
"ลุงตู่อยู่ต่อ" ศาลให้นับวาระดำรงตำแหน่งนายกฯ 6 เมษายน 2560
"ประยุทธ์" รอด นับวาระดำรงตำแหน่งนายกฯ มติ 6:3เริ่มวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 6 เมษายน 2560 อยู่เป็นนายกรัฐมนตรีได้ถึงปี2568
ใจความสำคัญของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ในการวินิจฉัยมาตรา158 วรรค 4 เห็นว่า ความเป็นนายกรัฐมนตรี จะสมบูรณ์ ตามรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 เป็นผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองส่าวนบทเฉพาะกาลมาตรา264 เขียนขึ้นในรัฐธรรมนูญ2560 มีความมุ่งหมายจะให้ใช้เชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ทั้งสองมาตรานี้ จะใช้บังคับก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้ไม่ได้ นั่นหมายความว่า การนับระยะเวลา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของพลเอกประยุทธ์ 8ปีเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ด้วยมติ 6 ต่อ 3
มีรายงานว่ามติ 6 ต่อ 3 เสียงข้างมากประกอบด้วย 1.นายวรวิทย์ กังศศิเทียม, 2.นายปัญญา อุดชาชน 3.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ 5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์, และ 6.นายวิรุฬห์ แสงเทียน
ส่วน 3 เสียงข้างน้อย ประกอบด้วย 1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2.นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์, และ 3.นายนภดล เทพพิทักษ์
ก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่เอกสารที่อ้างว่าเป็นของ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ให้ความเห็นต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่เป็นปัญหานับ"วาระดำรงตำแหน่งนายกฯ" ประยุทธ์ 8ปี ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 สามารถนับรวมเข้ากับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่ เริ่มนับตั้งแต่เมื่อใด สรุปสาระสำคัญได้ว่า
รัฐธรรมนูญ 2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 6 เมษายน 2560 จึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่วันที่ 6 เมษายน 2560 เป็นต้นไป และไม่อาจมีผลไปถึงการใดๆ ที่ได้ดำเนินการมาแล้วโดยชอบก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ
การที่จะได้มาซึ่ง ครม.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 จะกระทำได้ต่อเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปมี ส.ส.และ ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ก่อน แต่ประเทศไม่อาจว่างเว้นการมี ครม. และนายกรัฐมนตรี เพื่อบริหารประเทศได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีบทเฉพาะกาลเพื่อกำหนดให้การบริหารราชการแผ่นดิน สามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด
นี่เป็นที่มาบทบัญญัติ มาตรา 264 ให้ ครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็น ครม.ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่า ครม.ที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก จะเข้ารับหน้าที่ โดยมีบทบัญญัติผ่อนปรนเกี่ยวกับคุณสมบัติ และการปฏิบัติหน้าที่บางประการไว้ให้เป็นการเฉพาะ