ข่าว

เปิดใจ 'อภิสิทธิ์' ไม่ลงเลือกตั้ง เพื่อความเป็นเอกภาพ ปชป.

เปิดใจ 'อภิสิทธิ์' ไม่ลงเลือกตั้ง เพื่อความเป็นเอกภาพ ปชป.

22 มี.ค. 2566

'อภิสิทธิ์' ยันชัด ไม่ลงเลือกตั้ง2566 เพื่อความเป็นเอกภาพ พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมช่วยหาเสียง ระบุความเห็นตนยังไม่สอดคล้องกับพรรค

รายการ คมชัดลึก เนชั่นทีวี พูดคุยกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็น เบื้องหลัง “อภิสิทธิ์” ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์ ปชป.  หลังมีความชัดเจนที่ไม่ลงเลือกตั้ง สส.บัญชีรายชื่อของพรรค จะเป็นผู้ช่วยหาเสียง ไม่เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ในการสนทนา นายอภิสิทธิ์ บอกเล่าถึงการตัดสินครั้งนี้ว่า ไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อน เมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อม เบื้องต้นตนเป็นอดีตสส.และหัวหน้าพรรค ที่ลาออกจากผลการเลือกตั้งปี2562

รายการ คมชัดลึก เนชั่นทีวี พูดคุยกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็น เบื้องหลัง “อภิสิทธิ์” ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. 

รวมทั้งการลงมติเข้าร่วมกับรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้หาเสียงไว้ว่าจะไม่เข้าร่วม ส่วนตัวต้องรักษาคำพูด ผ่านมาเกือบ4ปี ยืนยันยังคงเป็นสมาชิกพรรคไม่ได้ลาออก และเมื่อมีการยุบสภา ทางหัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้กล่าวกับสื่อมวลชน เชิญบุคลากรของพรรค อดีตหัวหน้าพรรค ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้มีการพูดคุยกับทางนายจุรินทร์ และอดีตหัวหน้าพรรค 2 ท่าน คือ นายชวน หลีกภัย กับ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อะไรจะดีที่สุด แนวคิดของตนในหลายๆอย่างไม่ตรงกับพรรค

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ถ้าลงรับเลือกตั้งอาจจะเกิดความสับสนและไม่เป็นเอกภาพ ครัง้นี้การแข่งขันเป็นศึกหนัก พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น เพื่อความเป็นเอกภาพ จึงตัดสินใจไม่ลงเลือกตั้ง ส่วนการจะไปช่วยหาเสียงในพื้นที่ใด ก็จะเป็นไปตามความต้องการของผู้สมัครสส.แต่ละคน ว่าจะไปช่วยเหลือได้ไหม รวมทั้งไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการทำงานของการทำงานของพรรค ซึ่งผู้บริหารพรรคปัจจุบันจะต้องเป็นผู้กำหนดทิศทาง 

ต่อคำถามว่าการตัดสินใจไม่ลงเลือกตั้งครั้งนี้ มีแรงกดดันอะไรหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ บอกว่า การที่ตัดสินใจร่วมกัน ไม่มีความประสงค์ที่จะขัดแย้งกับพรรค ข้อยุติอะไรก็ตามอยากให้เป็นข้อสรุปที่ตรงกัน ถ้าถามว่าอยากเป็นสส.ไหม ชีวิตการทำงานส่วนใหญ่ก็เป็นสส.ถ้าลงบัญชีรายชื่อก็เชื่อว่าอยู่ในอันดับที่ได้เป็นสส. แต่คิดว่าตนมีหน้าที่ที่ต้องคิดถึงภาพรวมของพรรค 


แนวคิดส่วนตัวสังคมรับรู้รับทราบมาตลอด4ปี ซึ่งก็ยังไม่เปลี่ยน สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดสำหรับฐานะสมาชิกพรรคก็คือสนับสนุนเท่าที่ทำได้ การที่จะนำตนไปเป็นผู้สมัคร คิดว่าน่าจะมีปัญหาในเชิงเอกภาพ และดูจะไม่เป็นธรรมกับผู้เลือกตั้งเท่าไหร่  ถ้าตัดสินใจให้ตนลงเลือกตั้ง พรรคก็จะถูกตั้งคำถาม ซึ่งไม่เป็นผลดีกับพรรค


การที่ตัดสินใจไม่ลงเลือกตั้ง เพราะมองสถานการณ์ว่ามีโอกาสประชาธิปัตย์จะจับกับขั้วเดิมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โดยเงื่อนไขความเป็นจริงก็ยังเป็นพรรคร่วมรับบาลจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา และหัวพรรคปัจจุบันก็กล่าวชัดว่าขอดูตัวเลขก่อน ตนจึงไม่อยากให้เป็นปัญหา อุปสรรค เงื่อนไข ไม่ให้พรรคไม่เดินไปอย่างทีผู้บริหารพรรคต้องการ 

การทำงานการเมือง ตนคิดเสมอว่าไม่ได้เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง เป็นแค่นักการเมืองคนหนึ่งที่อยู่ในระบบ และยังสนับสนุนพรรคการเมือง และยืนยันที่จะอยู่กับประชาธิปัตย์ ด้วยประวัติศาสตร์โครงสร้าง เป็นพรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองจริงๆ ในมาตรฐานสากล ในพรรคการเมืองก็ต้องมีความคิดเห็นที่หลากหลาย ก็ต้องให้ผู้บริหารพรรคที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้กำหนดแนวทาง ใครไม่สนิทใจต่างๆ ไม่ได้แปลว่า ต้องออกจากพรรค ย้ายพรรค ตั้งพรรคใหม่ ระบบการเมืองก็จะไม่เป็นระบบ จึงใช้วิธีแบบสากล ใครที่ไม่สนิทใจในพรรค ก็ปรับบทบาทของตัวเองลงมา เหมือนสมาชิกพรรคทั่วไป 


ส่วนที่เวลามีปัญหาภายในพรรค มักจะถูกกล่าวว่าเป็นสายอภิสิทธิ์หรือไม่ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สมาชิกพรรคก็มีความหลากหลายในทางคาวมคิด เวลามีข่าวคราวล่ารายชื่อผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ทุกครั้งจะมีสมาชิกโทรมาสอบถามในเรื่องการเคลื่อนไหว ตนจะกลับไปไหม

 

ซึ่งก็ตอบทุกครั้งว่าไม่กลับ ด้วยเหตุผลในการตัดสินใจร่วมรัฐบาล การจะเปลี่ยนแปลงในพรรค เพื่อนำตนกลับเข้าไป ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ในพรรค แต่ส่งผลกระทบกว่างขวางกว่านั้น จึงคิดว่าไม่ใช่วิธีการที่จะทำแบบนั้น ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลังในทุกการเคลื่อนไหวภายในพรรคประชาธิปัตย์ เพราะหากเป็นจริงตามการตั้งข้อสังเกต คงจะมีความเปลี่ยนแปลงไปแล้ว 


ในเรื่องความนิยมในตัวบุคคล มีการประเมินว่าถ้านายอภิสิทธิ์กลับมาคะแนนนิยมในประชาธิปัตย์จะคืนมา นายอภิสทธิ์ บอว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะวิเคราะห์ได้ แต่การบริหารพรรคก็ต้องเดินไปตามระบบ ผู้บริหารชุดปัจจุบัน แสดงความมั่นอกมั่นใจในแนวทางที่เดินอยู่ ยุทธศาสตร์ที่เดินอยู่ กระแสตอบรับ ก็ยืนยันว่าเป็นเป้าหมายที่ทำได้ จึงต้องให้โอกาสดำเนินการมากกว่าที่จะไปทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคโดยไม่จำเป็น 


การประเมินสถานการณ์ความนิยมของประชาธิปัตย์จะมีความเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไหมในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การเมืองจากปี 2562 ถึง 2566 แม้สถานการณ์ดูสงบ รัฐบาลอยู่จนเกือบครบวาระ แต่การแบ่งขั้วทางการเมืองก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ มีปัจจัยเดียวที่เปลี่ยนแปลงคือกรณีพรรคพลังประชารัฐ ที่พร้อมจับมือได้กับทุกขั้ว

 

แต่แง่ผู้สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ คนสนับสนุนนายทักษิณ ไม่เปลี่ยนแปลง จังกลายเป็นเรื่องที่ประเมินกันว่า การหาเสียงหรือการแข่งขัน จึงไม่หวังที่จะไปดึงฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะฝ่ายค้าน 4 ปีของรัฐบาล สำรวจความนิยมมาโดยลำดับ ความไม่พอใจรัฐบาลมีเพิ่มขึ้น คะแนนก็ไหลไปอีกฝ่ายโดยอัตโนมัติ จากการที่มีผลสำรวจความเห็นประชาชน พบว่าการไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใครมีค่อนข้างน้อย อย่างน้อยที่สุดพอจะเห็นเค้าลางแล้วว่าจะเลือกใคร

 

ถ้าจะเปลี่ยนใจโอกาสเปลี่ยนข้างขั้วมีน้อยมาก จึงเป็นการแข่งขันในขั้วเดียวกัน และมีมากเป้นพิเศษในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ความต่างกันระหว่างการเลือกตั้ง 2ครั้งจึงมีไม่มาก แต่คะแนนฝ่ายค้านเพิ่มขึ้น จากนี้ถึงเลือกตั้ง การหาเสียงก็จะเป็นการขยายส่วนของตัวเอง ในขั้วเดียวกันมากกว่าที่จะไปกินขั้วฝ่ายตรงข้าม