ข่าว

'โหวตนายกฯ'วันพรุ่งนี้ มีขั้นตอนอย่างไร เช็กได้ที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'โหวตนายกฯ'13 ก.ค. นี้ มีขั้นตอนอย่างไร ใครมีคุณสมบัติถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี เข้าสู่ที่ประชุมร่วม'รัฐสภา'บ้าง

บทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญมาตร 272 กำหนดให้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามขั้นตอนโหวตนายกฯ มาตรา159 วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาหรือ 376 เสียง

สำหรับรายชื่อนายกรัฐมนตรี ต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่เสนอไว้ตอนสมัครรับเลือกตั้ง สส. โดยพรรคการเมืองที่จะเสนอรายชื่อเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ในขั้นตอนโหวตนายกฯ ได้ต้องมี สส. ไม่น้อยกว่า 5 % หรือ  25 คน

 

ซึ่งประกอบไปด้วย พิธาจากพรรคก้าวไกล  เศรษฐา, แพทองธาร ,ชัยเกษม จากพรรคเพื่อไทย อนุทินจากพรรคภูมิใจไทย  พล.อ.ประวิตรจากพรรคพลังประชารัฐ  พล.อ.ประยุทธ์ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ และ จุรินทร์จากพรรคประชาธิปัตย์ โดยล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์ ประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้วเมื่อวานนี้


หากที่ประชุมรัฐสภา ไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรี จากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองได้ ให้สมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน จํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา

 

ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา 88 (นายกฯคนนอก)ได้

ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ทั้งสองสภา ให้ยกเว้นได้ จึงกลับไป เริ่มดําเนินการ ตามขั้นตอนโหวตนายกฯใหม่  

 

โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้  นายกฯคนที่ 30 ของไทย จึงอาจพลิกจาก พิธา เป็นคนอื่นได้
 

โดยการเลือกนายกรัฐมนตรี จะใช้วิธีขานชื่อลงคะแนนโดยเปิดเปิดเผย ส่วนจะเริ่มจากสส.ก่อน หรือดำเนินการพร้อมกับ สว.ก็ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมรัฐสภา จะหารือกัน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ