ข่าว

'ร่มธรรม' ห่วงวิกฤตพะยูนไทย หญ้าทะเลลดฮวบ สะท้อนวิกฤตโลกร้อน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ร่มธรรม' เผยพะยูนไทยอาจสูญพันธ์ุ จี้เรัฐบาลเร่งขึ้นวาระแห่งชาติ เหตุหญ้าทะเลลดจากวิกฤตโลกร้อน ตกในจำนวนพะยูนในตรังลดลง 5 เท่า

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ สส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพพะยูนผอมที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากโดยเฉพาะในโซเชียลว่า เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์ของพะยูนไทยที่อยู่ในขั้นวิกฤตจริง อาจนำไปสู่การสูญพันธุ์จากประเทศไทยได้ และยังสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลไทยด้วย

ที่มาภาพ : บังบ่าว และ รีวิวตะรังตรัง ไบรท์ สาวตรังพาลุย

สาเหตุสำคัญที่สุดตอนนี้ คือ อาหาร นักวิชาการชี้ว่าตอนนี้มีปัจจัยหลักจากเรื่องโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้น้ำทะเลลดลงทำให้แสงแดดแผดเผาตายไปกว่าครึ่งนอกจากนี้ก็มีเรื่องสารเคมีและตะกอนจากโครงการพัฒนาชายฝั่ง ทำให้หญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูนเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว 

นายร่มธรรม กล่าวว่า เกาะลิบงและเกาะมุกด์ คือ แหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่ ทำให้มีฝูงพะยูนมากที่สุดในแถบนี้ จะเรียกว่าเป็นเมืองหลวงของพะยูนไทยก็ว่าได้ แต่ประชากรสำรวจพะยูนน่าใจหายมาก ที่ตรัง จากปีที่แล้ว 194 เหลือ 36 ตัว เฉพาะปี 2567 มีพะยูนตายไปแล้วนับสิบตัวในเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น 

 

ซึ่งการที่ฝูงพะยูดลดจำนวนลงค่อนข้างมาก นอกจากการตาย ส่วนหนึ่งได้อพยพตามแหล่งอาหารไปที่อื่น ขณะที่บางส่วนเริ่มปรากฏตัวตามท่าเรือบ่อยขึ้น ทั้งที่ปกติพวกเขาจะไม่เข้าใกล้คน แต่นั่นเพราะพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ผลที่ตามมาคือ พวกเขากลับไปติดเครื่องมือประมงและทำให้ตายหรือบาดเจ็บ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการตายของพะยูนสูงขึ้น

นอกจากนี้ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม คือ ขยะพลาสติกและอื่นๆที่กลายเป็นขยะทะเล เช่นกรณีของลูกพะยูนมาเรียมและยามีล ที่ลำไส้อุดตันและติดเชื้อตายไปจากการกินขยะพลาสติก ซึ่งไม่ใช่เป็นภัยคุกคามแค่พะยูนเท่านั้น แต่รวมถึงสัตว์ทะเลอีกหลายชนิดด้วย เช่น เต่าทะเลที่มีจำนวนลดลงเช่นกันจากการสำรวจล่าสุด

 

หญ้าทะเลและพะยูนมีความสำคัญและสัมพันธ์กันอย่างมากต่อระบบนิเวศใกล้ชายฝั่ง เพราะพะยูนจะทำหน้าที่กระจายเมล็ดพันธุ์หญ้าทะเลจากการกินแล้วถ่ายออก การกิน การเล็มทำให้หญ้าทะเลต้นเล็กๆได้รับแสง แตกกอและเติบโตได้ ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำขนาดเล็กและลูกๆของมัน สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ท้องทะเลเสมือนเป็นแหล่งอนุบาล ดังนั้น การหายไปของพะยูนและหญ้าทะเล จึงเป็นสัญญาณเตือนถึงการหายไปของสัตว์ทะเลอื่นๆในอนาคตด้วย

 

การดูแลรักษาพะยูนไม่ให้สูญพันธุ์ หญ้าทะเล รวมถึงทรัพยากรทางทะเล เราจึงไม่อาจปล่อยให้เป็นภาระของคนตรังหรือคนใต้ดูแลกันไปตามมีตามเกิดได้ หลายประเทศก็เผชิญเหมือนกัน สะท้อนสถานการณ์วิกฤตภาวะโลกร้อน หรือสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ขั้นวิกฤต ส่งผลกระทบไปทั่วทุกพื้นที่ ทั้งบนบก และในทะเล ทั้งต่อประชาชน และสิ่งมีชีวิต ที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในระดับวาระแห่งชาติ ต้องมีการแก้ไขทั้งระบบ และมีมาตรการระยะสั้นและระยะยาว

 

นายร่มธรรม กล่าวต่อว่า ในระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้า ต้องหามาตรการด้านแหล่งอาหาร หญ้าทะเล และสนับสนุนงบประมาณลงไปทันที จากกรณีศึกษาในต่างประเทศ อเมริกา เคยมีวิกฤต พะยูนมานาตี ( Manatee) เรื่องอาหารถึงขั้นต้องเอาอาหาร เอาผัก โยนให้พะยูนมานาตีกิน เพื่อประคับประคองสถานการณ์ เราจึงอาจต้องพิจารณามาตรการเฉพาะหน้าเหล่านี้เช่นกัน 

 

โลกร้อน ทะเลเดือด เป็นวาระร่วมกันของโลก รัฐบาลต้องประกาศจุดยืนในสิ่งที่เราจะดำเนินการและผลักดันขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องความตื่นตัวต่อเรื่องนี้ในระดับสากล ส่วนในระดับประเทศเอง เราก็ต้องเร่งมีมาตรการจัดการปัญหาเฉพาะ ทั้ง น้ำเสีย ตะกอน ขยะทะเล เครื่องมือประมง 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ