ข่าว

ส่อง นโยบาย ในศึกเลือกตั้ง 2566 นักวิชาการวิเคราะห์ เสนอแล้วต้องทำได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตรวจการบ้านพรรคการเมือง การสื่อสารในช่วงหาเสียง นักวิชาการการตลาด ชี้ ต้องนำเสนอนโยบายที่ทำได้จริง ด้านนักวิชาการรัฐศาสตร์มองเกม 2 ลุง 2 ป. เกทับทางการเมือง

ศึกเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ การต่อสู้เข้มข้นตั้งแต่ก่อนเสียงกลองรบจะลั่นสัญญาณ พรรคการเมืองต่างระดมนโยบาย แนวคิด และทิศทาง นำเสนอต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการโจมตีระหว่างพรรค เรียกว่าร้อนแรง ถึงพริกถึงขิง ซึ่งรวมถึงการต่อสู้กันของฝ่ายที่เรียกว่า เสรีนิยม และ อนุรักษ์นิยม 

 

ส่อง นโยบาย ในศึกเลือกตั้ง 2566 นักวิชาการวิเคราะห์ เสนอแล้วต้องทำได้


รายการคมชัดลึก เนชั่นทีวี พูดคุยกันในประเด็น “ป้อม 700” VS “ตู่ 1,000” ชิงฐานอนุรักษ์นิยม และในช่วงต้นของรายการ มีการหยิบยกข้อความ จาก แฟนเพจส่วนตัว ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ หัวข้อ ทำไมต้อง “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” มาพูดคุยถึงนัยยะ และการสื่อสารผ่านตัวหนังสือ 

 

ส่อง นโยบาย ในศึกเลือกตั้ง 2566 นักวิชาการวิเคราะห์ เสนอแล้วต้องทำได้


รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ได้กล่าวว่า การสื่อสารของ พล.อ.ประวิตร ต้องการสื่อว่าแม้ว่าตนจะเคยอยู่ในกลุ่มรัฐประหาร แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าการแก้ไขปัญหาต้องด้วยวิธีการประชาธิปไตย และต้องการจะบอกเป็นใจความสำคัญว่า พล.อ.ประวิตร ไม่ใช่คนที่เป็นอนุรักษ์นิยมแบบสุดโต่ง แต่จะเปลี่ยนตัวเองเป็นอนุรักษ์นิยม แบบปานกลาง และแตกต่างกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรครวมไทยสร้างชาติ แบบสิ้นเชิง 
 

 

 

“ เพราะถ้าเรามองตำแหน่งทางการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ จะยืนอยู่ข้างอนุรักษ์นิยมแบบสุดโต่ง และไม่พูดเรื่องนิรโทษกรรม และจะไม่ก้าวข้ามตรงนี้ไปเด็ดขาด ขณะที่ลุงป้อม (พล.อ.ประวิตร) กำลังบอกว่าตรงนี้มันพ้นไปแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องมาประนีประนอม และต้องมีความจำเป็น ที่ต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง ดังนี้นจึงต้องทำตัวให้แยกออกมาอย่างชัดเจนจาก ลุงตู่ (พล.อ.ประยุทธ์) ถ้าเป็นสินค้าก็ไม่เหมือนกัน ไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกันแล้ว ต้องการที่จะแตกต่าง และต้องการที่จะเปิดทางที่จะร่วมกับพรรคอื่น ๆ ในการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต” 

 

ส่อง นโยบาย ในศึกเลือกตั้ง 2566 นักวิชาการวิเคราะห์ เสนอแล้วต้องทำได้


รวมทั้งเป็นการส่งสารถึงคนที่เรียกว่ากลาง ๆ ในสายตาของ อ.นันทนา ว่า เขาไม่ใช่อนุรักษ์นิยมแบบสุดโต่ง เขาไม่ใช่คนที่สนับสนุนการรัฐประหารอีกต่อไป ถ้าเลือกพลังประชารัฐ ก็มีโอกาสก้าวไปพร้อมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ และจะก้าวข้ามความขัดแย้ง และการแสดงตัวตนแยกกันให้ชัดเจน เป็นเพราะก่อนหน้านี้ ฐานเสียงเป็นกลุ่มเดียวกัน และจะไม่สามารถข้ามพ้น พล.อ.ประยุทธ์ ที่มีภาพอนุรักษ์นิยมสุดโต่งและได้รับความนิยมจากฐานเสียง 


แต่ทั้งนี้ อ.นันทนา มองว่าภาพความเป็น 3 ป. นั้น จะไม่สามารถแยกออกมาได้ทั้งหมด ในความรู้สึกของคนจากจดหมายที่ออกมา 2 ฉบับ หรือการแสดงออกในการแยกตัวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จะทำให้ภาพของ พล.อ.ประวิตร พลิกเป็นเสรีนิยม เป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่จะทำให้คนรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง  ต้องเป้นในแง่ของแนวทางนโยบาย จุดยืน อุดมการณ์ และทิศทางที่นำพาประเทศไป ตรงนี้เป็นสิ่งที่ถูกจับตามองอยู่ 

 

 


 

ส่อง นโยบาย ในศึกเลือกตั้ง 2566 นักวิชาการวิเคราะห์ เสนอแล้วต้องทำได้

 

รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มองว่า ในปัจจุบันการเมืองเป็นเรื่องของการแบ่งขั้วทางอุดมการณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองแบบของการแบ่งขั้ว แบบที่สองเป็นการแบ่งขั้วทางอารมณ์ความรู้สึก การจะสลัดภาพ 3 ป.ออกไปไม่ได้ง่าย และในประเด็นการแตกของ 3 ป. คงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะถ้าแตกคอกันเท่ากับ ระบอบ คสช.จะสิ้นสุดลง แต่มรดกคสช. ก็ยังมีอยู่ ถึง คสช.จะไม่มีแล้วตามกฎหมาย รธน.ปี 2560 เมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามา ทั้ง 250 ส.ว. กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 

 

ภาพรวมของศึกเลือกตั้งครั้งนี้ การต่อสู้กันด้วยนโยบาย ต่าง ๆ อ.นันทนา กล่าวว่า มีการใช้การตลาดทางการเมืองสูงมาก เป็นการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจคนให้มาเลือกตั้ง พรรคการเมืองเสนอขายนโยบาย ประชาชนเป็นคนเลือก แต่ปัญหาคือการโฆษณาเกินจริง ซึ่งมันชวนเชื่อที่จะเป็นไปได้ พลังประชารัฐ เป็นประชานิยมแบบสุดขั้วมาก เช่น เบี้ยผูสูงอายุแบบขั้นบันได ซึ่งมีมูลค่าสูงเกือบเท่ากับงบประมาณแผ่นดิน ถามว่าทำได้จริงหรือไม่ ในการเลือกตั้งปี 2562 ก็โฆษณาลักษณะเดียวกัน ทั้งค่าแรงขั้นต่ำ ประกันราคาสินค้าพืชผล ปริญญาตรี 2 หมื่นบาท นี่คือปัญหาในการโฆษณาเกินจริง ใช้การตลาดแบบผิด 

 

ต่อเรื่องการหาเสียงเกินจริง อ.ยุทธพร มองว่า สะท้อนไปถึงการท้าทายต่อ กกต. ด้วย ว่ากระบวนการที่กกต.จะตัดสินกิจกรรมทางการเมืองจะเสมอภาคหรือไม่ แต่เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องปกติของการเลือกตั้ง ทำได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง ที่ปผ่านมาในปีเลือกตั้ง 2562 มีพรรคการเมืองเข้าสภา 27 พรรค นโยบายประมาณ 200 กว่านโยบาย แต่ทำได้จริงแค่ 8 เรื่อง ใน 4 ปีที่ผ่านมา 

 

“มันสะท้อนว่า มันไม่ใช่การเมืองเชิงนโยบายแล้ว สังคมไม่ได้คาดหวังแล้ว ไม่เหมือนกับช่วงปี 2540 ที่เป็นประชาธิปไตยที่กินได้ ทำให้คนเห็นว่าประชาธิปไตยมันเกี่ยวกับปากท้อง การเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมทางการเมือง มีผลต่อเรา แต่วันนี้มันไม่ใช่แล้ว การเมืองในทศวรรษ 2560 เป็นเรื่องขอวการเมืองเรื่องการแบ่งขั้ว การเมืองเชิงนโยบายแล้ว เรื่องนโยบายเป็นอันดับรอง”

 

เรื่องของ 2 ลุง 2 ป. แข่งกันเสนอนโยบาย อัดฉีดบัตรคนจน ลุงป้อมเสนอ 700 บาท ลุงตู่ให้อีกเป็น 1000 บาท อ.นันทนา บอกว่า กกต.มีระเบียบในการตรวจสอบนโยบาย และแหล่งที่มาของเงินด้วยหรือไม่ เพราะอย่างที่ผ่านมาของ พลังประชารัฐ มีนโยบายประชานิยมจำนวนมากในปี 2562 พอได้เป็นรัฐบาล ก็ไม่ได้ทำ มีคนทวงถามก็เงียบ กกต. ก็ไม่ได้ทำอะไร ถ้าครั้งนี้ยังปล่อยให้เป็นแบบนี้ กกต.ก็คงจะมีปัญหา การที่พรรคการเมืองจะเสนอเรื่องประชานิยม ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ต้องเป็นสิ่งที่ตัวเองนำไปเป็นนโยบายสาธารณะ และประเทศไม่ล่มจม 

 

ส่วนกลยุทธ์ ของ รวมไทยสร้างชาติ อ.ยุทธพร มองว่า เป็นพรรคที่ตั้งใหม่ ผลงานที่ผ่านมาไม่มี เมื่อที่ผ่านมายังไม่มีผลงาน จึงเสนอสิ่งที่ไปข้างหน้า จะมีอะไรใหม่ที่มากกว่าเดิม พอแกนหลักอย่างพลังประชารัฐ เสนอนโยบายมา บวกกับชูบทบาทพล.อ.ประวิตร จึงต้องเสนอให้มากกว่า เป็นการเกทับทางการเมือง อีกประเด็น พล.อ.ประยุทธ์ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องงปัญหาเศรษฐกิจ การลดแลกแจกแถม จะมาช่วยปิดภาพลักษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ แต่จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหนคืออีกเรื่องหนึ่ง 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ