ข่าว

ย้อนคำวินิจฉัย 'หุ้นสื่อ' ปี 53 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตีความตามตัวอักษร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดคำวินิจฉัยคดี 'หุ้นสื่อ' ปี 53 กับคำร้องตรวจสอบคุณสมบัติสส. พิธาอาจมีปัญหา หาก 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ยังยึดหลักตีความตามตัวอักษร

ย้อนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 12-14 / 2553เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553  สั่งถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 6 ราย จาก 45 ราย
ที่ถูกร้องว่าขาดคุณสมบัติ เพราะถือหุ้นต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550  มาตรา265 วรรคหนึ่ง (2) และ (4) ประกอบมาตรา 48  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  ประเภท คือ

  1. บริษัทที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม หรือ ที่เรียกกันว่า หุ้นสื่อ

     
  2. บริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7:1ให้สมาชิกภาพของนายสมเกียรติ ฉันทวานิช ผู้ถูกร้องที่ 19, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ผู้ถูกร้องที่ 30, นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ผู้ถูกร้องที่ 33, นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ผู้ถูกร้องที่ 40, ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช ผู้ถูกร้องที่ 42 และหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรีผู้ถูกร้องที่ 44 สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 (6) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย

 

ใจความสำคัญของคำวินิจฉัย

 

รัฐธรรมนูญห้ามการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ต้องห้าม โดยไม่ได้ระบุว่า จะต้องถือหุ้นจำนวนเท่าใดและไม่ได้ระบุว่า จะต้องมีอำนาจบริหารงานหรือครอบงำกิจการหรือไม่ ฉะนั้น การถือหุ้นเพียงหุ้นเดียว ก็ย่อมเป็นการถือหุ้นตามความหมายในรัฐธรรมนูญแล้ว  แม้ผู้ถือหุ้นจะไม่มีอำนาจบริหารหรือครอบงำกิจการก็ตาม

 

การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามการถือหุ้นไว้ชัดเจน ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีช่องทางที่จะใช้หรือถูกใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบในทางใดทางหนึ่งดังนั้น แม้การซื้อหุ้นของผู้ถูกร้องที่ 19, ที่ 30, ที่ 33, ที่ 40, ที่ 42 และที่ 44 หรือคู่สมรสจะเป็นการซื้อในตลาดหลักทรัพย์

 

และแม้จะเป็นการลงทุนระยะสั้นหรือเพื่อเก็งกำไรก็ตาม ก็เป็นการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) และวรรคสาม ประกอบมาตรา 48 แล้วแต่กรณี

 

ทั้งหมดนี้ เป็นกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้วเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวม 45 คน มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 119 (5) และมาตรา 106 (6) ประกอบมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4)

 

และวรรคสาม ประกอบมาตรา 48 และส่งเรื่องไปยังผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่อมาผู้ร้องทั้งสามส่งคำร้องมายังศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 91 เพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาและมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสี่สิบห้า คนสิ้นสุดลงหรือไม่

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ