ข่าว

ย้อน 7 ปี ทำประชามติ 'รัฐธรรมนูญ 2560' คำถามพ่วง สว. วันนั้นเราเห็นชอบหรือไม่

ย้อน 7 ปี ทำประชามติ 'รัฐธรรมนูญ 2560' คำถามพ่วง สว. วันนั้นเราเห็นชอบหรือไม่

17 ก.ค. 2566

ย้อนร่องรอยการเมือง 7 ปี กับการทำประชามติ 'รัฐธรรมนูญ 2560' คำถามพ่วงอำนาจ สว. โหวตนายก ได้ ยังจำได้ไหม วันนั้นเราเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ

คนไทยยังจำกันได้หรือไม่ ในวันที่ 7 ส.ค. 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติ "รัฐธรรมนูญ 2560" ซึ่งการออกเสียงในวันนั้น เป็นวันที่ให้เราแสดงความคิดว่าเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย กับร่างรัฐธรรมนูญปี 2560  โดยร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.... จัดทำโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน หลังจากนั้นจึงมีการจัดทำประชามติเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดอนาคตของประเทศ  

 

 

ส่งผลให้การทำประชามติ "รัฐธรรมนูญ 2560" เป็นการทำประชามติครั้งที่ 2 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย  โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 19 ส.ค. 2550 แต่ใครจะรู้ว่า การทำประชามติ "รัฐธรรมนูญ 2560" จะกลายเป็นเงื่อนที่ผูกมัดการเมืองไทยให้ติดบ่วงการเมืองแบบเดิมๆ และ สว. มีอำนาจในการโหวตนายกรัฐมนตรี ทั้งที่ก่อนหน้าที่หน้าที่ โหวตนายก เป็นหน้าที่ของ สส. ที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำงานแทนตัวเอง และหากพรรคที่มีจำนวน  สส. เกินครึ่งในสภาก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เลยทันที โดยที่ สว. ไม่ต้องเข้ามามีส่วนในการเลือก โหวตนายก  

ย้อนกลับไปในวันลงประชามติ "รัฐธรรมนูญ 2560" หลายคนคงจะได้ดีว่า เราจะได้รับบัตรมา 1 ใบ คล้ายๆ กับบัตรเลือกตั้งทั่วไปแต่มีช่องว่างเพียง 2 ช่องให้เราทำเครื่องหมายกากบาท ว่า "เห็นชอบ" หรือ "ไม่เห็นชอบ"  ซึ่งรายละเอียดในจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่1 ระบุ บนบัตรว่า "บัตรออกเสียงประชามติ ประเด็นให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรับธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช..... ทั้งฉบับ"

 

 

ส่วนที่ 2 เป็นประเด็น คำถามพ่วง หรือ ประเด็นเพิ่มเติม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ สว.มีอำนาจในการ โหวตนายก   อย่างมาก โดยประเด็นเพิ่มเติมมีคำถาม ระบุว่า "ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดในบทเฉพาะกาลในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตร"  พร้อมกับให้ประชาชนทำเครื่องหมายกาบาทลงในช่องสี่เหลี่ยม "เห็นชอบ" หรือ "ไม่เห็นชอบ"

คำถามประชามติรัฐธรรมนูญปี 2560

 

หลังจากการลงประชามติ "รัฐธรรมนูญ 2560" เสร็จสิ้นปรากฎว่า มีผู้มีสิทธิออกเสียงประมาณ 50 ล้าน  ผู้มาใช้สิทธิ 29.74 ล้านคน ผลการลงประชามติประเด็นที่ 1 ร่างรัฐธรรมนูญเก็นด้วย 61% ไม่เห็นด้วย 39%    ผลการลงประชามติ ประเด็นที่ 2 ประเด็นคำถามเพิ่มเติม หรือคำถามพ่วง เห็นด้วย 58% ไม่เห็นด้วย 42 % ซึ่งสรุปว่าการทำประชามิติ รัฐธรรมนูญปี 2560 ผ่านความเห็นของประชาชนทั้ง 2 ส่วน หลังจากนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รับรองการทำประชามติ และ กรธ. ส่งมองร่างรัฐธรรมนูญแก่รัฐบาลเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าต่อไป  

 

 

สิ่งที่การทำประชามติ "รัฐธรรมนูญ 2560"  ทิ้งร่องรอยเอาไว้คือ การมอบอำนาจให้ สว. เข้ามามีบทบาทในการเลือก    นายกรัฐมนตรี และการทำประชามติในปี 2559 ส่งผลให้ผู้ที่อายุครบ 18 ปี หลังจากปี 2560 ไม่มีโอกาสได้แสดงความเห็นว่าพวกเขาเห็นชอบการกับยกร่างกฎหมายสูงสุด และการให้อำนาต สว. เข้ามามีบทบาทแบบนี้หรือไม่  จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมาก ว่าการยกร่างรัฐธรรนูญในครั้งนั้นเป็นการวางเส้นทางเพื่อสืบทอดอำนาจขอใครบางคนเอาไว้แล้ว 

 

 

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามพ่วง สว. กับ SPRiNGNEWS ไว้ว่า  ปัญหารัฐธรรมนูญปี 2560 ก็คือการออกแบบให้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อสืบทอดอำนาจ  โดยในวันที่ 5 ส.ค. 2559 ก่อนลงประชามติ (รัฐธรรมนูญ ปี 2560) 2 วัน  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี เคยพูดว่า คสช. จะไม่สืบทอดอำนาจ พร้อมกับบอกว่าจะรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้และคำถามพ่วง

ผศ.ดร. ปริญญา ยังได้มีการตีความ คำถามพ่วง ไว้ด้วยว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 ในร่างแรก ก็ไม่ได้ระบุให้ สว. เลือกนายกฯ ได้ คือ สว. ที่ คสช. แต่งตั้ง ไม่มีอำนาจเลือกนายกฯ แต่มันมาในคำถามพ่วงที่ว่า ภายใน 5 ปีแรก ท่านจะเห็นด้วยหรือไม่ ให้นายกรัฐมนตรีมาจากที่ประชุมสภา ฟังดูปลอดภัย แต่คำถามที่แท้จริงคือ เห็นด้วยหรือไม่ที่ให้ สว. เลือกนายกฯ เพราะ สส. เลือกนายกฯ อยู่แล้ว ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า การสืบทอดอำนาจ

 

ที่มาข้อมูล : เปิดใจ อ.ปริญญา "รัฐธรรมนูญปี 2560 ถูกใช้เป็นเครื่องมือสืบทอดอำนาจ"

 

 

สำหรับ "รัฐธรรมนูญ 2560" มีการร่างขึ้นในภาวะที่การเมืองไทยค่อนข้างสับสนและวุ่นวาย ภายใต้การรักษาความสงบของ คสช. ที่ทำการรัฐประหารในปี 2557  ก่อนนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ 7 ส.ค. 2559 หลังจากนั้นมีการแก้ไขเนื้อหารวม 4 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง และการบริหารประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยรัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่  6 เม.ย. 2560