” พัฒนากฎหมายให้ดีเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้กฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเป็นกฎหมายที่ดี ทันต่อสถานการณ์โลกปัจจุบัน เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยสำนักงานฯ ได้รับเรื่องจากคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานต่าง ๆ มาดำเนินการแล้วเสร็จ รวมทั้งสิ้น 885 เรื่อง แบ่งออกเป็นงานจัดทำร่างกฎหมาย 234 เรื่อง (ร่างพระราชบัญญัติ 16 เรื่อง ร่างพระราชกำหนด 2 เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกา 50 เรื่อง ร่างกฎกระทรวง 134 เรื่อง ร่างระเบียบ 3 เรื่อง ร่างประกาศ 28 เรื่อง และร่างคำสั่ง 1 เรื่อง) งานให้ความเห็นทางกฎหมาย 648 เรื่อง และคำแปลกฎหมาย 3 เรื่อง

ผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รอบ 6 เดือน)

การพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายในช่วงที่ผ่านมานั้น เป็นการทำงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเมื่อมีการแพร่ระบาดมากขึ้น สำนักงานฯ จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นระบบ work from home และได้วางระบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการทำงาน ได้แก่ การใช้อีเมล OCS, การรับส่งเอกสารผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ [email protected], ไลน์ OCS Staff, ระบบ OCS SMART, และการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ MS TEAM เพื่อเป็นการป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดอันส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ