ข่าว

"นักวิชาการ" ชำแหละ ล้มหัวลำโพง-ค่าไฟแพง รัฐเอื้อนักการเมืองและเอกชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย จัดเสวนาจากนักวิชาการ"ประชาชน-รถไฟเทียบหัวลำโพง และทำไมค่าไฟแพง-คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ" ชี้รัฐเอื้อนักการเมืองและเอกชน

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) จัดเสวนา เรื่อง "ประชาชน-รถไฟเทียบหัวลำโพง และทำไมค่าไฟแพง-คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ" โดย อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา'35 , นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร , นายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) , นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์


เริ่มจากการเรียกร้องให้หยุด ยกเลิกบริการสถานีรถไฟหัวลำโพง ในขบวนรถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์ สายเหนือ สายใต้ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งหมดจำนวน 52 ขบวน และหันไปใช้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ หรือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
 

นายสุวิช กล่าวว่า ไม่ปฏิเสธที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะใช้สถานีกลางบางซื่อ แต่สิ่งที่กังวล คือ ประชาชนส่วนมากจะได้รับความเดือดร้อน หลังเคยปิดบริการที่สถานีหัวลำโพงไปเมื่อ พ.ย.2564 เหลือเพียงไม่กี่ขบวน ซึ่งประชาชนที่ใช้บริการสถานีหัวลำโพงมีไม่ต่ำกว่า 20,000 คนต่อวัน โดยสถานีกลางบางซื่อเปิดใช้งานได้ แต่มองว่ายังไม่มีความพร้อมในการให้บริการสาธารณะ ประชาชนต้องต่อรถประจำทางที่อยู่ห่างออกไปอีกเกือบ 2 กิโลเมตร เพื่อเข้าไปยังพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ รวมถึงหากจะต่อรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง รถไฟฟ้า ก็มองว่าเสียค่าเดินทางเพิ่ม ต้องตระหนักว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยและเดินทางด้วยรถไฟเป็นหลัก ดังนั้นต้องมีการศึกษาผลกระทบที่มีต่อตุณภาพชีวิตประชาชน ตามรัฐธรรมนูญปี มาตรา58 ก่อนที่จะปิดสถานีหัวลำโพง

นายสุวิช ยืนยันตนและสหภาพไม่คัดค้านการพัฒนา แต่ขอฝากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาอีกครั้ง เพราะประชาชนควรมีตัวเลือกที่จะใช้เส้นทาง ไม่ใช่ถูกบีบบังคับ เบื้องต้นทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้รถไฟดำเนินความพร้อมให้เสร็จก่อน ถึงจะปิดการเดินรถทางไกลของสถานีหัวลำโพง

 

เช่นเดียวกับนางสาวรสนา ที่มองว่า ควรที่จะเป็นทางเลือก ไม่ใช่ยกเลิกสถานีรถไฟหัวลำโพงที่ใช้บริการกันมาเป็นเวลานาน เป็นสถานีรถไฟทางไกลที่สามารถเข้าถึงตัวเมืองมากที่สุด จากนั้นได้เปรียบเทียบกับการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิสุดท้ายผ่านมาไม่กี่ปีก็ต้องกลับมาใช้สนามบินดอนเมืองใหม่ 

ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า นักการเมืองและกลุ่มทุน สมคบกันเข้ามายึดครองกิจการที่เป็นสาธาณูปโภคของรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากการยกเลิกสถานีหัวลำโพงต้องการทำเป็นมิกซ์ยูสระดับเวิลด์คลาสของเจ้าสัว ยกเลิกไป 52 ขบวน เหลือวิ่งชานเมืองเพียง 22 ขบวน จากนั้นก็จะหาวิธีลดความสำคัญสถานีนี้ โดยให้ข้อมูลว่าผู้โดยสารที่เดินทางด้วยสายนี้มีเพียง 0.018% เท่านั้น ขั้นต่อไป คือ สร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงจากบางซื่อมาหัวลำโพงแบบสมบูรณ์ ทำให้ระหว่างนั้นต้องปิดแบบ100% จากนั้นพื้นที่หัวลำโพง ตามผังเมืองเคยเป็นพื้นที่สีน้ำเงิน คือ หน่วยราชการและสาธารณูปโภค เมื่อปิดเดินรถทั้งหมดก็สามารถเป็นสีเป็นสีแดง คือ พาณิชยกรรม ที่เอื้อเจ้าสัวคนใดคนหนึ่งมาทำมิกซ์ยูสได้ ขณะเดียวรัฐบาลกำลังจะให้เอกชนประมูลการเดินรถ ยิ่งสร้างมูลค่าทางพาณิชให้หัวลำโพง 

ส่วนประเด็นค่าไฟแพง-คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ
นายสุทธิพร กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำร้อง เรื่อง สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 เป็นการกระทำที่ขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่ได้วินิจฉัยฟันธง แต่ศาลมีข้อแนะนำต่อรัฐบาลว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน ให้ไปกำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของเอกชนใหม่ให้เหมาะสม และให้ตนดำเนินการกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หาก2หน่วยงานนี้ทำให้เกิดความเสียหาย แนะว่าไปร้องศาลอื่น 


ส่วนที่ห้ามไม่ให้รัฐแข่งกับเอกชน ซึ่งศาลก็ยกขึ้นมาว่าในเศรษฐกิจสมัยใหม่การขับเคลื่อนต้องใช้ภาคเอกชน ซึ่งตนเห็นด้วยทุกประการ แต่ในไม่เห็นด้วยที่ว่าห้ามรัฐไปแข่งกับเอกชน เพราะที่ผ่านมาเอกชนมาแข่งกับรัฐ และที่ตนไม่สบายใจอีกเรื่องคือ ให้กรรมสิทธิกระทรวงพลังงานจะเกิดลัทธิเอาอย่าง โดยยกตัวอย่าง โทลเวย์ที่กระทรวงคมนาคมให้เอกชนร่วมลงทุนโดยให้สัมปทาน ซึ่งเอกชนมีความเสี่ยงต่างจากกระทรวงพลังงาน ที่บริหารความเสี่ยงเอง


ส่วนที่ค่าไฟแพง ยอมรับว่า ก้อนใหญ่มาจากปัญหาเชื้อเพลิง แต่ก็มาจากค่าที่เอกชนมาร่วมลงทุน อดีต การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าทั้งหมด เวลาเยียวยาใช้กำไรของกฟผ. มันเป็นค่าใช้จ่ายในการเยียวยาตามที่รัฐบาลสั่ง แต่ปัจจุบันเอกชนร่วมลงทุน เช่น กำไร 100 บาท เอกชนเอาไป 70 บาท กฟผ. 30 บาท เมื่อต้องเยียวยา จะเป็นหน้าที่ กฟผ. ไม่ใช่เอกชน เพราะในสัญญาระบุว่าเช่นนั้น ดังนั้นรัฐก็ขาดรายได้ ประชาชนก็ได้รับผลกระทบทั้งขึ้นทั้งร่อง เดิมรัฐสามารถควบคุมราคาไฟฟ้าได้ แต่ปัจจุบันไม่สามารถควบคุมได้เนื่องจากจะต้องจ่ายให้กับเอกชน โดยเฉพาะค่า FT ซึ่งปัจจุบันกฟผ.รับภาระอยู่ ขณะเดียวกันสัดส่วนการผลิตของกฟผ.ก็ลดลง 

ขณะที่นางสาวรสนา เกิดคำถามว่านักการเมืองกับเอกชนจับมือร่วมกันอย่างแน่นเหนียว นักการเมืองกำลังผ่อนถ่ายทรัพย์สินเหล่านี้ไปให้เอกชน และกลับกันในกรณีที่เรามีไฟล้นเกิน 54% แต่นักการเมืองยังทำสัญญาซื้อไฟไปเรื่อยๆ ล่าสุดครม.ซื้อไฟฟ้าเพิ่มอีก เราจะต้องปฏิบัติสอยย่างไรเพื่อหยุดยั้งการซื้อไฟที่ไร้เหตุผลของนักการเมือง 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ