ข่าว

'กกต.'ยังไม่ยื่นศาลรธน. ตีความ'ราษฎร' ประชุมกำหนดกฎเลือกตั้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'กกต.'ยังไม่ยื่นศาลรธน. ตีความ'ราษฎร' ยืนยันทำตามข้อกฎหมาย พร้อมเชิญพรรคการเมืองประชุมกำหนดกฎเลือกตั้ง ค่าใช้จ่าย ป้ายติดตั้ง เป็นต้น

การทำความเข้าใจถึงข้อกฎหมายพรรคการเมืองและเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใน ปี2566 นี้

 

สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) นำโดยนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการเลือกตั้ง เป็นประธานเปิดการประชุมร่วมกับพรรคการเมือง เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการเลือกตั้ง ชี้แจงเกี่ยวกับการได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง

 

โดยมีเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ การปิดประกาศและการติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งการเตรียมความพร้อมในการสมัครรับเลือกตั้ง การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง การสนับสนุนการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งและการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่พรรคการเมืองประจำปี 2566  

ในช่วงเช้าหารือ 2 เรื่อง คือ ค่าใช้จ่ายการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตและป้าย ขนาด สถานที่ติดตั้ง

 

โดยค่าใช้จ่ายการเลือกตั้ง ส.ส.แบ่งแบ่งเขต มี3รูปแบบ

-รูปแบบที่ 1 กกต. คิดเอง โดยคำนวณกับปัจจัย 7 ประการ ได้แก่ อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ดัชนีราคาผู้บริโภค น้ำมันดีเซล ราคาไม้อัดราคาไม้อัดขนาด 4X8 ฟุต หนา 4 มิลลิเมตร กระดาษโปสเตอร์ขนาด 15.5X21.5 (บาทต่อแผ่น) ค่าไวนิลขนาด 1X3 เมตร (บาทต่อผืน) และฟิวเจอร์บอร์ด 130 เซนติเมตร X 3 มิลลิเมตร (บาทต่อแผ่น) ซึ่งหากสภาอยู่ครบวาระ ผู้สมัครส.สแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ใช้จ่ายได้คนละ 6.5 ล้านบาท และพรรคการเมืองใช้จ่ายได้ 152 ล้านบาท ซึ่งมีพรรคการเมืองที่เห็นด้วยและมองว่ามากไปหรือ น้อยไป เป็นความเห็นหลากหลาย

 

แต่หากเกิดการยุบสภาขึ้นนั้น ค่าใช้จ่าย ส.ส.แบบแบ่งเขต จะอยู่ที่ 1.74 ล้านบาท พรรคการเมืองจะประมาณ 41 ล้านบาท

-รูปแบบที่ 2 กกต. นำรูปแบบดังกล่าวที่รวมกับปัจจัย 7 ประการหารือกับ3 หน่วยงาน คือธนาคารแห่งประเทศไทย ,กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ซึ่ง3 หน่วยงานรับผิดชอบเรื่องเงินเฟ้อ จะมีความเห็นตรงจุดว่าควรเพิ่ม หรือลดอย่างไร

-รูปแบบที่ 3 คือ 3 หน่วยงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย ,กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง เสนอคำนวนจากอัตราเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตามการหารือกับพรรคการเมืองในวันนี้ กกต. ไม่ได้ พูดถึงประเด็นที่มีข้อถกเถียงกันอยู่ เรื่อง การนับรวมบุคคลที่ไม่ถือสัญชาติไทยรงมเป็นประขากรในเขตเลือกตั้ง

 

โดยนายอิทธิพร มองว่า ไม่ได้เป็นความขัดแย้ง เป็นเพียงข้อเห็นต่าง พร้อมกับยืนยัน กกต.ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา86 ว่า การกำหนดจำนวนส.สและเขตเลือกตั้งให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศ เป็นไปตามหลักฐานการขึ้นทะเบียนราษฎรที่ประกาศโดยผู้อำนวยการทะเบียนกลาง(กระทรวงมหาดไทย) ซึ่งรวมทั้งผู้มี และไม่มีสัญชาติไทย 

 

ที่ผ่านมา กกต. ยึดตามข้อถ้อยคำดังกล่าวมาโดยตลอด ยืนยันว่าทำตามกฎหมายที่ระบุว่า ราษฎรทั้งประเทศ

 

โดยผู้สื่อข่าวถามต่อว่า จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ คำว่า "ราษฎร" หรือไม่ อิทธิพร ตอบเพียงว่า ตอนนี้ยังไม่ได้คิดอย่างนั้น

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับค่าใช้จ่ายของผู้สมัครส.สแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ ในรูปแบบที่ 2 ที่กกต.มีการนำปัจจัย 7 ประการ ในการคิดคำนวณไปหารือกับ 3 หน่วยงาน พบว่า มีการให้นำดัชนีราคาผู้บริโภค จากปีฐานคือปี 2562 มาคำนวณด้วย ซึ่งก็จะทำให้กรณีครบวาระผู้สมัครส.สแบบแบ่งเขตใช้จ่ายได้คนละ 7 ล้านบาท แบบบัญชีรายชื่อ 163 ล้านบาท แต่ถ้ายุบสภาแบบแบ่งเขตใช้จ่ายได้คนละ 1.9 ล้านบาท และบัญชีรายชื่อใช้จ่ายได้ 44 ล้านบาท

ส่วนรูปแบบที่ 3 เป็นการคิดจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2562-2565 จะพบว่าในกรณีอยู่ครบวาระผู้สมัครแบบแบ่งเขต จะใช้ค่าใช้จ่ายได้ 6 ล้านบาท แบบบัญชีรายชื่อ 141 ล้านบาท และหากกรณียุบสภาแบบแบ่งเขตสามารถใช้ได้ 1.6 ล้านบาท แบบบัญชีรายชื่อใช้จ่ายได้ 38 ล้านบาท

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ