ข่าว

'แบ่งเขตเลือกตั้ง' ผิดหรือไม่ สมชัย สงสัย 'กกต.'

'แบ่งเขตเลือกตั้ง' ผิดหรือไม่ สมชัย สงสัย 'กกต.'

31 ม.ค. 2566

อดีตกรรมการการเลือกตั้ง สงสัยว่า กกต.อาจ 'แบ่งเขตเลือกตั้ง' ไม่ถูกต้อง เพราะรวมผู้ไม่มี'สัญชาติไทย' มาคำนวณด้วย

 

การคำนวณ 'แบ่งเขตเลือกตั้ง' โดยใช้ราษฎร ที่มีสัญชาติไทย  รวมกับที่ไม่มีสัญชาติไทย ทำให้จำนวน ส.ส. ของแต่ละจังหวัดคลาดเคลื่อนไปหรือไม่ เป็นคำถามที่ สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้งถามไปยัง กกต.



สมชัยระบุว่ากกต. แถลงถึงจำนวน ส.ส.เขต ที่แต่ละจังหวัดพึงมี โดยใช้จำนวนราษฎรที่รวมผู้ไม่มีสัญชาติไทย มาเป็นฐานในการหาค่าเฉลี่ยจำนวนราษฎรต่อ ส.ส. หนึ่งคน

 

ตัวเลขราษฎรที่ใช้ คือ 66,090,475 คน ซึ่งเป็นคนที่มีสัญชาติไทย 65,106,481 คน ไม่ได้สัญชาติไทย 983,994 คน  โดยจังหวัดที่มีคนไม่ได้สัญชาติไทย สูงสุด 3 จังหวัดคือ เชียงใหม่ 161,567 คน ตาก 137,410 คนและ เชียงราย 132,515 คน คำนวณแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่โดยตัดคนที่ไม่ได้สัญชาติไทยออก  3 จังหวัดนี้ จะเหลือเศษที่จะมาคำนวณจำนวน ส.ส. ที่จะได้เพิ่ม คือ ตาก 58,432 คน เชียงราย 27,759 คน และ เชียงใหม่ 3,247 คน เท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับ อุดรธานี เหลือเศษ 90,571 คน ลพบุรี เหลือเศษ 82,793 คน และภูเก็ต เหลือเศษ 81,454 คน

 

ภาพประกอบจากเฟสบุ๊ค สมชัย ศรีสุทธิยากร

แปลว่า หากคำนวณโดยไม่นำคนไม่ได้สัญชาติไทยมารวม  จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย และตาก ควรได้ ส.ส.น้อยลงจังหวัดละ 1 คน  ในขณะที่ อุดรธานี ลพบุรี ภูเก็ต ควรได้ ส.ส.เพิ่มอีกจังหวัดละ 1 คน

 

ภาพประกอบจากเฟสบุ๊ค สมชัย ศรีสุทธิยากร

 

คำถามคือ ใครจะรับผิดชอบ หากคำนวณจำนวน ส.ส.ของแต่ละจังหวัดผิด และจะนำไปสู่การแบ่งเขตเลือกตั้งผิด