ข่าว

ย้อนเส้นทาง 'itv' โด่งดัง ก่อนเป็นหนี้แสนล้าน หมากตัวใหญ่สั่นคลอน 'พิธา'

ย้อนเส้นทาง 'itv' โด่งดัง ก่อนเป็นหนี้แสนล้าน หมากตัวใหญ่สั่นคลอน 'พิธา'

24 ม.ค. 2567

ย้อนดูเส้นทางสถานีโททัศน์ 'itv' ทีวีเสรีช่องแรกของไทยโด่งดัง เฟื่องฟู ก่อนเป็นหนี้สินสูงเกิน100,000 ล้านบาทจนถูกยกเลิกสัมปทาน สุดท้ายตกเป็นเกมทางการเมือง ทำเส้นทางการเมือง 'พิธา' สั่นคลอน

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี หรือ "itv" ถูกกลับมาพูดถึงอีกครั้งหลังจากทีปิดสถานีและไม่มีการออกอากาศไปตั้งแต่ปี 2550 เป็นเวลานับกว่า 16 ปี ที่ประชาชนแทบจะไม่มีใครพูดถึง "itv" สถานีโทรทัศน์ที่เคยโด่งดังในยุคนั้นมาก่อน จนกระทั้งหลังเลือกตั้ง 2566 เสร็จสิ้น ปรากฎว่าพรรคก้าวไกลชนะการเลือก หลังจากนั้นมีการออกมาเปิดเผยว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แคนดิเดตนายก ถือ หุ้นitv มากถึง 42,000 กว่าหุ้น ประเด็นดังกล่าวสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้นายพิธา อดเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 กันเลยก็ว่าได้ 

 

 

เรื่องราวโยงใยทางการเมืองระหว่างการถือ หุ้นitv และปมที่ยังมีการตั้งคำถามว่า "itv" ยังเป็นสื่ออยู่หรือไม่กลายเป็นข้อสงสัยอย่างมาก เพราะตัวสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเองหยุดการออกอากาศไปกว่า 10 ปี แต่หากย้อนกลับไปในอดีต หลายคนยังจำสถานีโทรทัศน์ "itv" เป็นสถานีโทรทัศน์ที่โด่งดังและมีชื่อเสียงอีกหนึ่งช่องที่ในยุคนั้นใครไม่ดูคงไม่ได้ "itv"ยังเป็นช่องแรกที่มีการนำเสนอข่าวในช่วงต่างๆ โดยไม่มีคำว่าภาค ในรายการข่าว  สำหรับเส้นทางของ"itv" ในยุคนั้นนับว่าเป็นยุครุ่งเรืองอย่างมาก เพราะเป็นสถานีโทรทัศน์เสรีช่องแรกๆ ก่อนที่จะปิดตัวไปเพราะมีหนีสินค้างจ่าย และสุดท้ายตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง

  • จุดเริ่มต้น สถานีโทรทัศน์ "itv" ทีวีเสรี 

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์พฤษาทมิฬ ในปี 2535 สื่อโทรทัศน์ถูกควบคุมและกำกับภายใต้การดูแลของรัฐบาลทั้งหมด ซึ่งสุ่มเสี่ยงทำให้เกิดการบิดเบือนในการนำเสนอข่าวได้ ดังนั้นในช่วงรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้เปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น  กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งนำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีช่องใหม่ และเมื่อวันที่ 3 ก.ค. ปี 2538 พร้อมทั้งเชิญชวนให้บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมถือหุ้น และบริหารสถานีฯ

 

 

"itv" เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2539 เวลา 19.00 น. โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอ ข่าวภาคค่ำประจำวัน เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรก ที่เรียกรายการข่าวโดยไม่มีคำว่าภาคและมีชื่อสถานีเรียกทุกครั้ง เช่น ข่าวเช้าไอทีวี ข่าวเที่ยงไอทีวี ข่าวค่ำไอทีวี โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานี คือ กิตติ สิงหาปัด และ เทพชัย หย่อง ออกอากาศทางช่อง หมายเลข 26  ต่อมาได้ย้ายไปออกอากาศทางช่อง 29 โดยมีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นเจ้าของคลื่นความถี่

  • ยื่นจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนก่อนเปลี่ยนหลายมือจนถึงวันสิ้นสุดออกอากาศ 

1.ปี 2541  บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และในราวปี 2542 ภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 

 

2.ปี 2543  บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นของ "itv" ในช่วงเปลี่ยนผ่านได้สร้างความไม่พอใจแก่พนักงานค่อนข้างมาก ส่งผลให้นายเทพ หย่อง  ผู้อำนวยการสถานี ขณะนั้นตัดสินใจลาออก หลังจากนั้นนายไตรภพ ลิมปพัทธ์ และบริษัท กันตนา กรุ๊ป ได้ทำ MOU และเข้าถือหุ้มใน  "itv" ร้อยละ 10 ส่งผลให้ นายไตรภพ กลายเป็นผู้อำนวยการสถานีในทันที  ในช่วงนั้นเรียกต้องบอกว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสถานีโทรทัศน์ไอทีวีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการขยับเวลาออกอากาศข่าวค่ำ การปรับผังรายการต่างๆ แต่ท้ายที่สุดบจก.บอร์น ซึ่งมีนายไตรภพเป็นกรรมการผู้จัดการคณะนั้น  และ บมจ.กันตนา กรุ๊ป ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตกลงไว้ในบันทึกความเข้าใจได้ ส่งผลให้กลายเป็นแค่ผู้เช่าช่องสถานีออกกาศและนายไตรภพก็ถือว่าสิ้นสุดการเป็นผู้อำนวยการช่องด้วย

 

3.ปี 2549 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องชดเชยความเสียหายเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท ปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญา  230 ล้านบาท ปรับลดเงินรับประกันผลประโยชน์ขั้นต่ำ และให้คืนเงินผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่ผู้คัดค้านได้ชำระระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนการปรับเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงในผังรายการ และรายการข่าว 50:50 รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดยสปน.  แต่ศาล ปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดให้ สปน.ลดค่าสัมปทานเป็นเงิน  

 

4.13 ธ.ค. ปี 2549 ศาลปกครองสูงสุดก็พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานสำหรับเช่าเวลาออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับผังรายการเป็นสาระและบันเทิง 70:30   "itv" ยังต้องเสียค่าปรับจากการผิดสัญญาสัมปทาน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานในแต่ละปี คิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มมีการปรับผังรายการ รวมระยะเวลา 2 ปี

 

5.หลังจากปรับผังรายการออกอากสส่งผลให้เรตติ้งของ "itv" ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2549  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ ชำระค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงินรวม 464 ล้าน 5 แสนบาท กรณีทำผิดสัญญาเรื่องปรับผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท รวมเงินที่ "itv" ต้องจ่ายให้สำนักปลัดเป็นกว่า 1 แสนล้านบาท 


6.ปี 2550 มีการพยายามเจรจาต่อรองกันหลายรอบ แต่ท้ายที่สุดวันที่ 7 มี.ค. 2550 คณะรัฐมนตรีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 00.00 น. รวมระยะเวลาการออกอากาศทั้งสิ้น 10 ปี 8 เดือน 6 วัน 5 ชั่วโมง


7.การต่อสู้ระหว่าง itv และ  สปน.ยังไม่จบแต่การปิดสถานีเท่านั้น เพราะยังมีข้อพิพาทเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนท้ายที่สุดในปี 2559 คณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาดว่า สปน.บอกเลิกสัญญาสัมปทานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่ itv และ itv ต้องชำระค่าตอบแทนส่วนต่างเช่นกัน คำชี้ขาดจึงสรุปว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีหนี้ที่ต้องชำระต่อกัน

 

 

 

  • ทำเนียบผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ "itv" 

-ยุคแรก นายเทพชัย หย่อง เป็นผู้อำนวยการสถานีในปี 2538-2543
-ยุคที่สอง นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ เป็นผู้อำนวยการสถานีในปี 2546 
-ยุคสุดท้ายก่อนปิดสถานี  นายทรงศักดิ์ เปรมสุข และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เข้ามาเป็นผู้บริหารสถานี

 

 

อ้างอิง : wikipedia