ผศ.ดร.สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล หัวหน้าแผนกวิจัย สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณี "คิดอย่างไรกับเงินดิจิทัล 10,000 บาท" จำนวน 1,400 ราย ในช่วงวันที่ 12 – 14 เมษายน 2567 จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศพบว่า
ความเข้าใจนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
อันดับ 1 ระดับค่อนข้างเข้าใจ 48%
อันดับ 2 ระดับไม่ค่อยเข้าใจ 28%
อันดับ 3 ระดับมาก 17%
อันดับ 4 ไม่เข้าใจเลย 7.6%
ความต้องการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ความต้องรวม 69.9% แบ่งเป็น ความต้องการในระดับมาก 38% ค่อนข้างต้องการ 31.9% ความไม่ต้องการรวม 30.1% แบ่งเป็น ไม่ค่อยต้องการ 18.4% และไม่ต้องการเลย 11.7%
ความเหมาะสมในหลักเกณฑ์และมาตรการในแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
อันดับ 1 ค่อนข้างเหมาะสม 40.9%
อันดับ 2 เหมาะสมมาก 18.1%
อันดับ 3 ไม่เหมาะสม 14.7%
และยังได้สำรวจว่านโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาทว่าควรดำเนินการต่อไปหรือไม่ พบว่า ควรดำเนินการต่อ 57.5% ควรดำเนินการต่อแต่ควรมีการปรับปรุงเงื่อนไข 31.9% และไม่ควรดำเนินการต่อ 10.6%
ประโยชน์เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่
อันดับ 1 มีประโยชน์ค่อนข้างมาก 32.7%
อันดับ 2 มีประโยชน์ค่อนข้างน้อย 26.5%
อันดับ 3 มีประโยชน์ในระดับมากที่สุด 22.4%
อันดับ 4 มีประโยชน์น้อยที่สุด 11.4%
นอกจากนั้นยังได้สำรวจถึงเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทสามารถแบ่งเบาภาระในครัวเรือนมีความเห็นว่ามีประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ พบว่า มีประโยชน์ในระดับมากที่สุด 21.4% มีประโยชน์ค่อนข้างมาก 40.9% มีประโยชน์ค่อนข้างน้อย 29.1% และ มีประโยชน์น้อยที่สุด 8.6%
เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มีประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจสามารถเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ร้านค้ารายย่อยทั่วประเทศ
อันดับ 1 มีประโยชน์ค่อนข้างมาก 39.5%
อันดับ 2 มีประโยชน์ค่อนข้างน้อย 31.9%
อันดับ 3 มีประโยชน์ในระดับมากที่สุด 17.7%
อันดับ 4 มีประโยชน์น้อยที่สุด 10.9%
ผศ.ดร.สานิต ระบุว่า ยังได้สำรวจต่ออีกว่า หากได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทจากรัฐบาลจะวางแผนใช้เงินเพื่อสิ่งใด พบว่าคนไทยต้องการใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ตเพื่อของใช้ในชีวิตประจำวัน 50.4% สินค้าทั่วไป 25.7% ซื้ออาหารและเครื่องดื่ม 22.4% และอื่น ๆ 1.4%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง