ข่าว

อดใจรอ 'เนชั่นโพล' 18 เม.ย.นี้ เปิดผลสำรวจครั้งที่1

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'เนชั่นโพล' เตรียมเปิดผลสำรวจครั้งที่ 1 วันอังคารที่ 18 เม.ย.66 นี้ ด้าน ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น" เผยเบื้องหลังความยากการสำรวจแบบเคาะประตูบ้าน

ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้เครือเนชั่น จับมือคณาจารย์ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์องค์กรอิสระ และภาคเอกชน "เกาะติด" หาคำตอบแบบ "เจาะลึก"

 

เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลเลือกตั้งน่าเชื่อถือมากที่สุด ลึกที่สุด เข้าถึงสาธารณชนมากที่สุด ภายใต้โครงการความร่วมมือ “Road to The Future : เลือกตั้ง 66 อนาคตประเทศไทย” 

อดใจรอ \'เนชั่นโพล\' 18 เม.ย.นี้ เปิดผลสำรวจครั้งที่1

หนึ่งในโปรเจ็กต์นี้คือ "เนชั่นโพล" ที่มี ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (นมร.) นำทีมในฐานะ "ผู้อำนวยการเนชั่นโพล" 

หลังจากการแถลงเปิดตัวโครงการ “Road to The Future : เลือกตั้ง 66 อนาคตประเทศไทย” เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 ทีมงานเนชั่นโพล ได้ลงพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเก็บข้อมูลการเลือกตั้ง

ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (นมร.)  ในฐานะ "ผู้อำนวยการเนชั่นโพล"

โดยเป็นการสำรวจความเห็นของพี่น้องประชาชนแบบ “ลงพื้นที่จริง - เคาะประตูบ้านจริงๆ” จากการสุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการทางสถิติ เพื่อเตรียมประกาศผลโพลอย่างเป็นทางการครั้งที่ 1 ในวันที่ 18 เมษายนนี้

 

จากนั้นจะประกาศผลโพลโค้งสุดท้ายช่วงก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้ง 8 วันเป็นครั้งที่ 2 ทั้ง 400 เขต รวมกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจกว่า 150,000 ตัวอย่าง มากที่สุดในประวัติศาสตร์การทำโพลการเมืองของประเทศไทย

เบื้องหลังการทำเนชั่นโพล

 

ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในฐานะผู้อำนวยการ “เนชั่นโพล” เปิดเผยถึงจุดเด่นของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางตรงถึงบ้าน พร้อมถอดบทเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นว่า การทำโพลของเนชั่น เลือกวิธีการ “เดินสำรวจ” ซึ่งแตกต่างจากการใช้โทรศัพท์ที่ต้องใช้การสุ่มเบอร์โทร

 

แต่บางคนไม่มีเบอร์โทรศัพท์ เช่น ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้าน หรือโทรไม่ติด ก็จะทำให้ได้ผลที่แตกต่างออกไป ซึ่งการลงพื้นที่สำรวจถึงบ้าน จึงมีความแม่นยำสูงมากเมื่อนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลตามหลักวิชาการ

 

สำหรับความยากลำบากในการทำผลสำรวจ มีหลากหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาการทำโพลสำรวจ หากมาเช้าเกินไปประชาชนที่จะต้องไปสำรวจก็อาจจะไม่พร้อม หรือหากไปช่วงค่ำเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่ออาสาสมัคร

อดใจรอ \'เนชั่นโพล\' 18 เม.ย.นี้ เปิดผลสำรวจครั้งที่1

และในช่วงนี้ที่อากาศร้อนมาก จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพของอาสาสมัครได้ จึงต้องเลือกช่วงเวลาสาย หรือช่วงเย็น ที่ประชาชนอยู่ประจำพื้นที่มากที่สุด

 

หรือในบางกรณีที่ทราบมาคือ ชาวบ้านเลี้ยงสุนัขไว้จำนวนมาก จนอาสาสมัครไม่สามารถลงไปสอบถามได้ ซึ่งกรณีนี้ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าของบ้านเดิน ออกมาตอบแบบสำรวจด้วยตัวเอง

 

หรือบางพื้นที่ที่เปลี่ยน ก็ต้องเลือกช่วงเวลาลงสำรวจ หรือใช้อาสาสมัครมากกว่าปกติเพื่อความปลอดภัย

 

“การลงพื้นที่สำรวจโพลโดยใช้อาสาสมัคร จึงมีปัญหาที่หน้างานให้ได้แก้ไขอยู่ตลอดเวลา และเพื่อความเรียบร้อยในการทำงานจึงได้ให้อาสาสมัครแขวนบัตรไว้ตลอดเวลาที่ลงพื้นที่ ซึ่งอาสาสมัครกว่า 1,000 คนที่ลงพื้นที่นั้นจะต้องมีความปลอดภัยมากที่สุด”

 

พร้อมทั้งได้ทำเรื่องสวัสดิการให้กับอาสาสมัครทุกคน รวมทั้งจัดอบรมวิธีการเข้าไปพูดคุยกับประชาชนเพื่อสอบถามข้อมูลนำไปประกอบผลโพล โดยจะใช้วาจาที่สุภาพ แนะนำตัวให้ชัดเจน และเป็นกันเองกับพื้นที่ที่เข้าไปสำรวจ

อดใจรอ \'เนชั่นโพล\' 18 เม.ย.นี้ เปิดผลสำรวจครั้งที่1

หากมีประชาชนไม่พร้อมตอบแบบสอบถาม ก็จะไม่มีการรบเร้าแต่อย่างใด แต่ก็จะหาคนถัดไปในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งยังถูกหลักการสุ่มตัวอย่างอยู่

 

“หากมีประชาชนไม่พร้อมตอบแบบสอบถาม ก็จะไม่มีการรบเร้าแต่อย่างใด แต่จะหาคนถัดไปในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งยังอยู่ในหลักการสุ่มตามหลักวิชาการ และสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา เป็นทีมงานหลักในการทำผลสำรวจครั้งนี้ และมีประสบการณ์การทำโพลสำรวจมากว่า 10 ปี มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และสามารถทำให้ผลโพลมีความถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด”

 

นอกจากนี้ “สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา” ซึ่งเป็นทีมงานหลักในการทำโพลสำรวจครั้งนี้ มีประสบการณ์การทำโพลมากว่า 10 ปี มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และสามารถทำให้ผลโพลมีความถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด

 

สำหรับ “เนชั่นโพล” เมื่อเทียบกับผลสำรวจของโพลสถาบันอื่นแล้ว มั่นใจว่ามีความแม่นยำ จากการร่วมมือกันระหว่าง สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ร่วมกับ “เนชั่นทีวี 22” ทำผลสำรวจการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครเมื่อช่วงปีที่แล้ว ในการจัดอันดับความนิยมผู้ลงสมัครในครั้งนั้น สามารถทำออกมาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก็ได้ใช้อาสาสมัครลงพื้นที่เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจากการเฝ้าสังเกตของ “ทีมข่าวเนชั่นทีวี 22” พบว่า ยังมีปัญหาในบางจุด อาทิ ชาวบ้านยังไม่รู้เรื่องการแบ่งเขต , ในพื้นที่มีประชากรแฝง ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำแบบสำรวจได้ , ประชาชนยังไม่รู้นโยบายของพรรคการเมือง เป็นต้น

 

โดยการทำผลสำรวจเนชั่นโพลจะทำ 2 รอบ โดยรอบแรกจะรวบรวมผลโพลก่อนวันที่ 11 เมษายนนี้ ส่วนในช่วงที่สองจะต้องแล้วเสร็จภายในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก NationTV

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ