ข่าว

6 สถาบัน ระดมสมองระดับโลก ประชุมยุทธศาสตร์สร้างชาติ หลังพ้นวิกฤตโควิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

6 สถาบัน จัดประชุมนานาชาติกว่า 30 ประเทศ ถกยุทธศาตร์สร้างชาติ หลังพ้นวิกฤตโควิด 'บิ๊กตู่-ฮุนเซน-บิ๊กจิ๋ว' คุยผ่านวีดีโอคอล

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. สถาบันการสร้างชาตินานาชาติ(NBII)จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการสร้างชาติ (ICNB) ในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์การสร้างชาติยุคหลังวิกฤตในโลกแห่งความโกลาหล" (The 6th International Conference on Nation-Building 2022 :Post-Crisis Nation-Building Strategies in the World of Flux) โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี(มอบตัวแทน) , จอมพล สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา , พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี , นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมพูดคุยผ่านวีดีโอคอล นอกจากนี้ยังมี ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาตินานาชาติ และ ดาโต๊ะ พญ.เจสซี่ ถัง ประธานสถาบันการสร้างชาติ ประเทศมาเลเซีย รวมถึงวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกว่า 70 คน จาก 30 ประเทศ เข้าร่วมเสวนา

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาตินานาชาติ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และนำเสนอแนวคิด นโยบาย บทความวิชาการ ผลการวิจัยในระดับนานาชาติ และองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการฟื้นฟูประเทศและองค์กรจากภาวะวิกฤติในมิติต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้เสียในสังคม ในการฟื้นฟูประเทศและองค์กรจากวิกฤติ Covid19 ได้โดยเร็ว 

 

ทั่วโลกกำลังเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูหลังวิกฤต แต่ความท้าทายคือ โลกหลังวิกฤตเป็นโลกแห่งความโกลาหล ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว กว้างขวาง ลงลึก ไม่แน่นอน และคาดการณ์ได้ยาก การฟื้นฟูและพัฒนาประเทศภายใต้แนวโน้มเช่นนี้ จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดและรอบคอบ และอยู่บนรากฐานที่แข็งแรง 5 ประการ คือ ฐานอุดมการณ์ชาติ ฐานความรู้ ฐานจุดแกร่ง ฐานความมั่นคง และฐานความร่วมมือ การประชุม ICNB 2022 จึงเป็นความพยายามนำผู้คนจากทั่วโลก ทุกสาขาวิชา ทุกภาคส่วนมารวมกัน เพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยน และเรียนรู้จากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และร่วมกันค้นหาแนวทางฟื้นฟูและพัฒนาประเทศและองค์กรไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์

ในที่ประชุมมีการพูดถึง การคาดการณ์แนวโน้มโลกปี 2566 , การแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ , การปฏิรูปการศึกษา การเรียนรู้ และการจ้างงาน , การออกแบบเมืองและชนบทในยุคที่โรคระบาดเป็นความปกติใหม่ , การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวหลังวิกฤต , อนาคตของการค้า การลงทุนและการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานระดับโลก, การเสริมสร้างความยืดหยุ่นของวิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ , และการเสริมสร้างความร่วมมือระดับโลกในโลกแห่งความโกลาหล

 

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การจัดทำดัชนีประจำปี 2022 ซึ่งครอบคลุม 1. ดัชนีการสร้างชาติ โดยจัดอันดับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกด้านความสำเร็จในการสร้างชาติ ครอบคลุมปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการสร้างชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง 2. ดัชนีการจัดการหลังวิกฤต เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพในการจัดการหลังเกิดวิกฤตของประเทศต่าง ๆ และ 3.ดัชนีมหาวิทยาลัยสร้างชาติ เพื่อประเมินบทบาทในการสร้างชาติของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก

 

อย่างไรก็ตามมีผู้เข้าร่วมงานจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ กว่า 3,000 คน ทั้งในระบบออนไซต์และออนไลน์ เช่น ผู้นำจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปด้วย

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่งตัวแทนกล่าวปาฐกถา

จอมพล สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี สถาบันสร้างชาตินานาชาติ ร่วมมือองค์กรพันธมิตรจัดประชุมนานาชาติ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ