ข่าว

'พท.-ทสท.' แข่งขันยกระดับ 30 บาท รักษาทุกโรค ยุคใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'พท.-ทสท.' แข่งขันกันยกระดับ 30 บาท รักษาทุกโรค ยุคใหม่ สะดวก เร็ว ส่วน 'ปชป.' เสนอทำสาธารณสุขสร้างเม็ดเงินภายใน 3 ปี 'กก.' จี้สวัสดิการแพทย์ ต้นเหตุบุคลากรทางการแพทย์แห่ลาออกปีละ 500-600 คน

นโยบายศูนย์กลางการแพทย์อย่างยั่งยืนของ 4 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคก้าวไกล ภายในงานสัมมนา THAN FORUM 2023 HEALTH AND WELLNESS SUSTAINABILITY 

 

เรียกได้ว่าโครงการ "30 บาท รักษาทุกโรค" ที่เคยเป็นของพรรคไทยรักไทย ต้องถูกหยิบยกมาพูดถึง เพราะได้กระแสตอบรับอย่างดี

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย จะเข้ามาเปลี่ยน 30 บาท รักษาทุกโรคเป็น 30 บาท plus เปลี่ยนจากการรอให้ป่วยแล้วไปรักษา sick care ให้เป็น healt care สร้าง wellbeing hub ของคนทั้งโลก และให้คนไทยทุกคนมีหมอประจำตัว ใช้ ChatGPT เข้ามา เพื่อพูดคุยได้ตลอดเวลา 

นำ AI มาใช้ในทางการแพทย์ ช่วยคัดกรองข้อมูลประชาชน ไม่ต้องรอคิว รวมถึงเจ้าหน้าที่ทำงานง่ายขึ้น ทั้งการดูแลผู้ป่วย ลดจำนวนคนในโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นการก้าวไป well being society สร้าง 30 plus สุขภาพดีถ้วนหน้า ควบคู่กับบำนาญประชาชน 3,000 บาท ดูแลสังคมสูงวัย ให้แข็งแรง 

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย

ด้าน นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต้องการรักษา โครงการ "30 บาท รักษาทุกโรค" เอาไว้ ด้วยการยกระดับการให้บริการ นำ IT มาใช้ในทุกโรงพยาบาล จองคิวล่วงหน้า รับยาใกล้บ้านด้วยบัตรประชาชนใบเดียว คาดว่าจะเกิดระบบสุขภาพที่เข้มแข็งมีคุณภาพด้วยระบบเทคโนโลยี 

นอกจากนี้มองว่า คนไทยต้องปลอดมะเร็ง เพราะเป็นโรคที่พรากชีวิตคนไทย เป็นอันดับหนึ่ง โดยจัดให้ตรวจสาเหตุฟรีและรับวัคซีนฟรี, รักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้นทางออนไลน์โดยนักจิตวิทยา สร้างสุขภาพจิตที่ดีให้คนไทย สนับสนุนให้มีสถานชีวาภิบาล เพิ่มความมั่นคงในชีวิตสังคมไทย ผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุได้รับการดูแล 

 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความพร้อมทางการแพทย์ของประเทศไทย จะมาพัฒนาให้เกิดเม็ดเงินภายใน 3 ปีข้างหน้า ด้วยการนำสมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย นวดไทย ที่เราได้รับเป็นมรดกโลก สิ่งเหล่านี้เราจะมาเติมเต็มศักยภาพ 

โดยเฉพาะพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ WELLNESS อันดามัน จ.ภูเก็ต ให้เป็นHUB WELLNESS CENTER เพราะมีสนามบินนานาชาติ ซึ่งจะสามารถส่งเสริมให้เอกชนไปลงทุน

รวมถึงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ที่มองว่า ต้องใช้ช่องทางนี้ ส่งเสริมนักลงทุนและผู้ประกอบการ ในเรื่องศัลยกรรมความงาม คนที่เดินทางไปเกาหลี หรือพื้นที่อื่นๆ ก็มาลงที่อู่ตะเภาได้ โดยดึงแบรนด์ใหญ่ๆธนบุรี ยันฮี มาร่วม แต่รัฐต้องเข้าไปส่งเสริม ช่วงแรกๆก่อน เช่น นำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือการลดภาษีให้ เพื่อให้ศัลยกรรมความงามเป็นฮับแข่งขันกับเกาหลี รัฐบาลต้องประกาศเป็นวาระแห่งชาติ 

ขณะนี้ตนทำไปแล้วในพื้นที่ eec ทำโรงพยาบาลร่วมทุน ระหว่างรัฐกับเอกชนครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และทำควบคู่ไปกับการทำ "อาหารเป็นยา" สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ โดยเมนูจะเลือกสมุนไพรในพื้นที่นั้นมาทำ และต้องเป็นที่รู้จัก เมื่อค้นหาร้านค้าชั้นนำในพื้นที่

ส่วนการทำให้ศูนย์การแพทย์ยั่งยืน เราต้องทำให้ได้รับการยอมรับทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ คือ การวิจัย สร้างความน่าเชื่อถือ รัฐต้องสนับสนุนบุคลากร ยา มาตราฐานสถานพยาบาลจนถึงการให้บริการกับประชาชนคนไทยและผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีความเชื่อมั่นมากในสาธารณสุขไทย 

นายสาธิต ปิตุเตชะ รมว.กระทรวงสาธารณสุข และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ด้านนางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ฝ่ายนโยบาย มองว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งด้านสาธารณสุข คือ ราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งควรพัฒนาโปรดักส์ เช่น ยารักษา ที่คิดว่าประเทศไทยมีโอกาสและมีศักยภาพ 

ส่วนสิ่งที่ต้องแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คือ ทรัพยากรบุคคล ซึ่งแต่ละปีผลิตแพทย์ได้ปีละประมาณ 3,000 คน ตัวเลขการลาออกอยู่ที่ 500-600 คน จึงมองไปถึงการขึ้นค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ เงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาทำงานที่มากเกินไป รวมถึงความแออัดในโรงพยาบาล

ทั้งนี้ การทำ WELLNESS HUB "อคาเดมิคฮับ" พอเป็นไปได้ วัดจากจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ "โปรดักส์ฮับ" คือ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ส่วนใหญ่คือวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ถุงมือยาง ถุงน้ำเกลือ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ดังนั้นต้องฟูมฟักผู้ประกอบการด้านนี้ ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ได้ 

นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล งานTHANX Forum 2023 : Health & Wellness Sustainability

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ