ข่าว

'อ.ถวิลวดี' ชี้กระแสการเมือง อาจพลิกเกมนาทีสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'อ.ถวิลวดี' ชี้ เลือกตั้ง66 กระแสมาแรงกว่ากระสุน จุดตัดสินก่อนหย่อนบัตรลงคูหา เชื่อ 'เพื่อไทย' แลนด์สไลด์ยาก ยังมีพรรคทางเลือก ยอมรับ 'อุ๊งอิ๊ง' ขายได้ในภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. สถาบันพระปกเกล้า จัดโครงการ "KPI Election Forum : เลือกตั้ง 66 อนาคตประเทศไทย" ดร.ถวิลวดี บุรีกุล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยถึงพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน ยอมรับว่า กระแสเป็นปัจจัยหลัก ที่จะทำให้ประชาชนตัดสินใจในวินาทีสุดท้ายก่อนหน่อยบัตร เชื่อว่ากระแสมีมากกว่พรรคเดิมากระสุน แต่หากมาพร้อมกัน มีโอกาสที่กระสุนสู้กระแสได้ 

ปัจจุบันมีการใช้กลยุทธ์หาเสียงตัดคะแนนคู่ต่อสู้ผ่านโซเชียลมีเดียก็มีผลในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 49 ปี ส่วนกลุ่มคนอายุสูงชอบติดตามในโซเชียลของตัวเองและมีความเชื่อมั่นในพรรคเดิมๆ ซึ่งมีทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมจำนวนมาก และอีกยังฝ่ายที่เรียกว่า นักประชาธิปไตย แต่ทำอย่างไรถึงจะดึงคนทั้ง 2 ฝ่ายนี้ มาอยู่ตรงกลาง เป็นนักอนุรักษ์หันมาอยู่ตรงกลางๆ เพื่อเลือกทางเลือกใหม่เป็นทางเลือกที่ 3 พรรคการเมืองหลายพรรคพยายามที่จะเสนอนโยบายเพื่อดึงฐานเสียง แต่คิดว่าเลือกตั้งครั้งนี้คนจะหันมาดูตัวพรรคและผู้สมัครมากขึ้น เพราะนโยบายคล้ายๆกันทั้งหมด

ส่วนที่พรรคเพื่อไทยตั้งเป้า 310 เสียง เพื่อแลนด์สไลด์ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ต้องดู เพราะมีพรรคการเมืองอื่นเริ่มหาเสียงมากและดูดคะแนนมากขึ้น ฉะนั้นช่วงท้ายจะมีการโจมตีพรรคเพื่อไทยมากขึ้น และมองว่าแลนด์สไลด์ 310 เสียง น่าจะยาก คนรุ่นใหม่หันมาดูพรรค และยังมีพรรคทางเลือกอื่นๆ เช่น ก้าวไกล เสรีรวมไทย รวมถึงพรรคอื่นๆคงมีกลยุทธ์อีก

ส่วนที่น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร มีคะแนนิยมในพื้นที่อีสานมากกว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้น จากการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าก็พบเป็นเช่นนั้น แต่คิดว่าตอนนี้พรรครวมไทยสร้างชาติกระแสดีขึ้น ยังเหลือเวลาที่จะสร้างคะแนนได้อีก แต่อย่างไรก็ตามคนอีสานไม่ค่อยเปลี่ยนใจเท่าไหร่ หากเทียบกับภาคอื่น

 

ด้านน.ส.รัชวดี แสงมหะหมัด นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า จากการสำรวจของสถาบันพระปกเกล้าพบว่า เมื่อปี2553 ประชาชนยังมีความไม่เข้าใจทางการเมืองมากหนัก ต่อมาปี2557-2565 ประชาชนเริ่มเข้าใจและติดตามสถานการณ์ศึกษาสถานการณ์การเมืองมากขึ้น แต่ยังไม่เห็นความสามารถที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ ต่อเนื่องไปจนถึงการไม่มีอิทธิพลทางการเมืองต่อรัฐบาลและมีแนวโน้มพึงพอใจต่อระบอบประชาธิปไตยลดลงต่อเนื่อง แต่ยังต้องการมากกว่าระบอบอื่นๆ ซึ่งเมื่อ10ปีที่แล้ว (ปี2555) ประชาชนให้คะแนนความเป้นประชาธิปไตยเพียง 5 คะแนน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 6.92 และอีก10ปีข้างหน้าเป็น8.03 สะท้อนให้เห็นว่า  ยังคาดหวังว่าจะดีขึ้น

ความเข้าใจทางการเมือง

มุมมองต่อระบอบประชาธิปไตย ความต้องการระบอบประชาธิปไตย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ