ข่าว

"เลือกตั้ง 66" พรรคการเมืองสาด นโยบายประชานิยม หวั่นใช้งบสูง 3.3 ล้านล้าน

"เลือกตั้ง 66" พรรคการเมืองสาด นโยบายประชานิยม หวั่นใช้งบสูง 3.3 ล้านล้าน

05 เม.ย. 2566

"เลือกตั้ง 66" หลายพรรคการเมืองโหม นโยบายประชานิยม หวังโกยคะแนนชนะเลือกตั้ง แต่อาจก่อหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น ระบุต้องใช้เงินมากถึง 3.3 ล้านล้าน เตือนสติประชาชนตัดสินใจก่อนเข้าคูหา

เหลือเวลาอีก 39 วันสำหรับการ เลือกตั้ง รัฐบาลใหม่ ในช่วงนี้ประชาชน หรือ โหวตเตอร์คงเห็นว่าหลายพรรคการเมืองเริ่มสาดนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อเรียกคะแนนเสียงมากมาย โดยเฉพาะ นโยบายประชานิยม ที่เรียกว่าได้ใจประชาชนคนไทยไปเต็มๆ เพราะ นโยบายประชานิยม จะสามารถช่วยฉุดให้คนไทยลืมตาอ้าปากได้ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ โดยในเวทีเสวนาในหัวข้อ "อ่านเกมเลือกตั้ง66 นโยบายใครปัง ใครพัง?" จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สื่นมวลชน ได้ร่วมแสดงความเห็น รวมทั้งให้แนวทางสำหรับการ "เลือกตั้ง 66" ครั้งนี้ได้อย่างน่าสนใจ 

 

 

โดยนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอย่างมาก โดยเฉพาะ นโยบายประชานิยม แจกเงิน พักหนี้ ประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งนโยบายเหล่านี้มีข้อน่ากังวล โดยเฉพาะการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลกว่า 3.3 ล้านล้านบาท สำหรับเป็นเม็ดเงินในการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งในอนาคตนักวิชาการยังชี้ให้เห็นว่า นโยบายประชานิยมจะก่อให้เกิดหนี้สาธารณะ และตกทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานที่ต้องแบกรับภาระต่อ ดังนั้นก่อนที่ประชาชนจะตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง และเลิกคนที่จะมีเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจำเป็นจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน   

ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี หัวหน้าทีมการปฏิรูปกฎหมาย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) อธิบายถึงปัญหาของนโยบายสาธารณะของแต่ละพรรคการเมือง และการเลือกนโยบายของแต่ละพรรคไว้อย่างน่าสนใจ ว่า  สำหรับการ "เลือกตั้ง66"  มีพรรคการเมืองที่สื่อสารนโยบายออกมามากมาย ดังนั้นประชาชนจะต้องมีความรู้และทำความเข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจในการเลือกพรรค หรือ สส. ขณะนี้พรรคการเมืองได้มีการนำเสนอนโยบายหาเสียงประชานิยมจำนวนมาก แต่ยังไม่มีใครเสนอนโยบายที่แก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง ซึ่งนโยบายประชานิยมเหล่านั้นมีการใช้งบประมาณจำนวนมาก  และในอนาคตอาจจะก่อให้เกิดหนี้  สาธารณะจำนวนมาก อาจจะส่งผลต่ออนาคต ดังนั้นประชาชนจะต้องมีการใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้งครั้งนี้ให้รอบครอบเพื่อป้องกันปัญในอนาคต  เพราะปัญหาการใช้เงินนอกงบประมาณนำมาซึ่งปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องความโปร่งใส เพราะงบพวกนี้จะไม่ผ่านสภา 

 

ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี
 

ประชาชนควรจะพิจารณาว่านโยบายที่ควรจะเลือกจะต้องเป็นนโยบายที่แก้ปัญหาระดับโครงสร้าง และไม่ควรจะเลือกนโยบายที่เป็นแคการปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น โดย ดร.กิรติพงศ์  ได้แนะแนวทางสำหรับ "เลือกตั้ง 66" ครั้งนี้ ดังนี้ 

 

-นโยบายไม่ควรสร้างภาระทางการคลังที่เกินตัว เพราะจะสร้างหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะการใช้เงินนอกงบประมาณ หรือ มาตรการกึ่งการคลัง เพราะเงินเหล่านี้จะก่อให้ภาระหนี้แก่ลูกหลาน

 

-นโยบายไม่ควรสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวินัยการเงินและการคลัง เช่น นโยบายประกาศพักหนี้ หยุดหนี้ เพราะสร้างสัญญาณที่ไม่ถูกต้อง
รวมถึงนโยบายเครดิตบูโรก่อให้เกิดผลสะท้อนกลับที่ไม่ดี

 

-ไม่ควรเน้นนโยบายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชน แต่ไม่มีนโยบายกลไกช่วยยกระดับพัฒนาขีดความสามารถของคนไทย เช่น ประกันราคาข้าว ที่ไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ในการทำการเกษตร ดังนั้นควรมีนโยบายที่จะใช้ในการพัฒนาระบบการทำเกาษตร Smart Farming 

 

-การพัฒนารีสกิล (Re Skill) อัพสกีล (Up Skill) แรงงานไทย เพราะขณะนี้แรงงานไทยเสียความสามารถด้านการแข่งขัน ทำอย่างไรที่จะเพิ่มความสามารถ 

 

อย่างไรก็ตามขณะนี้พรรคการเมืองยังไม่ฉายภาพที่จะมาแก้ปัญหาระดับโครงสร้าง ดังนั้นนโยบายที่ดีจะต้องสะท้อนว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้เกิดผลที่ดี หลายเรื่องยังติดข้อกฎหมายที่ยังเป็นอุปสรรคที่ต้องแก้และไม่ใช่เรื่องง่าย ประชาชนผู้เลือกตั้งต้องพิจารณาให้ดี 

 

  • สร้างประชาธิปไตยและความตื่นตัวของพลเมือง 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดีพนมยงค์ กล่าวระหว่างเสวนาว่า แม้ว่านโยบายต่างๆ จะเป็นประโยชน์ แต่การมุ่งในการหาเสียงมากเกินไป โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม ที่จำเป็นจะต้องมีการใช้งบประมาณจำนวนมาก  3 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 1 เท่าของงบที่ใช้อยู่ ซึ่งหากจะใช้พรรคการเมืองต้องชี้แจ้งว่าจะเอาเงินมาจากไหน แหล่งที่มาของประมาณแน่นอนว่าหากจะเก็ยภาษีเพิ่มจะต้องดูที่ภาษีทรัพย์สิน เพราะ Vat จะขึ้นมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว ที่สุดแล้วคนที่กำหนดทิศทางของประเทศอาจจะไม่ใช่ประชาชนแต่เป็นพรรคการเมือง ทั้งนี้หากมีการกู้เพิ่มโดยไม่เพิ่มภาษี รัฐบาลและพรรคจะต้องทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น 10% ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ทางที่จะทำได้คือการกู้เงินแน่นอน 

 

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบนโยบายสาธารณะต่างๆ  นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งหมด ต้องประเมินผลกระทบ สั้น กลาง ยาว หากมีการกู้เงินเพิ่มโดยไม่เพิ่มรายได้ภาษี ถ้าไม่ถึง 10% จีดีพี จะเกิดเพดานหนี้สาธารณะ  เกิดความสูญเสียความเชื่อมั่นในลงทุนหากไม่มีการขยายความเติบโตทางเศรษฐกิจ  อีกปัญหาคือดอกเบี้ยขาขึ้น ที่ภาครัฐอุ้มอยู่ประมาณ 1.8 แสนล้าน หากต้องกู้เงินจากประชาชนโดยออกพันบัตรจะทำให้ดอกเบี้ยสูงมากยิ่งขึ้น สวนกับฐานะทางการคลังในปัจจุบันที่แบกรับนโยบายการแจกเงิน และก่อหนี้ที่ไม่คุ้มค่าอีกต่อไป เพียง 3-5 ปีข้างหน้าจะทำให้คนรุ่นหลังต้องมาแบกรับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น

 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

 

อย่างไรก็ตามนโยบายที่ พรรคการเมือง ทั้งหมดยังไม่ได้แก้ในเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย ประชากรระดับล่าง  20% ถือครองทรัพย์สินไม่ถึง 3% ส่วนแบ่งรายได้มีเพียง 3.5% ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้พบว่ากลุ่มที่เลี่ยงภาษีมากที่สุด คือกลุ่มที่ต้องเสียภาษีทรัพย์สิน ดังนั้นการเก็บภาษีทรัพย์สินจึงเป็นแนวทางลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอีกทาง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงมาก  วัฒนธรรมเป็นแบบอำนาจนิยมผสมอุปถัมภ์ ฉะนั้นหากมีการเสนอนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ทุกคนตอบสนองหมดเพราะคนส่วนใหญ่ลำบาก และคนส่วนใหญ่พึ่งพอใจกับเงินประกันรายได้เกษตรกร  

 

ดังนั้นต้องเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ ต้องอาศัยนโยบายที่แตะปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ใช้นโยบายระยะสั้นที่ได้แต่คะแนนเสียง  ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย สร้างประชาธิปไตยที่มั่นคง สร้างความเป็นสภาบัน สร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ 

 

รศ.ดร.อนุสรณ์  ระบุต่อว่า  หากวิเคราะห์นโยบายของแต่ละพรรคการเมือง พบว่ามีพรรคการเมืองเพียงไม่กี่พรรคที่ต้องเป้าในการลดช่องวางทางเศรษกิจ โดยเฉพาะการลดช่องว่างในระบบการผลิต เพื่อฟื้นเศรษฐกิจของประเทศไทย นอกจากนี้นโยบาย 

 

นอกจากนี้นโยบายที่สอดคล้องกับ SDGs(Sustainable Development Goals) หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ เป็นสิ่งที่หลายประเทศให้สัญญาว่าจะทำ และเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำ เพราะเป็นผลประโยชน์ของมนุษยชาติ และสิ่งที่คนไทยจะได้รับ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวกล้อมที่จะต้องมีนโยบายชัดเจน และขณะนี้ยังไม่มีใครเริ่มต้นที่จะพูดถึง กรุงเทพมหานครในอีก 40 ปีข้างหน้า และการย้ายเมืองหลวง เลยแม้แต่พรรคเดียว ทั้งนี้ตนเห็นว่าการกระจายอำนาจเท่านั้นที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับฐานราก 

 

 

  • ถอดบทเรียนจากสหราชอาณาจักรแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยเงินสุดท้ายไม่รอด

ด้านนายบากบั่น  บุญเลิศ รองประธานกรรมการบริหารเนชั่น กรุ๊ป และประธานกรรมการฐานเศรษฐกิจ  กล่าวว่า สำหรับการ "เลือกตั้ง 66" ซึ่งเหลือเวลาอีกแต่ไม่กี่วัน ดังนั้นประชาชนหรือโหวตเตอร์ คือ คนที่จะตัดสินว่าใครจะเป็นคนเข้ามานำพาประเทศให้หลุดพ้นจากวิกฤตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแน่นอนว่านโยบายที่นำเสนอมานั้นส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบ นโยบายประชานิยม ซึ่งตนได้มีการวิเคราะห์และถอดบทเรียนจากตัวอย่างของต่างประเทศ ดั้งนี้ 

 

1.นโยบาย ปอนด์ต่อปอนด์: ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งในประเทศมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิธีการหาเสียงมาตั้งแต่ปี 2540 มีบางพรรคเอานโยบายไปขายประชาชนเพื่อเรียกคะแนนโหวต ซึ่งยังไม่เห็นนโยบายที่จะก่อให้เกิดการปัญหาระยะยาว อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่มีนโยบายที่สนับสนุนก่อให้เกิดการจ้างงาน หลังจากนั้นเป็นนโยบายประชานิยมทั้งหมด และมีแค่มีนโยบายที่จับต้องได้เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค แต่ก็พบว่ามีปัญหาด้านงบประมาณตามมา 

 

พรรคการเมืองกว่า 80% ที่ออกนโยบาย เป็นนโยบายซึ่งหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าแทบทั้งสิ้น เช่นเงินเดือน 20,000 บาท นโยบายค่าแรง ออกหวยเพื่อ SME  นโยบายตรวจสุขภาพประจำปีฟรี  ซึ่งแน่นอนว่าเป็นนโยบายที่โดนใจ แต่พบว่านโยบายซึ่งหน้าในแบบสวัสดิการค่อนข้างมีปัญหาในระบบสวัสดิการ  จนนำมาซึ่งคำถามว่าสังคมต้องการนโยบายแบบนี้หรือไม่ เช่น ออกนโยบายที่ดินแจกโฉนดให้ประชาชนมีที่ทำกิน 

 

นายบากบั่น  บุญเลิศ

 

2.ตัวบุคคล (Maker): ตัวนักการเมืองจะต้องเป็นคนขับเคลื่อนนโยบายให้สำเร็จ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่อยู่ที่คนทำ และกลไกลของประเทศ ตัวบุคคลที่จะมาทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย บางพรรคมีอายุมากเกินไป บางพรรคไม่มีประสบการณ์ บางพรรคไม่แม้แต่รายชื่อในปาร์ตี้ลิส  พ้นการเลือกตั้งตัวบุคคลเหล่านี้อาจจะลาออกด้วยซ้ำ ดังนั้นนโยบายกับบตัวบุคคลเมื่อผนวกกันแล้ว คนไทยจะมีความหวังหรือไม่ บรรดานักการเมือง นักเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ ทั้งนี้พบว่านโยบายการเงินการคลัง 300 กว่านโยบายใช้เงินมากกว่า 3.2 ล้านล้านบาท ที่มุ่งเน้นในเรื่องของโหวตเตอร์ คะแนนเสียงที่นำมาซึ่งการชนะเลือกตั้ง 

 

 

3.ถอดบทเรียน: จากรัฐธรรมนูญ 2560 ถ้าใช้เงินต้องบอกที่มาของแหล่งเงิน มีพรรคการเมืองไหนบอกหรือไม่ว่าจะหาแหล่งเงินมาจากไหนที่จะทำให้ปังและปังไปตลอด 4 ปี พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังมาดูแลรัฐ ต้องไม่ทำให้กรอบวินัยพังจากให้สัญญาไว้ ความจริงที่คนไทยต้องตั้งสติเพื่อให้เมืองไทยดีขึ้น  ตัวอย่างสหราชอาณาจักรประเทศต้นแบบที่ประชาธิปไตยเกิดขึ้น  ริชี ซูแน็ก นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่ได้มาท่ามกลางสภาวะ เช่นเดียวกับประเทศไทย เจอวิกฤตเศรษฐกิจพังทะลาย ภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป   ริชี ซูแน็ก  ประกาศนโยบายพร้อมกับรัฐมนตรี จะใช้เงินทั้งหมด 5,600 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 236,660 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาระบบเศรษฐกกิจทันที  โดย ริชี ซูแน็ก สามารถดำรงตำแหน่งอยู่ได้แค่ 40 วัน อย่างไรก็ตามอังกฤษมีกฎหมายหากจะใช้เงินต้องบอกที่มาของเงินด้วย และต้องแจ้งต้อง สำนักวินัยทางการเงินและการคลัง office of budget sustainability ไม่สามารถชี้แจ้งของเงินที่จำนำมาใช้ได้ เพราะไม่รู้จะหาเงินจากไหนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจหดตัว สงครามรัฐเซีย-ยูเครน