ข่าว

กา 'บัตรเลือกตั้ง' 2566 ต้องทำเครื่องหมายยังไงถึงจะไม่กลายเป็นบัตรเสีย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลือกตั้ง 66 กา 'บัตรเลือกตั้ง' 2566 ต้องทำเครื่องหมายยังไงบ้างถึงจะไม่กลายเป็นบัตรเสีย เช็กก่อนเข้าคูหา 14 พ.ค. 66

14 พ.ค. 2566 วันเลือกตั้งจริงที่ประชาชนคนไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์จะต้องเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อเลือกรัฐบาลชุดใหม่

 

 

สำหรับการเลือกตั้งรอบนี้ประชาชนจะได้บัตรเลือกตั้ง จำนวน 2 ใบ คือ "บัตรเลือกตั้ง"  สีม่วงสำหรับเลือก สส. แบบแบ่งเขต และ "บัตรเลือกตั้ง"  สีเขียวสำหรับเลือก สส. แบบบัญชีรายชื่อ หรือเลือกพรรคนั้นเอง

"บัตรเลือกตั้ง"  สีม่วง เป็นบัตรเลือกตั้ง สส.แบบแบ่งเขต ในบัตรจะระบุหมายเลขผู้สมัคร และช่องสำหรับกากบาทเท่านั้น

 

ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง

 

 

"บัตรเลือกตั้ง" สีเขียว เป็นบัตรเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ มีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง

 

ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง

นอกเหลือไปจากสีบัตรที่จะต้องจดทำให้ดีแล้วการทำเครื่องบน "บัตรเลือกตั้ง" 2566 ก็สำคัญเช่นกัน เพราะหากทำเครื่องหมายผิดจะกลายเป็น บัตรเสียได้ทันที สำหรับเครื่องหมายที่ทำแล้วจะส่งผลให้ บัตรเลือกตั้ง หลายเป็น บัตรดี บัตรเสีย จะมีลักษณะดังนี้

 

 

บัตรดี

ผู้เลือกตั้งจะต้องทำเครื่องหมายในการลงคะแนน ต้องเป็นเครื่องหมาย "กากบาท" หรือเครื่องหมายที่มีจุดตัดตรงกลาง และต้องอยู่ในช่องทำเครื่องหมาย และต้องมีเครื่องหมายเดียวเท่านั้น 

 

 

บัตรเสีย

  • บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน
  • บัตรที่ลงคะแนนเกิน 1 เครื่องหมาย
  • บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจาก กากบาท เช่น เครื่องหมายขัดถูก รูปหัวใจ จุด วงกลม สามเหลียม เครื่องหมายดอกจันทร์ รูปดาว
  • บัตรที่ลงคะแนนในช่องที่ไม่มีผู้สมัคร หรือบัตรที่กากบาทในช่องที่ไม่มีผู้สมัคร หรือผู้สมัครที่ถูกถอนชื่อออกจากประกาศรายชื่อผู้สมัคร
  • ทำเครื่องหมายนอกช่อง และบัตรที่มีการเขียนตัวอักษรลงไป
  • ไม่ใช่บัตรที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบให้

 

ตัวอย่างบัตรดี บัตรเสีย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ