ข่าว

'สมชัย'ชี้ ยื่นศาล รธน. ตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย ตัดเกม ยื้อเวลา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อดีต กกต. ระบุ พรรคร่วมรัฐบาล ลงชื่อ ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย ก่อนโหวต ตัดเกม คว่ำร่าง ด้าน 'นิกร' มองเป็นมารยาทการทำงานร่วมกันก่อนปิดสมัยประชุม

28 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการนัดประชุมสภานัดพิเศษ เพื่อพิจารณาพระราชกำหนดป้องกันและปราบปรามการกระทำให้บุคคลสูญหาย หรือ พ.ร.ก.การอุ้มหาย เมื่อมีการพิจารณา มีส.ส.จำนวน 100 คนเข้าชื่อให้สภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ทำให้การพิจารณาในส่วนของสภาต้องยุติลง จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมา แต่ขณะนี้หมดสมัยประชุมสภา การลงชื่อส่งศาล รธน. เป็นการเล่นเกมหยุดการล้ม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีหรือไม่ เพราะถ้าการพิจารณาครั้งนี้ แล้วร่างพ.ร.ก.ฉบับนี้ถูกตีตก รัฐบาลก็จะต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ 

'สมชัย'ชี้ ยื่นศาล รธน. ตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย ตัดเกม ยื้อเวลา

รายการคมชัดลึก เนชั่นทีวี พูดคุยประเด็นนี้ หัวข้อ เบรกเกมคว่ำ “ประยุทธ์”ยื่นตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย เพื่อให้กระจ่างในเรื่องราวที่เกิดขึ้น 

รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร  ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย มองว่า ร่างพ.ร.ก.นี้ถือว่า เป็นผลงานสำคัญองรัฐสภาชุดนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ภาคประชาชนเรียกร้องมานาน เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้มีการซ้อม ทรมาน อุ้มหาย กฏหมายฉบับนี้เป็นการเสนอของคณะรัฐมนตรี และการเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ 300 กว่าเสียงต่อ 0 แล้วก็ผ่านส.ว. จากนั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา พอประกาศแล้วมันเป็นเรื่องที่หน่วยงานราชการต่างๆต้องเตรียมตัว 
'สมชัย'ชี้ ยื่นศาล รธน. ตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย ตัดเกม ยื้อเวลา

จึงมีการกำหนดผ่อนระยะเวลาการประกทศใช้ 120 วัน ซึ่งครบไปแล้ว เมื่อ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา ในช่วงเวลา 120 วัน เป็นช่วงเวลาที่หน่วยราชการต้องเตรียมความพร้อมและการทำความเข้าใจ แต่คาดการณ์ว่าคงจะเตรียมความพร้อมไม่ทัน ตำรวจจึงเสนอไปยัง กระทรวงยุติธรรม และทางกระทรวงยุติธรรมจึงเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14ก.พ. ที่ผ่านมา ให้เลื่อนการบังคับใช้ 4 มาตราสำคัญ การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ การแจ้งตำรวจ อัยการทราบอย่างไร การบันทึกรูปพรรณสัณฐาน  และให้มีผลบังคับใช้อีกครั้ง 1 ต.ค. 2566 


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรัฐบาลทำเป็นตีเนียน ไม่ยอมส่งเรื่องเข้ามาให้สภาพิจารณา ถ้าไม่บังคับขู่เข็ญ ก็ไม่ดำเนินการ 

'สมชัย'ชี้ ยื่นศาล รธน. ตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย ตัดเกม ยื้อเวลา
ในเรื่องการยื่นศาล รธน. วินิจฉัย สามารถมองเป็นการยื้อเวลาหรือไม่ มองว่า ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากกว่า ดังนั้น ยังมีกลไกให้ฝ่ายค้านสามารถยื่นเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยตีความก่อนโหวต แต่ฝ่ายรัฐบาลมีการส่งเรื่องยื่นศาล รธน. ก่อน ทำให้มองว่าเป็นการตัดเกม การตรวจสอบรายชื่อก็เร่งดำเนินการ เพราะตามปกติการเข้าชื่อถึงศาล รธน. ต้องใช้เวลา 2-3 วัน และเรื่องยังไม่ผ่านขั้นตอนธุรการสภา และส่งไปยังธุรการศาล รธน. กลับมรการปิดประชุมสภาก่อน ทำให้มองว่าเป็นเรื่องที่น่าเกลียด 
 

นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา บอกว่า กฎหมายฉบับนี้ เป็นของคณะรัฐมนตรี ในกรรมาธิการในการร่างกฎหมาย จะมีกรรมาธิการ 25 เสียง 5 คนจากฝั่งรัฐบาล รวมทั้งยังมีกรรมาธิการที่มาจากตำรวจ ซึ่งเห็นขั้นตอนต่างๆแล้ว ว่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง และคุยกันว่า 120 วันมันสามารถเตรียมการทัน ในส่วนรายละเอียดของ พ.ร.ก. นั้น

'สมชัย'ชี้ ยื่นศาล รธน. ตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย ตัดเกม ยื้อเวลา

ส่วนตัวมองว่าขัดมาตรา 172 ที่ว่า เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือปื้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือการให้ออกใช้เมื่อ ครม.เห็นถึงสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความจริงหลีกเลี่ยงได้ เรื่องกล้องต่างๆ ที่ตำรวจยกมากล่าวอ้าง ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องปลีกย่อย ทั้งฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล และฝ่ายค้านก็ไม่เห็นด้วย และมีคามเห็นหลายส่วนบอกไว้ว่า ถ้าไม่ผ่านสภา ต้องมีการยุบสภา หรือลาออก 


ส่วนการส่งเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัย เป็นทางออกที่ดี เพราะเป็นรักษามารยาทในการทำงานร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาล หากปล่อยเข้าสภามาแล้วโหวตคว่ำจะกลายเป็นภาพความขัดแย้ง และมันจะได้ชัดในเรื่องของความเห็นจากตำรวจ  ถ้าศาล รธน. วินิจฉัยว่าพ.ร.ก.นี้ ขัดกฎหมาย มันก็จะย้อนกลับไปวันแรกที่พ.ร.ก.ออกมา เช่นเรื่องการติดกล้อง ก็จะทำให้ตำรวจต้องทำให้ได้ เมื่อวินิจฉัยออกมาว่าขัดกฎหมาย ก็ต้องส่งมาให้สภายืนยันใหม่ ถ้ไม่มีสภา ก็ต้องรอสภาที่จะมาใหม่ 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ