ข่าว

ความเห็นปม ยกเลิกเกณฑ์ทหาร 'ชัยวุฒิ'ย้ำเป็นการเสียสละเพื่อชาติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มุมมองความเห็น นโยบาย ยกเลิกเกณฑ์ทหาร 'ชัยวุฒิ' ชี้เป็นความจำเป็นด้านความมั่นคง ต้องปลูกฝังความรักชาติ เสียสละ ด้าน 'พริษฐ์'ระบุ ต้องปรับเป็นสมัครใจ 100 % ชี้ การบังคับเกณฑ์ทำสูญเสียอาชีพและโอกาส

รายการคมชัดลึก เนชั่นทีวี ได้พูดคุยเกี่ยวกับนโยบายของพรรคการเมือง ที่น่าสนใจและมีการพุดถึง คือนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงมีการเปิดประเด็นรายการในหัวข้อ พปชร. VS ก้าวไกล มองต่าง “เลิกเกณฑ์ทหาร-แก้ 112

รายการคมชัดลึก เนชั่นทีวี ประเด็น พปชร. VS ก้าวไกล มองต่าง “เลิกเกณฑ์ทหาร-แก้ 112

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เพราะมีความไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว ที่ให้ข้อมูลจ่างๆ ที่คิดว่า ไม่ถูกต้อง และต้องการนำเสนอข้อมูลให้เห็นว่าการเกณฑ์ทหารยังมีความจำเป็นอยู่ ด้วยหลักใหญ่ต้องมองเรื่องความมั่นคงของประเทศ ที่จะอยู่ได้ เศรษฐกิจ ประชาชนอยู่ดีกินดี จะต้องมาจากสิ่งแรกประเทศต้องมั่นคง

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ

หัวใจหลักก็คือกองทัพต้องเข้มแข็ง ในประเทศกลุ่มอาเซียนก็มีการพัฒนากองทัพให้เข้มแข็ง เพื่อให้ภูมิภาคมีความมั่นคงทางด้านการทหาร โดยเฉพาะในปัจจุบันมีเรื่องของความขัดแย้งกันระหว่างมหาอำนาจ และมีการเกิดสงครามในทวีปยุโรป ซึ่งประเทศในยุโรปก็มีความตื่นตัวในด้านการทหารกันอย่างมาก เป็นภัยที่จะคุกคามโลกอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การมีกองทัพที่เข้มแข็ง มีความมั่นคงภายในประเทศ คิดว่าเป็นความสำคัญอันดับแรก 

ต่อคำถามที่ว่าหากเปลี่ยนจากการเกณฑ์ทหาร มาเป็นรูปแบบการสมัครใจ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ในปัจจุบันก็มีรูปแบบความสมัครใจอยู่แล้ว ปี 2565 มีการสมัคร 27,000 กว่าคน เหลือจับใบดำใบแดง 3 หมื่นคน จากการความต้องการ 58,000 คน  แม้จะมีการสมัครใจแต่ยังไม่เพียงพอกับการวางแผนในการใช้งาน 
ส่วนในการที่ทำให้สูญเสียโอกาสทางหน้าที่การงาน ก็เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว เป็นข้อเท็จจริง ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง ทหารไม่พอ ก็ต้องนำประชาชนกลุ่มหนึ่งมาฝึกเพื่อเป็นทหารสำรอง รวมทั้งเป็นการฝึกวินัย ความพร้อม ถ้าเกิดมีภาวะสงคราม และเป็นการปลูกฝังค่านิยมในการเสียสละเพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังค่านิยมรักชาติ เสียสละเพื่อชาติ เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมายาวนาน และทำพให้มีประเทศที่เข้มแข็งมาถึงวันนี้ ในเรื่องของการสูญเสียงาน ในส่วนนี้ก็เป็นงาน เพื่อความมั่นคงของชาติ เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ถูกเกณฑ์ออกไป เพื่อไปทำหน้าที่ในกองทัพ จำนวนทหารเรื่องความมั่นคง มากไปหรือน้อยไป คงจะตอบแทนกองทัพไม่ได้ แต่ทางกองทัพก็ต้องมีการวางแผนพัฒนากองทัพ จึงเป็นที่มาว่าจะใช้ทหารเกณฑ์เท่าไหร่ 

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการรณรงค์และการสื่อสารนโยบาย พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ในเรื่องขอการนำเสนอนโยบายการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ไม่ทำให้กระทบต่อความมั่นคง หรือทำให้กองทัพเข้มแข็งน้อยลง ข้อเสนอนี้ไม่ละเลิกต่อความสำคัญของความมั่นคง และในหลายประเทศทั่วโลกที่มีกองทัพ ที่ถูกจัดอันดับว่ามีความเข้มแข็งระดับต้นๆของโลก ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีการเกณฑ์ทหาร การมีกองทัพที่เข้มแข็ง ไม่จำเป้นต้องใช้การเกณฑ์ทหาร แต่ใช้การสมัครใจได้ 

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการรณรงค์และการสื่อสารนโยบาย พรรคก้าวไกล
การเสนอให้มีการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ของพรรคก้าวไกล ไม่ได้เท่ากับการเสนอไม่ให้มีกองทัพ ต้องการให้ยกเลิกการบังคับเกณฑ์แต่ให้ใช้วิธีการสมัครใจ และการที่มีการให้สมัครใจสมัครเป็นทหาร ไม่ได้หมายความว่ามีระบบสมัครใจ 100 % เมื่อยอดผู้สมัครใจไม่เพียงพอต่อยอดที่กองทัพต้องการ ก็ยังมีการบังคับเกณฑ์อยู่ ที่ก้าวไกลนำเสนอคือต้องใช้วิธีการสมัครใจ 100 % ไม่มีการบังคับเกณฑ์ผู้ที่ไม่สมัครใจ ด้วยเหตุผลที่ก้าวไกลมองเห็น มีความเสียโอกาส 2 ระดับ  ระดับปัจเจกบุคคล ทำให้คนๆหนึ่งเสียเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สูญเสียโอกาสในความก้าวหน้าของการงาน สูญเสียโอกาสที่อยู่กับครอบครัว

ตนเคยไปรับราชการทหารอยู่ 6 เดือน มีเพื่อนพลทหารในค่ายหลายคน ซึ่งหลายคนหน้าที่การงานกำลังไปได้ดี มีเงินเดือนที่สูงกว่าที่ได้รับจากการเป็นทหาร ก็ต้องลาออกจากงาน พอกลับออกไปงานที่เคยทำอยู่ก็อาจจะสูญเสียไปแล้ว รวมทั้งหลายคนยังมีลูกเล็ก ก็สูญเสียเวลาที่จะใช้กับลูกไป 


การสูญเสียอีกประการ คือ การสูญเสียระดับประเทศ ในช่วงเวลาที่สังคมกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย สัดส่วนวัยทำงานน้อยลง การบังคับเกณฑ์ทหาร การดึงคนจำนวนไม่น้อยออกจากตลาดแรงงาน ทำให้เรามีสัดส่วนของวันทำงานลดน้อยลงไปอีก กำลังขับเคลื่อนมูลค่าทางเศรษฐกิจก็ลดน้อยลงไปอีก 


ประเทศที่มีการเกณฑ์ทหารมีจำนวนที่น้อยกว่าประเทศที่ใช้วิธีสมัครใจ บางประเทศที่มีการเกณ์ทหาร 100 % อย่าง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เป็นเพราะมีเหตุผลเฉพาะ สิงคโปร์มีจำนวนประชากรที่น้อย และ เกาหลีใต้ มีภัยความมั่นคงจากเกาหลีเหนืออย่างชัดเจน ในเรื่องของความมั่นคง ตัวเลขที่กองทัพขอทหารเกณฑ์ในแต่ละปี 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ระหว่าง 9 หมื่นถึง 1 แสนคน อีกจำนวนคือตัวเลขยอดของผู้สมัครใจ 10ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นคน เมื่อไม่ได้ยอดตามต้องการ ก็มีการบังคับเกณฑ์จำนวน 6 หมื่นคน สิ่งที่ก้าวไกลเสนอคือการทบทวนตัวเลข 2 ส่วนใหม่ เหตุผลที่เชื่อว่าการใช้ตัวเลขของยอดความสมัครใจ เพื่อพอต่อความมั่นคงของประเทศ

 

เหตุผลแรก ตัวเลข 1 แสนคนที่กองทัพของแต่ละปีสูงเกินไป เปรียบเทียบกับประเทศอื่น 20ปีที่ผ่านมา สัดส่วนจำนวนทหารแต่ละประเทศลดลง ด้วยภัยคุกคาม และความมั่นคงมีการเปลี่ยนรูปแบบ ในขณะที่ประเทศไทยกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งการเปรียบเทียบกับประเทศที่มีกองทัพที่เข้มแข็ง สามารถลดจำนวนทหารได้ถึง 30 -40 % เหตุผลที่สอง จำนวน 1 แสนคนที่กองทัพขอในแต่ละปี ไปทำหน้าที่อะไรบ้าง ถูกนำไปงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เช่น ยอดผี มีคนที่อาจจะโดนใบแดงเข้าไป แต่ตัวไม่ได้อยู่ในค่าย เอาเงินเดือนให้กับผู้บังคับบัญชา และเรื่องพลทหารรับใช้ รวมอยู่ใน 1 แสนคนที่กองทัพขอ เข้าไปแล้วก็ไม่ได้ทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับความมั่นคง

 

และเมื่อมาวิเคราะห์ดูดีๆ งานหลายอย่างสามารถทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยี วิธีการเพิ่มยอดสมัครใจเข้ารับราชการทหาร มองว่าต้องมีการยกระดับชีวิตพลทหาร เช่น เรื่องเงินเดือน ทำให้สอดคล้องกับค่าครองชีพมากขึ้น ไม่โดนหัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประกันชีวิต การรักษาพยาบาล เหมือนกับข้าราชการทั่วไป ทุนการศึกษากับบุตรหลาน เป็นต้น ความก้าวหน้าในอาชีพ ถ้าเป็นพลทหารแล้ว การไปเรียนต่อเพื่อเป็นนายสิบขึ้นไป เปิดกว้างให้แค่ไหน ความปลอดภัยในค่ายทหาร 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ