ข่าว

สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว คู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนได้ มีผลหลังประกาศใช้ใน 120 วัน

สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว คู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนได้ มีผลหลังประกาศใช้ใน 120 วัน

18 มิ.ย. 2567

สมรสเท่าเทียม ผ่านการพิจารณาร่างจากวุฒิสภา คู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนได้ตามกฎหมาย มีผลหลังประกาศใช้ภายใน 120 วัน

18 มิ.ย. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ … ) พ.ศ. … หรือกฎหมาย สมรสเท่าเทียม ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฯ ที่มีนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สว. เป็นประธาน และพิจารณาเสร็จแล้ว

 

โดยที่ประชุม ลงมติด้วยคะแนน เห็นชอบ 130 คะแนน ไม่เห็นด้วย 4 คะแนน และ งดออกเสียง 18 คะแนน ทำให้ สมรสเท่าเทียม ผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม) โดยจะมีผลบังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

ทั้งนี้ ภายหลังจากการประกาศใช้กฎหมาย สมรสเท่าเทียม ไทยจะกลายเป็นประเทศที่ 38 ของโลก และเป็นแระเทศแรกในอาเซียน ที่มี กฎหมายสมรสเท่าเทียม รองรับการจดทะเบียนสมรสของทุกเพศ 
 

สำหรับประเด็นที่พิจารณา ดังนี้ 

 

  • สมรสเท่าเทียม เปลี่ยนจากชายหมั้นหญิงเป็นคู่หมั้นและผู้รับหมั้น เปลี่ยนจากอายุ 17 ปีเป็น 18 ปี
  • สมรสเท่าเทียม เปลี่ยนจากชายและหญิงเป็นบุคคล เปลี่ยนจากสามีภริยาเป็นคู่สมรส เพื่อให้สิทธิ หน้าที่ และสวัสดิการ เทียบเท่ากับชายหญิง และเปลี่ยนอายุการสมรสจากอายุ 17 ปี เป็น 18 ปี
  • สมรสเท่าเทียม รวมการแก้ไขเหตุแห่งการฟ้องหย่าให้ครอบคลุมและคุ้มครองถึงทุกเพศ
  • สมรสเท่าเทียม ในกรณีหญิงสมรสหญิงที่หย่าจากกันแล้ว ไม่จำเป็นต้องรอ 310 วันเพื่อจดทะเบียนสมรสใหม่
  • สมรสเท่าเทียมในมาตรา 67 กำหนดให้บรรดากฎหมายอื่นใดประกาศหรือมติคณะรัฐมนตรีอื่นใดที่มีคำว่าสามีภริยาหรือสามีหรือภริยาให้หมายถึงคู่สมรสที่จดทะเบียนตามการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในครั้งนี้

 

ประโยชน์ที่จะได้จาก สมรสเท่าเทียม

 

  • บุคคลสองคน ไม่ว่าเพศใด หมั้นหรือสมรสกันได้
  • การหมั้นหรือสมรส ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
  • สถานะหลังจดทะเบียนสมรส ใช้คำว่า “คู่สมรส”
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการตามกฎหมายต่างๆ เช่นเดียวกันกับคู่สมรสชาย-หญิง

 

 

 

ทั้งนี้ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า มาตราสำคัญในร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม คือมาตรา 67 ซึ่งตนเสนอไว้ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ คำสั่ง หรือมติใดของคณะรัฐมนตรีที่อ้างถึง สามี ภริยา หรือสามีภริยา ให้ถือว่าอ้างถึงคู่สมรส ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย ทำให้กฎหมายทุกฉบับให้สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด เท่าเทียมกับชายหญิงทั่วไป

 

อย่างไรก็ตาม มีอีก 2 ประเด็นเท่านั้นที่ต้องแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมต่อไป คือการขอสัญชาติให้คู่สมรสและกฎหมายที่เกี่ยวข้องการใช้เทคโนโลยีในการตั้งครรภ์