ข่าว

เช็ก 'วิธีลงคะแนนเลือกตั้ง 2566' บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ กาอย่างไรให้ถูก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกาะติดเลือกตั้ง : เช็ก 'วิธีลงคะแนนเลือกตั้ง 2566' ทุกขั้นตอน แบบละเอียด 'บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ' กาอย่างไรให้ถูก ก่อนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สส.

“เลือกตั้ง 2566” : 4 ปีมีครั้ง ที่ประชาชนคนไทย จะได้ออกไปใช้สิทธิ ลงคะแนนเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ตามระบอบประชาธิปไตย ที่หน่วยเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ตนเองมีสิทธิ ในวันที่ 14 พ.ค. 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.

 

 

 

“วิธีลงคะแนนเลือกตั้ง 2566” มีขั้นตอนอย่างไร ใบขับขี่ใช้เลือกตั้งได้ไหม บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แยกลงคะแนนอย่างไร เช็กวิธี และการเตรียมตัวก่อนไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยไม่รู้ตัว

 

วิธีลงคะแนนเลือกตั้ง 2566

 

เตรียมตัวก่อนไปถึงเขต/สถานที่เลือกตั้ง

 

1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช็กสิทธิเลือกตั้ง สถานที่ และหน่วยเลือกตั้ง รวมถึงลำดับที่ในบัญชีของตนเอง อย่าลืมพกบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ราชการออกให้และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักไปด้วย เช่น หนังสือเดินทางใบขับขี่ หรือจะโหลดแอป ThaID เพื่อแสดงบัตรประจำตัวประชาชนแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

 

 

2. เช็กเบอร์พรรคการเมือง เพื่อเลือก สส. แบบบัญชีรายชื่อ (บัตรสีเขียว) และเบอร์ผู้สมัคร สส. แบบแบ่งเขต (บัตรสีม่วง) ของเขตที่เรามีสิทธิเลือกตั้ง

 

 

วิธีลงคะแนนเลือกตั้ง 2566

 

 

1. ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้ง

2. ยื่นหลักฐานแสดงตน บัตรประชาชน หรือหลักฐานที่ราชการ หรือหน่วยงานรัฐออกไว้ แต่ต้องมีรูปถ่ายและเลขบัตรประชาชน

3. ลงชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือในบัญชีรายชื่อ

4. รับบัตรเลือกตั้ง

5. ลงชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือบนขั้วบัตรเลือกตั้ง รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ (บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ)

6. เข้าคูหา ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องทำเครื่องหมาย

  • เลือก สส. แบบแบ่งเขต ได้ 1 เบอร์
  • เลือก สส. แบบบัญชีรายชื่อ ได้ 1 เบอร์
  • ไม่ต้องการเลือกพรรคการเมืองใด

7. พับบัตรเลือกตั้งใส่ในหีบบัตร

 

 

บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

 

  • บัตรเลือกตั้งสีม่วง คือ บัตรเลือกตั้ง สส.แบบแบ่งเขต ซึ่งมีหมายเลขผู้สมัคร แต่ไม่มีชื่อผู้สมัคร และโลโก้พรรค โดยจะต้องกากบาทในช่องหมายเลขผู้สมัครที่ต้องการเลือกเพียง 1 ช่องเท่านั้น หรือเลือกกากบาทในช่อง “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด”
  • บัตรเลือกตั้งสีเขียว คือ บัตรเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ มีสัญลักษณ์/โลโก้ ของพรรคการเมือง และมีชื่อของพรรคการเมือง โดยจะต้องกากบาทในช่องหมายเลขพรรคที่ต้องการเลือกเพียง 1 ช่องเท่านั้น หรือเลือกกากบาทในช่อง “ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด”

 

 

สรุป บัตรเลือกตั้ง 1 ใบ เลือกกากบาทได้เพียง 1 หมายเลข และห้ามใช้เครื่องหมายอื่นที่ไม่ใช่กากบาทในช่องลงคะแนน มิเช่นนั้นจะถือเป็นบัตรเสียทันที

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ