ข่าว

นักวิชาการ มองระเบียบใหม่ กกต. ส่อใช้ไม่เหมาะสม ย้ำไม่ควรมียุบพรรค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการรัฐศาสตร์ มองระเบียบใหม่ กกต. เกรงถูกใช้ช่องโหว่ ยุบพรรค คู่ต่อสู้ทางการเมือง ด้าน นิกร ชาติไทยพัฒนา มอง ไม่ควรประกาศในช่วงก่อนเลือกตั้ง ระวัง กกต.ตำบลกระสุนตก

นับตั้งแต่ การออกระเบียบใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคการเมือง ของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.) ออกมา มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า มีธงที่เตรียมจะยุบพรรคการเมืองไหน ในช่วงก่อนการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งมีเสียงสะท้อนจากนักการเมืองพอสมควรที่ค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับระเบียบใหม่ของกกต. ที่ออกมา

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.เรียกว่า ยุบพรรคติดเทอร์โบ เพราะด้วยเนื้อหาของระเบียบใหม่ มีกรอบเวลาในการตรวจสอบเบื้องต้นที่กระชับ 7 วันเสร็จ การตั้งคณะบุคคลรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง ต่อเวลาการทำงานแบบไม่มีกำหนด รวมทั้งกรอบเวลาการพิจารณาของ กกต. ที่ระบไว้ 30 วัน สิ่งโดยรวมเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นมา

นักวิชาการ มองระเบียบใหม่ กกต. ส่อใช้ไม่เหมาะสม ย้ำไม่ควรมียุบพรรค
รายการ คมชัดลึก เนชั่นทีวี พูดคุยในประเด็น ติดจรวด “ยุบพรรค” หักศัตรูการเมือง?  และได้เชิญ รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพูดคุยถึงประเด็นนี้ 

นักวิชาการ มองระเบียบใหม่ กกต. ส่อใช้ไม่เหมาะสม ย้ำไม่ควรมียุบพรรค
อ.ณรงค์เดช  กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในด้านหนึ่งก็เป็นการติดเทอร์โบอย่างที่รับรู้กัน แต่ในระเบียบก็มีจุดที่ขยายเวลา มีการเปรียบเทียบข้อดี ข้อต่าง ของระเบียบข้อกำหนดที่ออกมา อย่างเช่น การตรวจสอบชั้นต้น ตามระเบียบปี 2564 ไม่มีเรื่องกรอบเวลา ส่วนระเบียบใหม่มีระยะ 7 วัน หากมีมูลตามคำร้อง นายทะเบียนสามรถสั่งตั้งบุคคล คณะบุคคลรวบรวมข้อเท็จจริง ระเบียบเก่าปี 2564 ให้กรอบเวลา 90 วัน ต่อเวลาได้ 2 ครั้ง ส่วนระเบียบล่าสุด สามารถต่อเวลาครั้งละ 30 วัน จนกว่าจะเสร็จ  ในส่วนการพิจารณาของ กกต. ระเบียบเดิมไม่มีกำหนด ของใหม่ ให้กรอบเวลา 30 วัน 

นักวิชาการ มองระเบียบใหม่ กกต. ส่อใช้ไม่เหมาะสม ย้ำไม่ควรมียุบพรรค
คำถามที่ 1 ออกมาแล้วครบถ้วนหรือไม่ คำถามที่ 2 ออกกรอบเวลามาแล้ว ดีขึ้นหรือแย่กว่าเดิม อย่างการต่อเวลาในการรวบรวมข้อเท็จจริง ที่ต่อเวลาได้อย่างไม่มีกำหนด ดูจะเป็นช่องว่างช่องโหว่ 
 

ในทางการเมือง ความกังวลของนักการเมืองที่ว่า การยุบพรรคมันง่ายเกินไป  และยิ่งมีระเบียบใหม่ของ กกต.แบบนี้ ดูเป็นการเร่งการยุบพรรค อ.ณรงค์เดช มองว่า มันเป็นไปได้หลายมิติ  มิติหนึ่ง อทาจจะมีการยุบพรรค หลังจากมีการสมัครรับเลือกตั้งแล้ว จุดนี้น่าเป็นห่วง เพราะทำให้บัญชีรายชื่อก็ดี รวมทั้งผู้สมัครแบบเขต เสียสถานะการสมัครไปเลย เนื่องจากเขาไม่สังกัดพรรคการเมือง ตามแต่กรอบเวลาการยุบสภา วันเลือกตั้ง หาพรรคสังกัดใหม่ไม่ทัน

นักวิชาการ มองระเบียบใหม่ กกต. ส่อใช้ไม่เหมาะสม ย้ำไม่ควรมียุบพรรค
อีกกรณีคือเมื่อการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อย ในช่วงเตรียมการจัดตั้งรัฐบาล อยู่ดีๆ มีการยุบพรรคเกิดขึ้น ก็อาจจะทำให้เกิดการซื้อตัวส.ส.เพื่อไปจัดตั้งรัฐบาล ในต่างประเทศที่ได้มีการศึกษาข้อกฎหมาย เช่น ในเกาหลีใต้ มีรูปแบบคโครงสร้างกฎหมายล้ายบ้านเรา แต่จะมีการกำหนดชัดเจนว่า ในช่วง 90 วัน ก่อนวันเลือกตั้งไม่ให้มีการเพิกถอนทะเบียนพรรคการเมือง และจะไม่ให้มีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อยุบพรรคการเมือง เพื่อป้องกันการใช้กลไกกำจัดคู่แข่งทางการเมือง และเอื้อประโยชน์ทางการเมือง 


ข้อสังเกตในระเบียบใหม่ที่กล่าวถึง ข้อ 10 เรื่องอะไรที่ยื่นไว้ก่อนระเบียบใหม่ ไม่จำเป็นต้องใช้เกณฑ์นี้ แต่ถ้าเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ ให้ใช้ตามระเบียบใหม่ อ.ณรงค์เดช มองว่า เรื่องของข้อกฎหมายแบบนี้เรื่องศัพท์บัญญัติ ถ้าออกมาแล้วต้องใช้เลย แต่สิ่งที่ดูไม่เหมาะสมคือ ถ้าเรื่องร้องเรียนยื่นเข้ามาในช่วงที่มีการใช้ระเบียบ เช่น ยื่นเรื่องมาวันนี้ อีก 7 วันตรวจสอบเสร็จ อีก 30 วันตั้งอนุกรรมการตรวจสอบ กกต.พิจารณาอีก 30 วัน แต่เรื่องที่เคยมายื่นร้องเรียนมาก่อนกลับไม่ทำอะไรเลย 
 

ในความเห็นของ อ.ณรงค์เดช จากการศึกษาเรื่องการยุบพรรคการเมือง ยังไม่มีพรรคการเมืองไหนที่ควรจะถูกยุบ เพราะไม่ได้เข้าข่ายในสิ่งที่เรียกว่าการล้มล้างการปกครอง หรือตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นภาพ เช่น พรรคนาซี มีกองกำลังทหาร พรรคก่อการร้าย บานาซูน่า ของสเปน มีการรกระทำถึงขั้นวางระเบิด ส่วนในไทย อย่างมากก็โกงเลือกตั้ง หรืออย่างอนาคตใหม่ รับเงินบริจาคผิดกฎหมาย ก็ไม่ถึงขั้นยุบพรรค  

พรรคการเมืองเป็นที่รวมผู้คนที่มีเป้าหมายทางการเมืองเดียวกัน ซึ่งมีคนอยู่มาก ไม่ได้หมายถึง คนใดคนหนึ่ง สมาชิกพรรค ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ยิ่งไปทำลายพรรคการเมือง ระบบพรรคการเมืองยิ่งอ่อนแอ คนไหนทำผิด ก็ตัดสิทธิการสมัคร เพิกถอนสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งของเขา อย่างนั้นจะเหมาะสมกว่า ไม่ควรจะใช้แค่เรื่องคน ๆ เดียวแล้วพากันตายยกเข่ง แบบที่เป็นมา 


ในทางกฎหมาย อ.ณรงค์เดช ระบุว่า การยุบพรรคการเมืองด้วยเหตุผลเล็กน้อย ควรจะยกเลิกไปทั้งหมด และให้ยึดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 49 ที่ระบุไว้วว่าต้องเข้าข่ายการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรีงเป็นประมุขเท่านั้น  

นักวิชาการ มองระเบียบใหม่ กกต. ส่อใช้ไม่เหมาะสม ย้ำไม่ควรมียุบพรรค
ด้าน นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา มองว่า มันจะเร็วขึ้น ง่ายขึ้น การจะไปอ้างว่าเป็นระเบียบช่วยเหลือประชาชน แต่ประเด็นนี้มันเป็นโทษกับสมาชิกพรรคการเมือง แต่ตรงนี้การยุบพรรคเมือง ไม่ควร ใครทำผิดก็ควรที่จะดำเนินการเป็นรายบุคคล ไม่ใช่ว่าใครผิด เผาทิ้งหมด ไม่ถูกต้อง การจะมาอ้างว่า เป็นความสะดวกและรวดเร็วกับประชาชน มันไม่ใช่ เป้าหมายมันไม่ใช่ เพราะเป้าหมายนี้  ไม่ได้นำไปสู่สิ่งที่เป็นบวก

 

 เรื่องนี้จะทำให้  กกต.จะกลายเป็นตำบลกระสุนตก จริง ๆ ไปประกาศหลังเลือกตั้งก็ได้เป็นการได้ที่ไม่คุ้มเสีย มองไม่เห็นประโยชน์ว่าจะทำในช่วงนี้ทำไม ไหนจะเรื่องการยกเลิกการรายงานผลเลือกตั้งแบบเรียลไทม์ ถึงจะไม่เป็นเครื่องมือ ก็กลายเป็นเครื่องมือ กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องรักษาพรรคการเมืองให้มากที่สุด 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ