ข่าว

'แบ่งเขตเลือกตั้ง' สส.แบบแบ่งเขต 72 จังหวัดหมดเวลาแสดงความเห็นแย้งแล้ว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กกต.จังหวัด แค่ทำหน้าที่ไปรษณีย์ ส่งผ่านข้อมูล 'แบ่งเขตเลือกตั้ง' สส.เขต ให้กกต.กลางชี้ขาด ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

การแบ่งเขตเลือกตั้งสส.ทั่วประเทศ ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา  มีลำดับขั้นตอนดังนี้

  • จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีจ านวน 66,090,475 คน
  • จำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 165,226 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน
  • ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดจัดทำรูปแบบแบ่งเขตเลือกตั้งภายในสามวันนับจาก

 

กกต.ประกาศจำนวนสส.เขตแต่ละจังหวัดในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกกต.กำหนดให้เปิดรับฟังความเห็นระหว่างวันที่ 4-13 มกราคม 2566   แต่ต่อมากรรมการการเลือกตั้ง สั่งให้มีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ในห้าจังหวัดประกอบด้วย ชลบุรี เชียงใหม่ ปัตตานี สมุทรปราการ และ กรุงเทพมหานคร เพราะมีผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดทำให้ต้องเปิดรับฟังความเห็นตั้งแต่วันที่9-18มกราคม ในจังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ ปัตตานี สมุทรปราการ ส่วนกรุงเทพมหานครเปิดรับฟังความเห็นระวังวันที่ 10-19 มกราคม เนื่องจากแบ่งเขตเลือกตั้งไม่ทันตามที่กกต.กำหนดต้องขอขยายเวลาเพิ่มอีก 1 วันต้องประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อยสามรูปแบบ โดยพื้นที่เขตเลือกตั้งต้องติดกันและจำนวนราษฎรใกล้เคียงกัน

  • ผลต่างของจำนวน ราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งไม่ควรเกินร้อยละสิบของจำนวนเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน เว้นแต่เป็นกรณีมีความจำเป็นเพื่อให้ราษฎร เดินทางได้โดยสะดวก
  • เปิดรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดเป็นเวลาสิบวัน
  • ภายในสามวันนับแต่สิ้นสุดระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็นรวบรวมสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะ เรียงตามลำดับ เสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันถัดไป
  • เมื่อแบ่งเขตเลือกตั้งแล้วให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษา
  • กกต.ประกาศจำนวนสส.แบ่งเขต ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดพร้อมรายละเอียด

 

 

จะเห็นได้ว่า  ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และกกต.จังหวัด มีหน้าที่เพียงแบ่งเขตเลือกตั้งตามเงื่อนไขที่ กกต.กลางกำหนดเท่านั้น โดยต้องแสดงเหตุผลการแบ่งเขตแต่ละรูปแบบ ตามลำดับ พร้อมนำส่งความเห็นโต้แย้งจากประชาชนและพรรคการเมืองให้ กกต.กลางชี้ขาด ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา  

 

เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือเชตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งในคราวนั้น โดยให้ถือเขตเลือกตั้งที่มีการประกาศกำหนดไว้ในราชกิจจานุเบกษาดังกล่าว

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ