แนะ นายกรัฐมนตรี เตรียมรับมือคำ วินิจฉัย "ศาลรัฐธรรมนูญ"
เลือกตั้งแบบไหน ฟัง คำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรรมนูญ วันนี้ อดีตกรรมการการเลือกตั้งแนะ นายกรัฐมนตรี หารือ "กกต." ทันที หากผิดคาด
09.30 น. วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ แถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ กรณีประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 132 ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉบับที่ .. พ.ศ. …. มาตรา 25 และมาตรา 26 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และมาตรา 94 และตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่
มีความเห็นจาก นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ เรียกร้องให้เคารพมติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร ขอเรียกร้องทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายหนุนหาร 100 หรือฝ่ายหนุนหาร 500 ให้ยอมรับ และโดยส่วนตัวก็ขอจบ เพราะถือว่าสงครามจบแล้ว นับศพทหารได้ และไม่ขอใช้สิทธิใดที่จะร้องต่อไปอีก
แต่หากศาลชี้ว่าสูตรหาร 100 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็เรียกร้องทุกฝ่ายร่วมหาทางออก หากลไกในการเดินหน้า หากฎหมายลูกเพื่อจัดการเลือกตั้งส.ส. ส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีทางที่จะแก้รัฐธรรมนูญเลือกตั้งบัตรใบเดียว และคาดว่าหลายพรรคการเมืองไม่
สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า พรุ่งนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสิน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ให้ผ่านเหมือนกับพ.ร.ป.พรรคการเมือง คือผ่าน และดำเนินการต่อไปสู่การเลือกตั้ง หรือตัดสินเหมือนกันในเชิงเนื้อหาคือพ.ร.ป.พรรคการเมือง เป็นกฎหมายที่เอื้อกับพรรคเล็กและพรรคใหญ่ทำงานลำบาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ก็จะตัดสินให้เอื้อพรรคเล็กและให้พรรคใหญ่ทำงานลำบากนั่นก็คือไม่ผ่าน ถ้าผ่านพรรคการเมืองขนาดใหญ่ก็จะได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างแท้จริง อย่างพรรคเพื่อไทยจะได้บัญชีรายชื่ออย่างน้อย 30 คน ขึ้นไป
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ไม่ผ่านสิ่งแรกที่นายกรัฐมนตรีต้องทำคือเชิญกกต.มาหารือว่าจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร และต้องเสนอร่างกฎหมายใหม่โดยคณะรัฐมนตรี ในทันที และเป็นหน้าที่ของสภาฯต้องเร่งพิจารณาร่างกฎหมายให้เร็วที่สุดภายใน180 วัน แต่ถ้าสภาทำไม่เสร็จ ก็ต้องหาทางออกเช่น พ.ร.ก.หรือออกเป็นคำสั่งประกาศ ซึ่งถ้าออกประกาศคำสั่ง กกต.อาจจะต้องรับผลที่ตามมา แต่ถ้าวาระ1 รับหลักการแล้ว ก็เอาร่างในวาระหนึ่งมาใช้เป็นกติกาการเลือกตั้ง